KM (แนวปฏิบัติ) วันลำคำ : 236. การสร้างสรรค์วิชาการแนว KM


       ผมได้แนวความคิดนี้ระหว่างนั่งเครื่องบินไปเจนีวา ตอนเช้ามืดของวันที่ ๒๖ พย. ๔๙   จากการอ่านบทนำของหนังสือ "ปัจจุบันขณะ" หรือที่ผมอยากใช้ชื่อภาคไทยว่า "พลังแห่งปัจจุบันขณะ"   ซึ่งชื่อจริงของหนังสือคือ "Presence : Exploring Profound Change in People, Organzation, and Society"

      คณะผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ๔ คน    แต่ละคนมี tacit knowledge คนละด้าน   เมื่อได้พบกัน และเห็นคุณค่าของการเอา tacit knowledge ของแต่ละคนมาต่อยอด หมุนเกลียวความรู้ซึ่งกันและกัน    ยกระดับความเข้าใจปรากฏการณ์ของธรรมชาติเชิงสังคม เชิงองค์กร เชิงกลุ่ม   ที่เรียกว่า collective change    ในลักษณะ "เปลี่ยนทั้งเนื้อทั้งตัว เปลี่ยนเป็นคนละคน" (profound change)

      หนังสือเล่มนี้จึงเป็นตัวอย่างของการทำงานสร้างความรู้แบบใหม่ (สำหรับผม)    คือเป็นการเอา tacit knowledge จากต่างศาสตร์ ต่างประสบการณ์ ต่างมุมมอง มาทำกระบวนการ SECI  หมุนเกลียวความรู้    ได้ explicit knowledge ออกมาเป็นหนังสือเล่มนี้
 
       ต่างศาสตร์ ต่างประสบการณ์ที่มาผสมกัน ได้แก่
          - Peter Senge : ประสบการณ์พัฒนา organization learning
          - C. Otto Scharmer : ประสบการณ์พัฒนา grassroot large scale change เน้นที่ความสัมพันธ์แบบเครือข่าย
          - Joseph Jaworski : จากประสบการณ์การขับเคลื่อนขบวนการ servant leader   หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ empowerment leadership
          - Betty Sue Flowers เป็นศาสตราจารย์ด้าน English Literature ที่เชี่ยวชาญด้านเรื่องเล่าและ myth

      วิธีการ "วิจัย" ของเขา ทำโดยการเล่าเรื่องจากประสบการณ์ของแต่ละคน    จดบันทึก   แล้วสังเคราะห์   ใช้เวลาทั้งสิ้น ๔ ปี

       ผมมองว่าวงการวิชาการในมหาวิทยาลัยไทย   และวงการจัดการทุนวิจัย น่าจะให้ทุนทำงานสร้างสรรค์วิชาการแบบนี้

วิจารณ์ พานิช
๒๖ พย. ๔๙
บนเครื่องบิน TG 970 ไปซูริค

หมายเลขบันทึก: 69819เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2006 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

       เห็นด้วยกับ ท่าน อ.หมอวิจารณ์ ในเรื่องนักวิชาการค่ะ โดยเฉพาะสายวิทยาศาสตร์ และสายเศรษฐศาสตร์  ถ้ามีการนำงานวิจัยบูรณาการสู่ชุมชน นำทฤษฎี ไปใช้จริงให้มากๆๆ ก็จะเป็นประโยชน์ เพราะปัจจุบัน งานวิจัยในประเทศมีจำนวนมาก ที่กองไว้ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง

       อ.หมอวิจารณ์  สรรหาสาระ และมีวิธีคัดเลือกหนังสือ ได้ยอดเยี่ยมมากๆ เสมอนะคะ 

       ถ้ามีโอกาส อยากขอให้ท่าน เล่าเรื่องวิธีการเลือกหนังสือที่ดี มีสาระประโยชน์ คุ้มค่ากับเวลาที่ต้องเลือก กับเวลาที่จะอ่าน รวมถึงจะไม่ต้องเสียดายสตางค์ และเนื้อที่ในการเก็บรักษา บ้างนะค่ะ

ด้วยความเคารพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท