KM 90 หลักสูตรการสร้าง ความเข้มแข็งให้กับผู้ที่จะเข้ามามีส่วร่วมในการจัดการศึกษา


การกระจายอำนาจโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นได้เข้ามมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับบุตรหลานคนในชุมชน

             เดือนสิงหาคมเดือนที่แล้ว  ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมในหลักสูตรการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ทีจะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่ศูนย์ฝึกอบรมสาธารณสุขมูลฐานจังหวัดของนแก่น  โดยมี อ.อภิชาต  ทองอยู่และ อ.จีรศักดิ์  สิหรัตน์ มหาวิทยาลัยศีนครินทรวิโรฒ  เป็นหัวเรือใหญ่ที่น่ารักมากครับ

             มีกลุ่มที่เข้ามาร่วมทั้งผู้แทนชาวบ้าน  กลุ่มผู้แทนครู  กลุ่มผู้นำศาสนา  กลุ่มผู้นำชุมชน  (นายก อบต.  ประธาน  อบต.)  และกลุ่มผู้บริหาร / ครูใหญ่  ซึ่งแต่ละส่วนแยกกันอบรมในหลายศูนย์ทั่วประเทศ

           จากการเข้าร่วมอบรมตลอดกระบวนการทำให้เห็นความพยายามที่จะพัฒนารูปแบบ  การกระจายอำนาจโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานให้ประชาชน  ชุมชน  ท้องถิ่นได้เข้ามมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับบุตรหลานคนในชุมชน

            อยากให้เกิดรูปแบบของการกระจายอำนายโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  เชิงบูรณาการเพื่อสร้างเครือข่ายในการผลักดัน ด้วยการร่วมมือ  ลงมือปฏิบัติจริง   ก็เป็นการช่วยกันคนละไม้คนละมือ ในยุกต์การศึกษามืดบอด ในปัจุจบันครับ

หมายเลขบันทึก: 70594เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2007 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โรงเรียนและชุมชนเป็นสิ่งคู่กัน การจะพัฒนาโรงเรียนจึงเชื่อมโยงกับชุมชน  สิ่งที่สำคัณคือ ครู นักเรียนและท่านผู้ปกครองจะต้องเชื่อมใจกัน

การขับเคลื่อน กระบวนการเรียนรู้โดยทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาทที่เหมาะสม น่าจะมีตัวอย่างไห้ดูนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท