Anek Thanonghanเขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2548 19:23 น. ()
แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2556 17:12 น. ()
vaccuum dressing
ผมได้เล่าเรื่อง การนำเทคนิค vaacuum dressing มาเริ่มใช้ที่
รพร.ธาตุพนม คลิก(มองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน)
แล้วได้รับความกรุณาอย่างยิ่งจาก ดร ผศ.ดร.นิโรบล กนกสุนทรรัตน์
จากงานการพยาบาลศัลยกรรม ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ที่เข้ามาให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ต่อยอดกิจกรรม
และอาจารย์ได้สอบถามถึงผลของการทำ ผมเลยขอแสดงเป็นรูปก่อนนะครับ
แล้วผมจะเรียนถามความก้าวหน้าของ case นี้จากคุณหมอประกาศิต จิรัปปภา มาเล่าให้ฟังต่อไปครับ
มีแผลอยู่แล้ว ทำแผลที่ สอ.ทุกวัน มารพ. 19 พ.ย.
48
21 ต.ค. 48 vaccuum dressing
25 ต.ค 48 เปิดแผล
30 ต.ค. 48 หลังทำ skin graft
off loading ฝึกให้เดินโดยใช้ไม้คำยันช่วย
ตอนทำธุระส่วนตัว
ภก.เอนก ทนงหาญ ผู้เล่าเรื่อง
ความเห็น
วัลลา ตันตโยทัย
เขียนเมื่อ
เห็นภาพความก้าวหน้าของผู้ป่วยแล้วบอกได้คำเดียวว่าชื่นใจจริงๆ
นิโรบล กนกสุนทรรัตน์
เขียนเมื่อ
มีความรู้สึกเหมือน ดร.วัลลาคะ น่าชื่นใจจริง ๆ
อันนี้คือเหตุผลที่ชอบใช้วิธีนี้
เพราะจะได้แผลที่มีเนื้อแดงเรียบสวยมากต่างจากการใช้อุปกรณ์อื่นซึ่งมักได้พื้นแผลที่ไม่เรียบสม่ำเสมอ
ทำให้การวาง graft สะดวกขึ้นมาก
ไม่ต้องเสียเวลามากในการตัดแต่งแผลก่อนวาง graft.
Vacuum dressing สามารถปิดบน skin graft ได้ด้วยนะคะ
วิธีนี้ช่วยให้ graft ติดดีคะ
โดยเฉพาะบริเวณที่ไม่ค่อยอยู่นิ่งซึ่งจะติดค่อนข้างยากทีมแพทย์
plastic ที่รามาธิบดีนิยมใช้มากคะ
ขอบคุณอาจารย์ทั้งสองท่านมากครับทีกรุณาให้ข้อเสนอแนะ
วันนี้ผมเองได้มีโอกาสสอบถามเรื่องนี้กับคุณหมอประกาศิต
คุณหมอยืนยันว่า case นี้ ดีมาก ไม่พบปัญหา โอกาสหายสูง
ซึ่งช่วงนี้ยังนัดผู้ป่วยมาทำแผลทุกวัน เพราะส่วนบริเวณ graft
ที่ใกล้ฝ่าเท้ายังติดไม่ดี แต่ส่วนใหญ่ 95 % หายแล้ว และไม่มีปัญหา
infection ครับ แล้วถ้าวันพรุ่งนี้ผู้ป่วยมาทำแผล ผมจะตามถ่ายรูป
มานำเสนอต่อครับ
ถ้าไม่มีปัญหาอะไร case นี้ก็จะได้รับรองเท้าคู่ที่
รพ.ทำด้วยครับ
ธิติ ปราบ ณ ศักดิ์
เขียนเมื่อ
สุดยอดเลยครับ
ขอให้หายเร็วๆนะครับเคสนี้ ผมดูภาพนี้ไม่แน่ใจว่าแผลยาวถึงฝ่าเท้าหรือไม่
หากมีโปรดระวังเรื่อง scar ระหว่าง graft กับ plantar skin
หลังแผลหายด้วยนะครับ เพราะมันจะเป็น high pressure เวลาผู้ป่วยเดิน