ต่อภาพสำคัญของระบบใหญ่ของการพัฒนา


บูรณาการTQA,HA,KM

                  เมื่อปี 46 ผมได้ความรู้สำคัญในเรื่ององค์การแห่งการเรียนรู้ที่เน้นมุ่งพัฒนาคนและทีมเพื่อให้ไปพัฒนางาน พอปี 47 ผมได้เรียนรุ้เรื่องการจัดการความรู้จาก สคส. เรียนรู้TQAจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ปี 48 เติมเต็มแนวคิดที่ถูกต้องของ 5 ส จากสมคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น และปี 46 ได้เรียนระบบการพัฒนาคุณภาพตามแนวคิดTQMและHA ผมก็ได้พยายามต่อจิ๊กซอว์ให้เป็นภาพใหญ่ที่บูรณาการกัน

                  เราพบว่าTQAเป็นการวางระบบบริหารที่ดีเพื่อนำไปสุ่ผลงานที่ดี พูดง่ายๆเป็นการบริหารที่เอื้อต่อการทำงานของพนักงาน ส่วนTQM/HAเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น วางระบบการปฏิบัติให้ดี เวลาเราทำงานเมื่อผิดพลาดขึ้นมา เราก็ให้โทษระบบก่อน ห้ามโทษคน เพราะคนอาจตกเป็นเหยื่อความผิดพลาดจากระบบที่ไม่ดี แต่หลายครั้งเราพบว่าระบบมันดีแล้ว แต่คนไม่ทำตามเอง จะทำอย่างไร จนสุดท้ายผมถึงได้เข้าใจว่า แม้ระบบจะดีอย่างไรก็ตาม คนในระบบก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันหรืออาจจะมากกว่าด้วย ตัวที่จะมาพัฒนาคนก็คือKMนี่เอง

                     บทสรุปของผมก็คือ 5 ส สร้างวินัยพื้นฐานให้คน TQAสรางระบบบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ TQM/HAสรางระบบปฏิบัติการสู่ความปลอดภัย และKMสร้างคนให้มีความสามารถ(Competency)และความมุ่งมั่น(Commitment) และจะนำไปสู่การเป็นองค์กรคุณภาพที่มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องได้

                    หลังจากที่ผมได้ไปดูงานที่มูลนิธิฉือจี้ ไต้หวันในเรื่องระบบบริการที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ที่ใช้ความเชื่อทางศาสนาพุทธมหายาน ผ่านการปฏิบัติเป็นแบบอย่างของสมณาจารย์เจิ้งเหยียนเปลี่ยนเป็นความเชื่อมั่น สุ่ศรัทธาในความรักที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ส่งผลให้เกิดกระบวนการจิตอาสาขึ้นและฟังบรรยายของอาจารย์ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เกี่ยวกับระบบการเรียนรู้ในโรงเรียนสัตยาไสย ลพบุรี ซึ่งเน้นความดีมาก่อนความเก่ง ปฏิเสธแนวทางฝรั่งที่ใช้Brain based learningมาเป็นจิตใจตามแนวพุทธหรืออาจจะเรียกได้ว่า Mind based learning ซึ่งอาศัยจิตใจให้มีความสงบ(สมาธิ)และแผ่เมตตาให้ผู้อื่นจะนำไปสุ่การเป้นคนดีและจะพัฒนาสู่ความเก่งได้ไม่ยาก ไม่เน้นเรียนแบบแข่งกันเอง แต่ให้แข่งกับตัวเองและช่วยเพื่อนๆ เรียนรุ้ด้วยตนเอง โดยเน้นว่าการหยั่งรู้โดยไม่ตั้งใจเกิดความรู้ได้มากกว่าการตั้งใจรู้โดยใช้กระบวนการทางบวก ซึ่งทั้ง 2 แนวทางนี้เน้นการชื่นชมยกย่อง มอง ค้นในสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นแล้วนำมาเผยแพร่ ฝึกจิตใจให้เป็นผู้พร้อมให้ก่อนซึ่งสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของKMคือเริ่มต้นจากความสุข ความสำเร็จ ความชื่นชม

                   ดังนั้น บทสรุปในตอนนี้ ผมจึงต่อจิ๊กซอว์ในใจได้ว่า การจัดการความรู้ที่ถูกหลักการ จะนำไปสุ่การเคารพในศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นมนุษย์โดยการเคารพความรู้ในตัวคนส่งผลให้คนเกิดความสุขทางจิตวิญญาณ เกิดพันธมิตร เกิดกลุ่ม เกิดหมู่ที่รักกัน มีอะไรอยากช่วยกัน  เกิดสภาพจิตอาสาขึ้นได้ จะนำไปสู่ระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ และความรุ้ในตัวคนที่ถ่ายทอดออกมานั้นจะเป็นความรุ้ที่เหมาะสมกับชุมชนเพราะมีฐานที่วิถีชีวิต ความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นความรุที่เหมาะกับบริบท ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ทำให้เกิดระบบสุขภาพแบบพอเพียงได้ด้วย

                   เป็นสิ่งที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10 ที่มุ่งไปสู่สุขภาพพอเพียงได้บรรจุประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ 6 ข้อโดยข้อที่ 6 นั้นเป็นการสร้างระบบสุขภาพฐานความรู้ด้วยการจัดการความรู้ ซึ่งในความคิดเห็นของผมนั้นประเด็นยุทธศาสตร์ในข้อที่ 6 นี้ จะเป็นฐานสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้อ1-5ด้วย

หมายเลขบันทึก: 70071เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2006 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท