ข้อเท็จจริง, กฎธรรมชาติ, ทฤษฎี, กับการอธิบาย


การอธิบาย จะเกิดกับคำถามประเภท ทำไม? เช่น

เหตุการณ์ : แก้วน้ำหล่นจากมือกระทบพื้นแตกกระจาย

คำอธิบาย ๑ : แก้วน้ำหลุดจากมือตกกระทบพื้นแข็งจึงแตก (อธิบายด้วยข้อเท็จจริงตามที่สังเกตเห็น)

 คำอธิบาย ๒ : แก้วน้ำหลุดจากมือตกลงสู่พื้น(อธิบายด้วยข้อเท็จจริง) เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก(อธิบายด้วยทฤษฎี)        เมื่อแก้วน้ำกระทบของแข็งคือพื้นอย่างแรง จึงแตก      เนื่องจากถ้าแก้วน้ำกระทบของแข็งอย่างแรงแล้วจะแตก(อธิบายด้วยกฎ)

คำอธิบาย ๓ : แก้วน้ำหลุดจากมือตกลงสู่พื้น(อธิบายด้วยข้อเท็จจริง)  ทั้งนี้เนื่องจากเทพเจ้าบันดาลให้หลุดจากมือ(อธิบายด้วยทฤษฎีที่ไม่ใช่ทฤษฎีเชิงประจักษ์)   และเมื่อกระทบพื้นอย่างแรงจึงแตก เนื่องจากผีที่เฝ้ารักษาพื้นห้องตรงนั้นมันไม่พอใจที่ทำให้แก้วหล่นถูกมัน (อธิบายด้วย ทฤษฎี ที่ไม่ใช่ทฤษฎีเชิงประจักษ์ หรือไม่ใช่ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์)

คำอธิบาย ๑. เป็นคำอธิบายของคนทั่วไปที่ไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์  ถ้าคนใดจบ ป.๖ แล้วยังอธิบายแบบนี้อยู่  ก็แสดงว่า เขาไม่แตกต่างจากคนที่ไม่รู้หนังสือ

คำอธิบาย ๒. ควรจะเป็นคำอธิบายของคนที่มีภูมิรู้ขนาดตั้งแต่ชั้น ม.๑ ขึ้นไป  แต่ถ้าจบปริญญาตรีไปแล้วยังอธิบายแบบนี้ไม่ได้ !  ก็น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง !!

ต้องฝากคุณครูแหละครับ  ช่วยฝึกฝนเรื่องนี้ในโรงเรียนให้มากๆหน่อย !!!

คำอธิบาย ๓. ควรจะเป็นคำอธิบายของคนในสมัยเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว   แต่ถ้าคนในโลกปัจจุบันยังอธิบายแบบนี้อยู่  ก็แสดงว่า  ล้าหลังอย่างยิ่ง !!

กระทรวงศึกษาธิการนั่นแหละ "จะต้อง" รับผิดชอบเรื่องนี้ จริงไหมครับ  เพราะว่าเป็นกระทรวงที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาคน !!

 

คำสำคัญ (Tags): #การอธิบาย#explanation
หมายเลขบันทึก: 70331เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2006 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
คำถามง่าย ๆ แต่สามารถวัดศักยภาพภูมิรู้ของคนได้ ภายใต้การสร้างคนให้มีเหตุผลผลอย่างเข้าใจการอธิบายทฤษฎี คำอธิบาย ๒ เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของผู้เรียนตัวหนึ่ง ที่กระทรวงศึกษาควรใส่ใจครับ
ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว
ครับ.

อาจารย์ไสวครับ...

 

ยังมีคำอธิบายอีกหลายแบบครับ...

 

คำอธิบายที่ 4... การที่แก้วน้ำหล่นจากมือกระทบพื้นแตกกระจาย...เพราะว่าแก้วหนักเกินไปสำหรับมือที่อ่อนแรงเกินกว่าจะเหนี่ยวรั้งไว้ได้...ในขณะที่แก้วหลุดจากมือหนึ่งอีกมือหนึ่งก็พยายามคว้าไว้แต่ไม่ทัน ก่อนจะตกถึงพื้นก็มีความพยายามที่จะเอาเท้ารองรับซึ่งก็ไม่ทันอีกเช่นกัน เมื่อแก้วกระทบพื้นจนแตกกระจาย เจ้าของมือก็รู้สึกสำนึกเสียใจไม่น้อย อย่างไรก็ตามเรื่องนี้เกิดขึ้นได้อยู่เสมอ...

 

นี่เป็นสิ่งที่ผมคาดหวังว่า...เด็กที่ผ่านกระบวนการ Wit : Dialogue จะสามารถอธิบายได้ในลักษณะนี้ครับ...

ดีทีเดียวครับ  ตามคำอธิบายที่ ๔ ข้อความอื่นๆเป็นคำอธิบายด้วยการเอาข้อเท็จจริงมาบรรยายเหตุการณ์  ยกเว้น ข้อความว่า

"....สำหรับมือที่อ่อนแรงเกินกว่าที่จะเหนี่ยวรั้งไว้ได้ ..... ก็มีความพยายาม....เจ้าของมือก็รู้สึกสำนึกเสียใจไม่น้อย.."

ซึ่งเป็น "ความรู้สึก"ส่วนตัวของผู้อธิบาย สอดใส่เข้าไป  ทำให้ดูเป็นนิยายทางวรรณกรรมครับ

ในการศึกษาบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงๆ  พบว่าการ ใช้ภาษาบรรยายในลักษณะทำนองนี้  จะเป็นของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงๆจนถึงสูงมากๆ ครับ

ขอให้คุณค้นคว้าเกี่ยวกับ wit:dialogue ต่อไปนะครับ

อ่านแล้วได้แนวคิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท