BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

กับดักทางจริยปรัชญา


จริยปรัชญา

กับดักจริยปรัชญา 

อนึ่ง การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ทำให้ผู้วิจัยมองเห็นปัญหาจริยปรัชญาอย่างหนึ่ง ตามความเห็นของผู้วิจัย หลักศีลธรรมหรือจริยธรรมเป็นเพียงความเป็นมาในประวัติศาสตร์ เพราะในยุคดึกดำบรรพ์ชุมชนหรือสังคมมีขนาดเล็ก ระเบียบ กฎเกณฑ์ และความดีงามคือคุณธรรม เป็นสิ่งที่แต่ละชุมชนหรือสังคมได้สร้างขึ้นมา เมื่อมีการขยายตัวใหญ่ขึ้นและมีการติดต่อกันมากขึ้นก็ย่อมมีการโต้เถียงในเรื่องเหล่านี้ โดยแต่ละฝ่ายก็มีความเห็นว่า สิ่งที่ตนเชื่อถือและกระทำอยู่ย่อมมีความถูกต้องหรือเป็นสิ่งที่ดีกว่า ลักษณะนี้เรียกว่าเป็นอัตวิสัย เป็นสัมพัทธนิยม และเป็นพหุนิยมเชิงจริยะ ซึ่งทฤษฎีคุณธรรมก็เป็นไปตามลักษณะนี้               

ต่อมามีนักคิดพยายามที่จะหาเหตุผลเพื่ออธิบายและวางหลักการให้ครอบคลุมทั้งหมดไม่ขึ้นอยู่กับสังคมหรือชุมชนแห่งหนึ่งแห่งใด ลักษณะนี้เรียกว่าเป็นปรวิสัย เป็นสัมบูรณนิยม และเป็นเอกนิยมเชิงจริยะ ตัวอย่างที่สำคัญก็คือ คานต์พยายามเสนอเรื่องนี้โดยกล้ายืนยันว่าแม้แต่เทวดาหรือนางฟ้าก็เถียงไม่ได้ แต่เอิร์มสันก็คัดค้านว่า แนวคิดของคานต์เปรียบเหมือนพิมพ์เขียวของรถยนต์ที่ดีที่สุดซึ่งยังสร้างไม่ได้ หมายความว่าไม่สามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตตามความเป็นจริงได้ โดยเอิร์มสันให้ความเห็นว่าประโยชน์นิยมเป็นแนวคิดที่เหมาะสมกับข้อเท็จจริงทางสังคมมากที่สุด แต่ประโยชน์นิยมก็ถูกวิจารณ์ว่าเป็นแนวคิดที่มีความชั่วร้ายแฝงอยู่ เพราะบางครั้งก็ขัดกับมโนธรรมตามความสำนึกของคนทั่วไป               

เมื่อลัทธิคานต์และประโยชน์นิยมพยายามหาข้อโต้แย้งเพื่อยืนยันว่าหลักการของตนเองเท่านั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ข้อโต้แย้งก็ก้าวพ้นจากการดำเนินชีวิตตามความเป็นจริง กลายเป็นการใช้เหตุผลทางตรรกศาสตร์เท่านั้น จึงมีผู้รวมเอาประโยชน์นิยมกับลัทธิคานต์เป็นทฤษฎีหลักการ และให้เหตุผลว่าไม่สามารถตอบสนองการดำเนินชีวิตทางศีลธรรมตามความเป็นจริงได้ โดยบอกว่าเราเรียนรู้และเลียนแบบความเป็นอยู่ทางศีลธรรมโดยผ่านจากใครบางคน เช่น พ่อแม่ ครู หรือผู้ที่เราเทิดทูนในความเป็นอยู่ของเขา ซึ่งเรียกกันว่าตัวแทนทางศีลธรรม ลักษณะนี้เรียกว่าทฤษฎีคุณธรรม               

เมื่อมีการถกเถียงระหว่างทฤษฎีหลักการกับทฤษฎีคุณธรรม ซึ่งได้พัฒนามาสู่ปัญหาพื้นฐานเรื่องสภาพเบื้องต้น ก็มีผู้พยายามที่จะประนีประนอมโดยพยายามนำเสนอว่าทั้งสองทฤษฎีมีความสอดคล้องกัน จะเห็นได้จากแนวคิดเรื่องมาตรฐานศีลธรรม 2 ระดับของโบฌองพ์ซึ่งผู้วิจัยได้นำเสนอมาตามลำดับ แต่แนวคิดของโบฌองพ์ก็ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหานี้ได้ เพราะเมื่อให้ผู้กระทำกำหนดและแปลความหมายคำว่า ควร ด้วยตัวเขาเอง นั่นคือ การย้อนกลับไปสู่ อัตวิสัย  สัมพัทธนิยม และพหุนิยมเชิงจริยะ อีกครั้ง

และเมื่อไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ โบฌองพ์ก็ย้อนกลับไปตรวจสอบการตั้งข้อสงสัยของฮูมและทฤษฎีสังคมอีกครั้ง กล่าวได้ว่าย้อนกลับไปศึกษาพื้นฐานเดิมซึ่งเป็นที่มาแห่งหลักศีลธรรมและจริยธรรม กลายเป็นวงจรหรือวัฎฎจักร์ ซึ่งลักษณะนี้ผู้วิจัยเรียกว่า กับดักทางจริยปรัชญา

บางท่านที่เห็นด้วยกับวงจรนี้ ก็อาจก่อให้เกิดความเชื่อว่า หลักศีลธรรมและจริยธรรมทั้งหมดเป็นเรื่องเหลวไหล ไม่มีจริง จึงกลายเป็นลัทธิ สุญนิยม (nihilism) หรืออาจก่อให้เกิดความเห็นว่าหลักศีลธรรมและจริยธรรมทั้งหมดมีอยู่เพื่อรับใช้ผู้มีอำนาจหรือชนชั้นผู้ปกครองเท่านั้น ซึ่งแนวคิดทำนองนี้  ฮอบส์  (Hobbes, Thomas) ก็เคยอธิบายไว้

ดังนั้น จริยปรัชญาก็ยังมีการศึกษาเพื่อตอบปัญหาและข้อสงสัยในการดำเนินชีวิตทางศีลธรรมต่อไป  

คำสำคัญ (Tags): #จริยปรัชญา
หมายเลขบันทึก: 69893เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2006 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 01:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)
  • มาตกกับดัก
  • ไม่ใช่ครับมาอ่านกับดัก
  • ยังอยู่ชายแดนอยู่เลยครับ
  • หลวงพี่ลองใช้ตัวอักษรสีน้ำเงินหรือสีอื่นๆดูบ้างดีไหมครับ

เจริญพร จ้า

เข้าไปเยี่ยมที่โน้น แต่อาจารย์มาโผล่ที่นี้ สวนทางกันเลย 5 5 5...

ทดลองใช้สีตามอาจารย์ เป็นอย่างไรบ้าง

ทำไม่ค่อยเป็นนะอาจารย์ อีกอย่างใจไม่ค่อยจะใฝ่เรื่องสีสรรค์ นะครับ

ที่ถนัดก็คือ "ขัดคอ" ผู้อื่น 5 5 5

เจริญพร

  • สนุกดีนะครับ
  • ชอบขัดคอผู้อื่น
  • ขอบคุณมากครับ
จริยปรัชญากับข้อสงสัยในการดำเนินชีวิตทางศีลธรรม    เป็นประเด็นที่น่าสนใจมากครับหลวงพี่
  • หลักศีลธรรมและจริยธรรมทั้งหมดมีอยู่เพื่อรับใช้ผู้มีอำนาจหรือชนชั้นผู้ปกครองเท่านั้น
  • แสดงว่าชนชั้นปกครองกำหนดศีลธรรมและจริยธรรมเพื่อให้ตนเองปกครองคนได้ง่าย ยังงั้นหรอค่ะ
  • สรุปแล้วเค้าวิจัยเรื่องที่ว่านี้เพื่ออะไรค่ะ
  • โจทย์วิจัยคืออะไรค่ะ

เจริญพร โยมอาจารย์เม็กดำ

บทความนี้เป็นข้อสรุปในวิทยานิพนธ์ ซึ่งอาตมาคิดขึ้นเองครับ ซึ่งเฉพาะตอนนี้มิได้ลอกเลียนความคิดของใครมาเลยครับ อาจเป็นการตกผลึกทางความคิดของอาตมาเองก็ได้ ทำนองนั้นครับ...

ถ้าอาจารย์สนใจก็แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ครับ มาถึงตอนนี้ ปรัชญาเรื่องอื่นไม่ค่อยรู้เรื่องแล้ว รู้แต่เรื่องนี้แหละครับ 5 5 5

ด้วยความยินดีครับ

เจริญพร

 

 

เจริญพร อาจารย์ paew

ยินดีครับ อาจารย์ที่สนใจ เป็นการสรุปความเห็นทั้งหมดของอาตมานะครับ อาจารย์ ...ส่วนประเด็นวิจัย ก็ขออธิบายสั้นๆ นะครับ

จริยปรัชญาขณะนี้มีปัญหาเรื่องเกณฑ์ตัดสินจริยธรรม ระหว่าง หลักการ กับ คุณธรรม ..

หลักการ ใช้ กฎ ไปตัดสิน การกระทำ

คุณธรรม ใช้ อุปนิสัย ไปตัดสินการกระทำ

นั่นคือ คนจะดีจะชั่ว หรือจะถูกจะผิด เราจะรู้ได้เพราะเอากฎไปกำหนดการกระทำของเค้า ...หรือว่า สิ่งที่กระทำไม่สำคัญเท่าคนที่กระทำ (อุปนิสัย) ถ้าคนดีก็จะกระทำดีหรือถูก ถ้าคนชั่วก็จะกระทำชั่วหรือผิด...

เค้าก็เถียงกันว่า กฏกับอุปนิสัย อะไรเป็นพื้นฐาน หรือสภาพเบื้องต้นที่จะเข้าไปกำหนดผิดถูก หรือดีชั่ว..

โบฌองพ์ นำเสนอแนวคิด เรื่องมาตรฐานศีลธรรม ๒ ระดับ เพื่อแก้ปัญหานี้ โดยแบ่งเป็น ศีลธรรมระดับทั่วไป และระดับการกระทำเหนือหน้าที่

อาตมาก็วิเคราะห์แนวคิดเรื่องมาตรฐานศีลธรรม ๒ ระดับของโบฌองพ์ จึงได้ความเห็นนี้ขึ้นมา และตั้งชื่อว่า กับดักทางจริยปรัชญา

ด้วยความยินดีครับอาจารย์

เจริญพร

เข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้ค่ะหลวงพี่...แต่ก็ยัง งง ๆ สับสนเล็กน้อยถึงปานกลาง ว่าตกลงแล้วเพราะคนมีอุปนิสัยเช่นนี้...เช่นนั้น ไม่ใช่หรือ ถึงได้ออกกฎมาเป็นตัวตัดสินการกระทำ

มันก็สอดคล้องกันตรงที่ว่า หากใช้หลักของคุณธรรม จะบอกว่า อุปนิสัยเช่นนี้ คือ การกระทำที่ผิด ในเมื่อคุณกระทำผิด หลักการก็เลยบอกว่า งั้นเราก็ออกกฏ มาเพื่อตัดสินความผิดนี้ของคุณ แต่กฏนั้นผ่านมาจากตัวแทนที่คนหมู่มากเลือกมาให้ทำหน้าที่ออกกฎ อย่างนี้แล้วจะถือว่า "อุปนิสัยที่แสดงออกมา เป็นตัวตัดสินการกระทำของคุณว่าถูกหรือผิด หลักการจึงออกกฎมาเพื่อตัดสินการกระทำนั้น" ถ้าใช้สองอย่างเช่นนี้จะสอดคล้องต้องกันได้ใหมคะหลวงพี่

ถามตามความเข้าใจนะคะ...อาจจะหลงประเด็นไม่แน่ใจนักค่ะ

อาจารย์ vij ครับ

อาตมา ไม่ค่อยเข้าใจคำถาม ไม่สามารถตอบได้ (อ่านหลายเที่ยวแล้ว) จะลองวิเคราะห์คำถามดูสัก ๒ ประเด็นนะครับ

อุปนิสัยเช่นนี้ คือ การกระทำผิด ?

อุปนิสัย คือ พื้นฐานทางจิตของคน นะครับ เป็น ภาวะ (being) ในที่นี้ ผู้อุปนิสัยที่ดี คือ อุปนิสัยที่ประกอบด้วยคุณธรรม  ...อุปนิสัยมิใช่การกระทำ นะครับ

การกระทำ คือ สิ่งที่แสดงออกมาจากอุปนิสัย ครับ ฝ่ายนี้พิจารณา การกระทำ  (action) โดยมิได้สนใจอุปนิสัยของคนคน ซึ่งการตรวจสอบนี้ก็ใช้กฎหรือหลักการ ครับ

สองอย่างนี้ ขัดแย้งกันครับ ดัง แฟรงเกนา บอกว่า "อุปนิสัยปราศจากหลักการก็มืดบอด แต่หลักการถ้าปราศจากอุปนิสัยก็อ่อนกำลัง"

..................

อีกประเด็นนะครับ.. อุปนิสัยที่แสดงออกมา เป็นตัวตัดสินการกระทำของคุณว่าถูกหรือผิด หลักการจึงออกกฎมาเพื่อตัดสินการกระทำนั้น...

ใช้รวมกัน ? ตอบว่า ทั่วๆ ไป ก็อาจเป็นเช่นนั้น.. แต่จริยปรัชญาขณะนี้ถามว่า อะไรเป็นสภาพเบื้องต้น (primacy) นั่นคือ อุปนิสัยสนับสนุนหลักการ หรือหลักการสนับสนุนการกระทำ

ไม่แน่ว่าอาจารย์จะถามตรงคำตอบหรือไม่ ? (5 5 5)

เจริญพร

 

 

 

กฏแห่งกรรมเป็นกับดักของผู้กระทำหรือเปล่า

ผู้เป็นชนชั้นมักมีโอกาสจะดักผู้อื่นให้มาติดในตน

ชนผู้ไม่มีความรู้มักจะเป็นเครื่องมือของเขาใช้ไม่

 

ไม่เข้าใจคำถามและวัตถุประสงค์ของคุณ mk

ถ้าสนใจจริง ก็ว่ามาใหม่ จ้า 

  • ไม่ได้มาถามคำถามครับ
  • มารายงานตัวและสวัสดีปีใหม่ครับผม

555...มาลุยกับดักกันหน่อย...อิอิ

 

ไหนพระอาจารย์ว่าไม่จำเป็นต้องมีอะไรเป็นของตนก็เป็นผู้ยิ่งใหญ่ได้...อิอิ...(นิสัยขัดคอแบบนี้ติดมาจากใครนะ...555)

 

การตกผลึกทางความคิดในประเด็นกับดักจริยปรัชญานี่...มองดูโดยถ้วนทั่วแล้ว...ถือเป็นมิติใหม่ของการประเมินจริยธรรมผนวกแนวคิดทางปรัชญาอีกระดับนึงเลยนะครับพระอาจารย์....

 

งานนี้ถือว่าพระอาจารย์ติดกับดักตัวเองนะครับ...555...เพราะยึดเอาถือเอาว่านี่เป็นการตกผลึกของพระอาจารย์เอง...อิอิ....คำตอบที่จะให้อธิบายตรงตามระดับของวิธีคิดของแต่ละคนจึงเป็นเรื่องนึงที่พระอาจารย์สร้างปมกับดักไว้อย่างหลีกเลี่ยงมิได้....5555

 

อย่างไรก็ตาม...เรามาช่วยพระอาจารย์คลี่คลายสลายขั้วกันดีมั้ยครับ....อิอิ...ขอเวลาไปทำงานก่อนนะครับพระอาจารย์... (ผมก็ติดกับดักพระอาจารย์แล้วอ่ะคับ...ประมาณว่าเกิดสัญญากับบล็อกพระอาจารย์แล้วอ่ะจิ...555...) เดี๋ยวมาครับ...

จ้า คุณโยมขำ

คนเราตราบใดที่ยังไม่หลุดพ้นก็ยังคงติดกับ...แต่ ติดกับทางจริยปรัชญา หมายถึงว่า เกณฑ์นี้ ถูกเกณฑ์นี้ค้าน ...ทำนองนี้แหละ แล้วก็เวียนไปเวียนมา ทำนองนั้นแหละ

เจริญพร

  • แวะมาอีกรอบครับหลวงพี่
  • ดีใจที่หลากคนแวะมาเยี่ยมแล้ว
  • ปกติผมอยู่ที่นี่ครับkhajit's blog
  • ขอบพระคุณมากครับผม

ถามการดักจิต เป็นอิทธิวิธีอย่างหนึ่งของผู้มีณานใช่ไม่ ?

 

คุณ mk

การดักจิต ? ไม่เข้าใจ ลองอธิบายเบื้องต้นมาก่อนว่าเป็นอย่างไร

ณาน ..คำนี้ ไม่เคยเจอ มีแต่ ฌาน และ ญาณ

ต้องอธิบายเบื้องต้นเพื่อผู้ตอบจะเดาถูกว่าถามเรื่องไร และคำที่ผิดไปนะ เดาไม่ถูก จ้า

เจริญพร 

การดักจิตนั้นสำหรับผู้มีญานน่ะครับ...หมายถึงว่ามีฌานได้สมาธิก่อน..แล้วฝึกญานนี้ท่านเรียกว่า "เจโตปริยญาน แปลว่า ญานหยั่งรู้จิตผู้อื่น "เป็นฤทธิ์อย่างหนึ่งครับ...รู้ว่า คิดอะไร คิดอย่างไร มีอุปนิสยอย่างไร ประมาณเนี๊ยะ คำว่า ฌาน แปลว่า เพ่ง คำว่า ญาน แปลว่า รู้ หรือเครื่อง ส่วน คำว่า ณาน ยังไม่เคยเจอง่ะ...

คุณผ่านมา

ยินดีครับ ... เพิ่งนึกได้ เหมือนกันครับ ว่า การดักจิตคือ เจโตปริยญาญาณ

เจริญพร 

 

นี่เรียกว่าจอมยุทธ์ซ่อนกาย...แต่ก็แอบช่วยพระอาจารย์เหมือนกันนะครับ... และก็เชื่อว่ามีจอมยุทธ์อีกไม่น้อยเลย...ที่มาติดกับดักพระอาจารย์

 

เพียงแต่ยังไม่ถึงขั้นเปิดช่องเข่ามาช่วยเหมือนคุณผ่านมาเท่านั้น...5555

โยมขำ

คุณผ่านมา ไม่แสดงดัวเอง ก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร ...

แต่จากการสังเกต คุณผ่านมาเขียนคำว่า ญา ใช้ น.หนู สะกดทุกครั้ง ...บ่งบอกว่าเขียน ผิด ถ้าเขียนไม่ถูกเพียงครั้งเดียว ก็อาจถือว่า พลาด...

บางอย่างก็อาจบ่งบอกบางอย่างได้ ใช่มั้ย คุณโยม...

เจริญพร

อิอิ...ครับ...ผมเพิ่งสังเกตุครับ...

 

คงจะอยู่ในระดับเดียวกับผมอ่ะครับ...พระอาจารย์...555

นมัสการพระอาจารย์

โดยส่วนตัว ผมเห็นว่า ความหมาย แยกไม่ออกจาก บริบท ครับ

ผมว่าระเ บียบการวิจัยรวมถึงกรอบทฤษฐีทางสังคมกระแสหลัก เกิดขึ้นในยุคสมัยที่วิทยาศาสตร์แบบคลาสสิคเจริญรุ่งเรื่อง คือมีสมการเพียงไม่กี่สมการก็สามารถอธิบายปรากฎการณ์แอ็ปเปิ้ลตก ไปจนถึงการเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์ได้อย่างแม่นยำ สังคมศาสตร์ก็เลยทึ่งและพยายามอยากให้ศาสตร์ของตัวเองเป็นเช่นนั้นบ้าง

กลุ่มคนที่มาอยู่รวมกันต้องมีกฏเกณฑ์ในการจัดสรรทรัพยากร และสร้างความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน แตกต่างจากพวกอื่น ถ้าเป็นพวกเดียวกันก็จะได้แบ่งปันกันชวยเ หลือ ถ้าเป็นพวกอื่นก็จะได้ต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงผลประโ ยชน์มาแ บ่งปันกับคนใ นกล่ม มีคนว่าความรู้สึกแบบนี้มันฝังอยู่ในดีเอ็นเอเลย เพราะฉะนั้นการที่เด็กตีกันไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่ากลไกทางชีววิทยาในร่างกายจะปรับตัวได้ทัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท