ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

การเพาะกันเกรา : กับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ภาคภูมิใจ


การเพาะกันเกราไม่ยากอีกต่อไปแล้วหลังจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านกล้วยไม้ไทย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ได้ค้นพบวิธีการโดยนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้าน (Wisdoms) ผสมผสานกับวิชาการ ผลที่ได้จึงไม่มีปัญหาอีกต่อไป

เมื่อวานผมได้รับข่าวทางโทรศัพท์ จากหมายเลข 089-9454134 แจ้งว่าเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมาทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านกล้วยไม้ไทย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี มีความภาคภูมิใจมากที่ได้ถูกรับเชิญให้ไปเป็นวิทยากรหลักในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเพาะพันธุ์พืชป่า ซึ่งประกอบไปด้วย เฟิร์น กล้วยไม้ และกันเกรา จากสำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจัดขึ้นที่สถานีส่งเสริมและอนุรักษ์ฯ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม จังหวัดอุบลราชธานี

ภูมิใจอย่างไร ? คุณรำพึง แก้วเขียว "พันธมิตรทางวิชาการ" ประธานกลุ่มฯ เล่าให้ฟังอย่างตื่นเต้นว่าที่ภูมิใจเพราะว่าคนที่มาร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนั้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ มีแต่พนักงาน และข้าราชการ ตนเองเป็นเพียงเกษตรกรตาดำๆ คนหนึ่งเท่านั้น แถมก็น้อยด้วยคุณวุฒิ ที่ได้มีโอกาสเป็นวิทยากรหลักในการถ่ายทอดความรู้ และทุกคนมีความสนใจมากเป็นพิเศษในเรื่องของเทคนิคการเพาะพันธุ์กันเกรา ที่ประชุมบอกว่าเป็นความรู้ใหม่ ยังไม่เคยได้ยิน และเคยเห็นที่ไหนทำมาก่อน "เป็นชุดความรู้หนึ่งเดียวในโลก"

จัดการความรู้อย่างไร คุณรำพึง เล่าให้ฟังต่อว่าหลังจากที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (share & Learned) เทคนิคการเพาะกันเกรากับผมไปเมื่อปีก่อนโน้น จึงนำไปปฏิบัติดู (Learning by Doing) ปรากฏว่าได้ผลดีมาก กันเกรางอกดี และโตเร็ว กรมป่าไม้จึงมีความสนใจที่จะนำความรู้ไปใช้ในการขยายพันธุ์ต่อไป จึงมาขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย จากนั้นตนเองจึงได้เล่าประสบการณ์การเพาะกันเกราให้ฟังว่า

1.ปกติกันเกราจะออกดอกหอมโชยชื่น ประมาณเดือนเมษายน พฤษภาคม ของทุกปี แล้วผลจะสุกแก่เต็มที่ประมาณเดือน กันยายน พฤศจิกายน ของทุกปี

2. เก็บเมล็ดที่สุกแดงเต็มที่มาบีบเอาเมล็ดที่มีสีดำ หมักทิ้งเอาไว้ประมาณ 1 – 3 คืน

3. นำเมล็ดมาล้างน้ำ และทำความสะอาดให้เรียบร้อย จึงนำไปผึ่งไว้ในร่มประมาณ 2-3 วัน จึงนำเก็บในตู้เย็นประมาณ 5 องศาเซลเซียส พักเอาไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อทำลายการพักตัวของเมล็ด

4. การเพาะเมล็ด (เพาะได้ตลอดปี) สามารถเพาะได้ทั้งในตระกล้า และในแปลงแต่หากอยู่ในแปลงต้องเตรียมดินให้ละเอียด คลุกด้วยขี้เถ้าแกลบ หรือขุยมะพร้าว เพื่อช่วยในเรื่องของการระบายน้ำและอากาศ หากเป็นตระกล้าให้เอาดินกับวัสดุเพาะดังกล่าวผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันกับดินในท้องที่ อัตราส่วน 1:1 ส่วน

5. นำเมล็ดมาหว่าน หรือโรยเป็นแถวบางๆ

6. นำเอาดินที่คลุกส่วนผสมโรยทับเมล็ดบางๆ รดน้ำให้ชุ่ม

7. ทำเป็นกระโจมด้วยพลาสติกใสเพื่อรักษาความชื้น และให้มีอุณหภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-4 สัปดาห์ เมล็ดกันเกราจะเริ่มงอก และเลี้ยงต่อไปในกระโจมที่มีแสงผ่านแบบรำไรจะทำให้กันเกราโตเร็ว

8. เมื่อต้นสูงประมาณ 5-10 ซม. จึงแยกลงถุงปักชำต่อไป

ความภูมิใจ นี่จึงเป็นความภูมิใจของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านกล้วยไม้ไทย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี อย่างแท้จริงหลังจากที่ร่วมเรียนรู้เรื่องนี้กันมากว่า 3 ปี จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และมีคนให้ความสำคัญในการไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพราะต้นกันเกรา หรือภาคใต้เรียกต้นตำเสา เป็นไม้มงคลที่ผู้คนทั่วไปมีความสนใจในการหาไปปลูกตามบ้านเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล แต่มีวิธีการขยายพันธุ์ที่ยาก แถมยังโตช้าอีกต่างหาก แต่ ณ วันนี้เราเรียนรู้ได้สำเร็จแล้ว

ขอบคุณครับ

อุทัย อันพิมพ์

30 ธันวาคม 2549

หมายเลขบันทึก: 70234เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2006 20:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

 อ.อุทัยครับ

เราจะเปิดอาคารบูรณาการศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม 2550

อยากให้อาจารย์ช่วยถามทีมสคส.มีใครจะมา

ร่วมด้วยไหม 

และให้อาจารย์ทาบทามอ.อภิชัย

และทีม ม.อุบล ให้ด้วย ว่ามีใครบ้างมาได้ จะมากี่คน

แล้วอาจารย์จะกลับบ้านเราวันไหน  ขอลามาเตรียม

งานช่วยได้ไหม

 

    อ.อุทัยน่าจะแบ่งปันประสบการ ของการเพาะ ต้นกันเกลามาเป็นวิทยาทาน ให้กับเครือข่าย ทางบุรีรัมย์ คงจะดีนักแล  ..ครับ
        สุขกาย สุขใจ  และสัมฤทธิ์ผลในสิ่งที่ปราถนาตลอดปี 2550  นะคะอาจารย์อุทัย   ส่วนกันเกราถ้าจะให้ดีน่าจะนำมาปลูกไว้สวนป่าครูบาบ้าง  เพื่อจะได้ทดสอบฝีมือของสมาชิกเราเราจากภาคปฏิบัติบ้างนะคะ
  •  เรียนท่านครูบาสุทธินันท์  ที่เคารพ
  • รับทราบครับ ผมจะดำเนินการต่อไป
  • คาดว่าจะกลับประมาณวันที่ 15 ม.ค.50 ครับ

ด้วยความเคารพ

อุทัย

 

 

  • ขอบคุณมากครับทุกๆ ท่านที่เข้ามาให้กำลังใจครับ
  • ยินดีไปปลูกทุกที่ครับหากมีความสนใจ เราต้องร่วมกันสร้างป่าอันเป็นประโยชน์นะครับ

ขอบคุณครับ

อุทัย

ทำไมปลูกกันเกราสูงประมาณ 4 เมตร แล้วกิ่งมันค่อย ๆ แห้งทีละกิ่ง มันจะตายมั๊ย ต้องให้น้ำแค่ไหน ช่วยแนะนำด้วยครับ

เรียนสอบถามครับ

เก็บเมล็ดที่สุกแดงเต็มที่มาบีบเอาเมล็ดที่มีสีดำ หมักทิ้งเอาไว้ประมาณ 1 – 3

คลิปนี้เป็นการนำเสนอความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำสวนป่าเศรษฐกิจ ในกลุ่มไม้ประเภท ก.พะยูง สป.3 ตอนที่16 (พะยูงไหหลำ-เวียตนาม ความจริงที่รู้แลัวต้องช็อค!.)https://www.youtube.com/watch?v=ELqAwNKz-94&feature=shareสนใจกล้าพันธุ์ไม้ติดต่อ คุณไก่กล้าพันธุ์ไม้ รวมทั้งตัวแทนและสาขาทั่วประเทศ โทร. 0954654546 0946465654www.takuyak.comID.Line : 0954654546, kai54654546www.youtube.com ช่อง ชัยชนะ เสือเพ็งPage: คุณไก่กล้าพันธุ์ไม้Page: ชมรมเกษตรกรผู้ปลูกพะยูงแห่งประเทศไทยใบทะเบียนพาณิชย์กิจ เลขที่36501005xxxxx?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท