มหาวิทยาลัยกับงานวิจัย การปรับเปลี่ยนเพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา ตอน 4 (2)


การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมจาก “มองใกล้ ใจแคบ ใฝ่ต่ำ” ไปเป็น “มองไกล ใจกว้าง ใฝ่สูง” เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกวงการ ยิ่งในวงการสร้างสรรค์องค์ความรู้คือวงการวิจัยยิ่งมีความจำเป็นมาก

         < เมนูหลัก >

         ตอน 4 (2)

         “ปฏิวัติวัฒนธรรม” เพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา

         มองใกล้ใจแคบใฝ่ต่ำ-มองไกลใจกว้างใฝ่สูง

         คำว่า “มองใกล้ ใจแคบ ใฝ่ต่ำ” เป็นคำที่ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี กล่าวในปาฐกถานำเรื่อง “การวิจัยและพัฒนา : การท้าทายของทศวรรษใหม่” เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2537 ในการประชุมประจำปีครั้งที่ 1 ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย โดยระบุว่าพระธรรมปิฎก (ประยุทธ ปยุตโต) เป็นผู้กล่าวว่าเป็นลักษณะของคนไทย

         การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมจาก “มองใกล้ ใจแคบ ใฝ่ต่ำ” ไปเป็น “มองไกล ใจกว้าง ใฝ่สูง” เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกวงการ ยิ่งในวงการสร้างสรรค์องค์ความรู้คือวงการวิจัยยิ่งมีความจำเป็นมาก

         วิธีการปรับเปลี่ยนอย่างหนึ่งคือการฝึกมองสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็น “พลวัต” (dynamic) คือมองเห็นภาพเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่  มองให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างเรื่องนั้น ประเด็นนั้นกับเรื่องอื่นประเด็นอื่น  และมองให้เห็นหลายแง่หลายมุมของแต่ละเรื่องแต่ละประเด็น

         การวิจัยต้องการคนที่มีคุณสมบัติ “มองไกล ใจกว้าง ใฝ่สูง” และในขณะเดียวกันกระบวนการทำงานวิจัยที่ถูกต้องเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และฝึกฝนคุณสมบัติดังกล่าวไปในตัว

         บทความพิเศษ ตอน 4 (2) นี้ได้ จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2802 (106) 23 พ.ค. 39 พิเศษ 6(บทความไอที)

         เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์   พานิช

         วิบูลย์ วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 7047เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2005 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท