มองต่างมุม: สังคมไทย ทำ KM เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว


ประเทศไทยมีการจัดการความรู้มาอย่างหลากหลายมากมาย แต่ไม่ใช่ความรู้ที่มาจากประเทศตะวันตก ไม่ใช่วิธีการ KM ที่มาจากตะวันตก หรือไม่ใช่วิธีการที่คนไทยไม่ถนัด

จากการที่มีนักวิชาการบางท่านเขียนว่า "สังคมไทยทำ KM ได้ยากเพราะคนไทยไม่อยากอวดดี"นั้น

ผมขอมองต่างมุม ครับ เพราะว่าสังคมไทยที่ท่านมองจากข้างนอก ทำตัวเหมือนคนต่างถิ่นนั้น ไม่ได้มองจากข้างในนั้น จะไม่เข้าใจกลไกของคนข้างใน ว่าเขาคิดอะไร ทำอะไร ยังขาดอะไร ท่านนักวิชาการปากคาบคัมภีร์จะช่วยเขาได้หรือไม่ อย่างไร

คนข้างในนั้น เขาก็มีกลไกทำ KM มาตลอดชีวิตเขาเลยครับ ตั้งแต่เกิด จนตาย และตั้งแต่บรรพบุรุษมาเป็นเวลาร้อยๆ พัน ๆ ปีมาแล้วครับ

ไม่อย่างนั้นประเทศไทยอยู่มาไม่ได้ขนาดนี้หรอกครับ

ประเทศไทยมีการจัดการความรู้มาอย่างหลากหลายมากมาย แต่ไม่ใช่ความรู้ที่มาจากประเทศตะวันตก ไม่ใช่วิธีการ KM ที่มาจากตะวันตก หรือไม่ใช่วิธีการที่คนไทยไม่ถนัด

การที่เรามองว่าเขาไม่ค่อยทำ โดยใช้สิ่งที่คนไทยไม่ถนัดมาเป็นตัวชี้วัด ไปวัดว่าเขาทำหรือไม่ทำนั้น

อาจถือว่า ใช้อารมณ์มากกว่าสมอง ในการตัดสินประเด็น ครับ

การจัดการความรู้ในระดับชุมชน หรือระดับครัวเรือน ที่เราทำอยู่กันอยู่นั้น

ส่วนใหญ่แล้วเป็นการทำเพื่อใช้ประโยชน์จริงๆ

ที่ท่านอรหันต์ KM ( ดร. วรภัทร์) บอกว่า เป็นการทำ KM แบบธรรมชาติ นั่นแหละครับ

อันนี้เราต้องพยายามเข้าใจนะครับ

ไม่ใช่พยายามจะฝืนธรรมชาติ

แล้วบอกว่า ระบบนี้ใช้ไม่ได้นะครับ

ระบบนี้มันมีความแกร่งของตัวมันเอง จนทำให้สังคมไทยอยู่ได้มาเป็นหลายร้อยปี

ถ้าเป็นอย่างที่นักวิชาการท่านว่าคนไทยทำ KM ไม่ได้นั้นนะครับ ป่านนี้เราคงสูญพันธุ์ หรือเป็นขี้ข้าชาติอื่นเขาไปตั้งนานแล้ว

เพราะว่าชาวบ้านเขาได้ทำ KM เพื่อใช้ประโยชน์จริง ๆ

ชาวบ้านจะไม่ทำในสิ่งที่เขาไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือว่ามองไม่เห็นว่าจะใช้ประโยชน์อะไร ไม่เหมือนนักวิชาการหอคอยงาช้าง ที่ทำไว้ขึ้นหิ้งขอตำแหน่ง

อันนี้เขาก็ไม่ทำเหมือนกัน

จริงอยู่ บางอย่างเราอาจจะใช้ประโยชน์ในอนาคต ชาวบ้านทั่วไปก็ยังไม่คิดถึงอนาคตไกลนัก

โดยเฉพาะกระแสสังคมพัฒนาในปัจจุบัน ทุกคนคิดถึง แค่ว่าวันนี้ หรือพรุ่งนี้ ซะเป็นส่วนใหญ่ คำว่ามองอนาคตไกล หรือจะมองเรื่องของอนาคตเหมือนนักวิชาการนั้น บางทีเขามองไม่ถึงหรือว่า มีความรู้หรือปัญญาไม่พอที่จะมอง

เหมือนกับนักวิชาการบางคน ที่มองไม่เห็นความเป็นจริง และความคิดของชาวบ้านนั่นแหละครับ

เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่า เขาไม่ทำ KM

เขาทำอยู่ แต่ลักษณะที่เขาทำอยู่คือ อย่างไร ก็คือ

เป็นการใช้ความรู้เฉพาะหน้า บางทีก็เป็นพิษบ้าง บางทีก็ไม่เป็นพิษ นี่ก็คือปัญหาตัวหนึ่ง ที่ต้องคุยกันในวาระอื่นๆอีก

ซึ่งจำเป็นต้องมีนักวิชาการเข้าไปช่วย ส่วนหนึ่งก็จะทำเป็นลักษณะของรายบุคคล รายกลุ่มก็มีอยู่บ้าง

ส่วนรายบุคคลก็มีการส่งต่อในกลุ่มคนที่สนิทสนมชิดเชื้อกัน อาจจะเป็นญาติพี่น้อง อาจจะเป็นคนที่นับถือกัน เป็นครูบาอาจารย์และลูกศิษย์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ที่ถ่ายทอดไปยังลูกบ้าน อะไรประมาณนั้น

นี่คือลักษณะการจัดการความรู้ในระดับชุมชน ดังนั้น ถ้าเราจะพูดถึงว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO) มันก็มีการเรียนรู้ เช่น ชุมชนจักสาน ชุมชนตีเหล็ก ชุมชนการทำอะไรเฉพาะเรื่อง

ซึ่งผมไม่ได้พูดถึงเรื่องการทำลาย ในระบบชุมชนโดยระบบการพัฒนาที่ไม่ถูกต้องนะครับ

อันนั้นอีกเรื่องหนึ่ง ขอแยกทีละประเด็นครับ เมื่อเขามีการจัดการความรู้ในลักษณะเช่นนั้นแล้ว เขามีปัญหาในบางเรื่อง อาจมีสาเหตุมาจาก

 1. เขาอาจจะมีชุดความรู้ไม่พอ หรือว่ามีความรู้ไม่พอ จึงไปเอาความรู้ที่ไม่ถูกต้องมาใช้

2. นักวิชาการที่เข้าไปช่วย ก็อาจจะมีความรู้ไม่พอเช่นเดียวกัน เฉพาะนักวิชาการเองก็ยังเอาตัวแทบไม่รอด

ดังนั้น การที่เราหวังว่า จะให้นักวิชาการที่ดูถูกชาวบ้านเข้าไปช่วยชุมชน ก็เป็นสิ่งที่ยาก

ชุมชนก็ใช้วิธีการดิ้นรน ปากกันตีนถีบ อยู่ไปได้วันๆ ก็เอา

ฉะนั้น เรากลับมามองดูว่า นักวิชาการ จะเข้าไปช่วยชาวบ้านได้อย่างไร

อันดับแรก คือ มองชาวบ้านอย่างเป็นจริง ไม่ใช่มองไกลๆ แล้วก็ไปว่าเขาเป็นอย่างโน้น เป็นอย่างนี้ พยายามเข้าใจเขา

 แล้วเราจะเข้าใจเขาทันทีว่า สิ่งใดที่สิ่งใดที่เราช่วยเขาได้ สิ่งใดที่เราช่วยเขาไม่ได้ การมองจากไกลๆ แบบนั่งบนหอคอยงาช้าง แล้วก็คิดว่า เขาเป็นอย่างโน้น อย่างนี้ ผมว่าจะไม่ค่อยเกิดประโยชน์กับใคร เท่าไหร่เลย

ไม่ว่าจะเป็นของชาวบ้าน หรือนักวิชาการเอง ก็ตาม

ดังนั้น ผมขอมองต่างมุมในมุมนี้ นะครับว่า

“การจัดการความรู้ในระดับชุมชน” นั้น

เราจำเป็นต้องเข้าใจชุมชน และรู้ว่าชุมชนเขาดำเนินการอย่างไร

แล้วเราจะเข้าไปช่วยสนับสนุนเขาอย่างไร ไม่ใช่มองไกล ๆห่างๆ

แล้วก็สรุปเอาเอง โทษนั่น โทษนี่ ที่ไม่เกิดประโยชน์กับใครเลย

ขอบคุณมากครับ

หมายเลขบันทึก: 70074เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2006 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2012 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เรียน ท่านอาจารย์แสวง

เห็นด้วยและสนับสนุนความคิดนี้ครับ

ขอบคุณครับ คุณกัมปนาท มาเร็วนะครับ ผมพยายามจัดตัวหนังสือ ยังทำไม่ได้เลยครับ อ่านยากนิดหนึ่งนะครับ ขอโทษด้วยครับ

สวัสดีปีใหม่ ครับ ดร.แสวง

         ค่อยกลับเข้ามาอ่านใหม่ครับ รออาจารย์จัดหน้าทาแป้งก่อน ผมอ่านเคร่าๆแล้วน่าสนใจดีครับ เดี๋ยวค่อยมาแจมๆครับ

เรียน ดร.แสวง ค่ะ

    ก่อนอื่นขอสวัสดีปีใหม่ก่อนนะคะ

อ่านแนวคิดของอาจารย์แล้วค่อนข้างเห็นด้วย แต่มีสิ่งหนึ่งที่คนไทย  โดยอุปนิสัยแล้ว การจะถ่ายโอนความรู้นั้น ผู้รู้จะมานั่งบอกอะไรกันง่ายๆนั้นยากมาก ซึ่งทำให้ภูมิปัญญาไทยในบางเรื่องจึงถูกจำกัดอยู่ในวงแคบๆ  แต่ก็จังมีการถ่ายโอนกัน ( ถ้ารับเป็นศิษย์ หรือรักจริงนเนี่ยะ อะไรทำนองนี้ ) แต่การทีเรามาทำKM มันได้การถ่ายโอนความรู้โดยไม่รู้ตัว และขยายในวงกว้าง ตัวเองเป็นพยาบาล เราทำอะไรแล้วดีบ้างกับคนไข้ ถ้ามีคนถามเราก้บอกค่ะ แต่ไม่มีคนถามเราก็ไม่บอกอะไร แต่เดี๋ยวนี้เราเล่า เราบอกแล้ว แล้วทำให้เรามองคนไข้เปลียนไปด้วยนะคะ เราไม่มองแค่ที่เห็นว่าเขาไม่รู้ แต่เราต้องเปิดโอกาสให้ผู้ป่วย แชร์กับเรา อยากจะบอกเล่าให้อาจารย์อ่านนะคะว่า การทำ KM ทำให้แนวคิดเราเปลียนไป จากการมองแบบเดิมๆๆ

           การจัดการความรู้จึง  น่าจะทำให้เราจัดการด้านสุขภาพและด้านอื่นๆได้ง่ายขึ้น

วันนี้ net ไม่work เลย ผมจัดอะไรไม่ได้ อาจจะต้องระวันหลังมั้งครับ
คุร Pookkly ผมว่ายังไงก็เป็นวัฒนธรรมการจัดการความรู้ครับ เราจะทำอย่างไรให้ดีกว่าเดิม ต้องดูว่าเรามีอะไรอยู่แล้ว ไม่ใช่สร้างใหม่แบบสั่งตรงมาจาก New York ผมว่ายากเกินไป สำหรับชาวบ้าน และคนไทยทั่วไปครับ
  บทนี้ ถ้านักวิชาการ นักวิจัย เอาไปคิดต่อ น่าจะได้วิธีคิดที่ใกล้เคียงกับความรู้สึกของผู้ที่เราอยากจะไปช่วยเหลือหรือทำงานร่วมกัน

นั่นแหละครับครูบา

เรากำลังจะเป่าปี่ใส่หูควายหรือเปล่าก็ไม่รู้ ต้องคอยหลบนะครับ เดี๋ยวโดนขวิดนะครับ

ดร.แสวง ครับ

         ถ้าเอาส่วนดีของบ้านเรา บวกกับส่วนดีของบ้านอื่นเมืองอื่น ยุหรือว่าทำไงให้คน ชุมชน องค์กร ฯลฯอวดดี(มีดีนะ มิใช่ไม่มีดีแล้วอวดดี) เพื่อนำสู่การแลกเปลี่ยนมากขึ้น กำจัดจุดอ่อนของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งจุดอ่อนบ้านเรา และจุดอ่อนของบ้านอื่นเมืองอื่น  แบบว่ากรองเอาแต่สิ่งที่ดีๆ มาส่งเสริมให้คนไทยอวดดีมากขึ้น อาจารย์มีมุมมองว่าอย่างไร จะมีหนทางทำได้ไหมครับ

ครูนงครับ

นี่แหละครับหลักการที่น่าจะเป็น

แต่พวกนักวิชาการ

  • ดื้อตาใส
  • ปากคาบคัมภีร์
  • ถือ "ฝรั่ง สรณัง คัจฉามิ"
  • ถือว่าคนไทยโง่ ทำอะไรไม่เป็น
  • ไม่รู้ว่าถ้าคนไทยโง่จริงๆ อย่างที่เขาคิด ป่านนี้ไม่มีที่ให้เขายืนอย่างสะบายนี่หรอกครับ
  • ชอบชี้ในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้จริง

แล้วแทนที่เราจะเอาพลังไปสร้างสรรค์

กลับต้องมาเสียไปกับเรื่องไร้สาระแบบนี้แหละครับ

ฮ่วย......มันซวยแท่เด้ เกิดเป็นคนไทยนี่

ก่อนอื่นขออนุญาติ กล่าวสวัสดีปีใหม่ อาจารย์คะ ขอพรพระศรีรัตนตรัยช่วยคุ้มครองให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง ทั้งร่างกาย และจิตใจคะ

เมื่ออ่านบทความของอาจารย์ ทำให้นึกถึงบรรยากาส ของ KM 3 ที่ทีมพัทลุงนำทีม อสม. ติดดาว  ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน กับทีมอสม. ดีเด่น ทั่วประเทศ เค้ามีขบวนการการจัดการความรู้อย่างธรรมชาติได้อย่างดี   จึงขออนุญาติ เขียนต่อยอดนะคะ(โดยไม่รอคำอนุญาติคะ)

http://gotoknow.org/blog/gampu/70363

ด้วยความยินดีครับคุณดวงใจ ไม่มีอะไรขัดข้อง มีแต่ดีใจที่มีแนวร่วมครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท