เส้นทางและเป้าหมาย


แต่ละคนมีพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และภูมิปัญญาที่แตกต่างกัน ที่จำเป็นจะต้องใช้เส้นทางการทำงานที่ไปสู่เป้าหมายเดียวกันนั้น แตกต่างกัน
 

คำ ๆนี้ คล้าย ๆ กับคำภาษาอังกฤษที่ว่า Means และ Ends  

ซึ่งสื่อความหมายที่ว่า เป็นเส้นทางการเดินทางหรือเครื่องไม้เครื่องมือที่จะทำให้เกิดผลของการทำงานต่างๆ และ End คือจุดสิ้นสุดการทำงานหรือผลของการทำงาน

 เรื่องนี้ผมมีมุมมองที่แตกต่างไปจากคำว่า Mean และ End อื่น ๆ ดังนี้นะครับ 

คือในกรณีหลาย ๆ เรื่องที่เราคุยกัน เรามักจะมองว่า มันจะต้องมีเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่เป้าหมายวิธีหนึ่ง แล้วพยายามจะไปตามเส้นทางเหล่านั้น  ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาค่อนข้างมาก 

 อันเนื่องมาจากว่าแต่ละคนมีพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และภูมิปัญญาที่แตกต่างกัน ที่จำเป็นจะต้องใช้เส้นทางการทำงานที่ไปสู่เป้าหมายเดียวกันนั้น แตกต่างกัน 

ยกตัวอย่างง่าย ๆ ครับ สมมุติว่าเราจะเดินทางไปกรุงเทพฯ คนหนึ่งอยู่เชียงราย อีกคนหนึ่งอยู่สุไหงโกลก จะให้สองคนนี้มาจับมือกันเพื่อจะเดินทางไปกรุงเทพฯ หรือครับ

ไม่ใช่ครับ เป็นไปไม่ได้

คนที่อยู่เชียงรายก็ต้องเดินทางลงใต้

คนอยู่สุไหงโกลกก็ต้องเดินทางขึ้นเหนือ

สองคนนี้ ถ้ามองอย่างฉาบฉวย ก็จะมองว่า สองคนนี้เดินเส้นทางคนละเรื่อง

 

มันจะนำไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้อย่างไร หากเรามองอย่างนั้น

 แต่แท้จริงแล้ว เขาไม่ได้มองว่า คนที่อยู่ภาคใต้ ต้องขึ้นเหนือ ถึงจะไปกรุงเทพฯ ส่วนคนที่อยู่เหนือ ต้องเดินทางลงใต้ ถึงจะไปถึงกรุงเทพฯ 

เพราะฉะนั้น หลักการเช่นนี้ จึงเป็นการสะท้อนว่า ถ้าเราไม่เข้าใจ เราจะเข้าใจเส้นทางอย่างผิดพลาด และเข้าใจเป้าหมายอย่างผิดพลาดเหมือนกัน  

เพราะฉะนั้น หลักการสำคัญก็คือ เราจะต้องทำความเข้าใจว่า ใคร อยู่ที่ไหน อย่างไร จึงจะไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้  

เราจะต้องมีกรอบความคิดที่กว้างขวาง ดีกว่าที่จะมานั่งดูเฉย ๆ ว่าคนนั้นเดินผิดทาง หรือถูกทาง ด้วยจิตวิญญาณแคบ ๆ ของตนเองนั้นใช้ไม่ได้ครับ  

จะต้องพยายามมองว่า ภาพรวมของคนนั้น เป็นอย่างไร จะนำไปสู่เป้าหมายสุดท้ายได้อย่างไร

นั่นคือ แนวทางในการทำงานที่มีจุดเป้าหมายเดียวกัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีวิธีการเดียวกัน  

โดยเฉพาะเรื่องการจัดการความรู้ก็เช่นเดียวกันว่า เราอาจจะมีวิธีการจัดการความรู้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

เราไม่จำเป็นต้องมีวิธีการที่เหมือนกันก็ได้ แต่เป้าหมายเหมือนกันได้

  และในทางกลับกัน แม้จะมีวิธีการเดียวกัน คือ คนเชียงรายก็ขึ้นเหนือ คนสุไหงโกลกก็ขึ้นเหนือเหมือนกัน  แล้วเขาจะไปไหนกันล่ะครับ ไปคนละเรื่องเลยครับ ไม่ได้ไปกรุงเทพฯหรอกครับ ไปไหนก็ไม่ทราบ ไม่มีทางที่จะไปเป้าหมายเดียวกันได้ อาจจะคนละเป้าหมาย

นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง 

เพราะฉะนั้น เราควรพิจารณาให้ชัดเจน

ไม่ใช่ว่า .... ไม่เข้าใจปัญหา หรือว่ามองประเด็นอย่างฉาบฉวยแล้วก็ไปตัดสินว่า สิ่งที่เขาทำอย่างนั้นไม่ถูกต้อง  

ต้องดู...และเป้าหมายของเขาเป็นหลักด้วย 

ขอบคุณมากครับ   

หมายเลขบันทึก: 69983เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2006 01:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • แวะมาอ่านเก็บเกี่ยวตอนดึกค่ะอาจารย์
  • การจะเดินทางให้ถึงเป้าหมาย ต้องมีการวางแผน การวางแผนที่ดี ต้องมองให้ทะลุถึงเป้าหมาย
  • ขอบคุณมากค่ะ
ขอบคุณที่ยังเป็นเพื่อนยามดึกครับ
ทุกคนต่างมัเป้าหมายที่แตกต่างกันค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าใครจะไปถึงจุดนั้น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท