การคุ้มครองผู้บริโภค


         ผู้บริโภคในยุคทุนนิยม  วัตถุนิยมนี่แย่หน่อยนะครับ   โดนสื่อมวลชนซัดสาดด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ   หลอกล่อสารพัดเล่ห์   ในลักษณะที่ผู้ผลิต (supply) สร้างอุปสงค์ (demand)

         ผู้บริโภคต้องการคุ้มครองในกรณีสินค้าคุณภาพไม่ตรงตามที่ตกลงกัน

         แต่ในกรณีหลงติดกับเข้าไปซื้อเองโดยไม่จำเป็นนั้น   ไม่มีใครช่วยได้   ที่พอช่วยได้คือห้ามโฆษณาสินค้าบางประเภทที่ไม่มีความจำเป็นหรือเป็นสินค้าอันตราย  เช่น เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

         กรณีผู้บริโภคต้องซื้อของแพง   เพราะต้องช่วยจ่ายค่าโฆษณาก็ไม่มีใครช่วยคุ้มครองได้   เราต้องมีสติปัญญาพิจารณาเอาด้วยตัวเองคือต้องคุ้มครองตัวเอง   อย่างกรณีที่ชาเขียวใส่ขวดยี่ห้อหนึ่งกำลังฮิตขายขวดหนึ่งตั้ง 20 บาท   ผมไม่เคยซื้อดื่มเลย   ที่เคยดื่มเพราะการบินไทยเขาแจกฟรี

         สรุปว่า  เราคุ้มครองตัวเราเองเป็นดีที่สุด   โดยใช้คาถาเศรษฐกิจพอเพียง   ไม่บ้าไปตามแรงโฆษณา   รู้เท่าทันว่าสินค้าที่ยิ่งโฆษณามาก   ราคารขายยิ่งแพงเกินมูลค่าจริง

วิจารณ์  พานิช
 25 ธ.ค.49

หมายเลขบันทึก: 69421เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • หลายคนซื้อของตามกระแสนิยมมากค่ะ การโฆษณาก็มีส่วนด้วย
  • โฆษณาบางอย่างไม่มีประโยชน์และเกินความเป็นจริง
  • เราคุ้มครองตัวเราเอง ดีที่สุด เห็นด้วยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

 

เห็นด้วยครับ
   สรุปแล้ว การคุ้มครองผู้บริโภค ที่ดีที่สุด และได้ผลชงัดที่สุด คือการพยายาม ใช้เหตุผลและสติปัญญา กลั่นกรองสิ่งที่เข้ามา ทางหู ทางตา ไม่ให้จิตเผลอหลงเชื่อตามง่ายๆ  อาจประยุกต์หลัก "อตัมยตา" ของท่าน "พุทธทาส" มาใช้ก็ได้ โดยพูดกับตัวเองบ่อยๆ ไม่ต้องสุภาพก็ได้ เพราะไม่มีใครได้ยิน ว่า ... " กรู ไม่เอากับ มรึง อีกแล้ว (โว้ย) " ทำบ่อยๆ เมื่อกำลังจะ "โง่" ก็น่าจะคุ้มครองผู้บริโภค คือตัวเองให้ปลอดภัยได้ ไม่มากก็น้อยครับ

พฤติกรรมผู้บริโภคแบบไทย ๆ มักไม่ค่อยอยากจะไปเรียกร้องสิทธิด้วยตนเอง

รัฐก็ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพที่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชนในฐานะที่เป็นผู้บริโภค

ประชาชนก็มุ่งแต่จะร้องขอให้รัฐช่วย เหมือนเสพย์ติดอำนาจรัฐ แต่การรวมตัวเพื่อสร้างพลังผู้บริโภคสำหรับใช้อำนาจต่อรองกับผู้ประกอบธุรกิจ มักจะไม่เห็นในสังคมไทยนัก

การจัดอบรมสัมมนาให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดู ๆ แล้ว ก็ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าใดนัก

การคุ้มครองผู้บริโภคนั้นเป็นหน้าที่ของตัวผู้บริโภคเอง รัฐเพียงแต่เป็นฝ่ายสนับสนุนให้การใช้สิทธิเรียกร้องบรรลุวัตถุประสงค์เท่านั้น

ทำอย่างไรที่จะให้ผู้บริโภคมีภุมิคุ้มกัน รวมตัวกันได้อย่างเข้มแข็ง ตรงนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายผู้บริหารหน่วยงานของรัฐอย่างยิ่งที่จะทำอย่างไรอันเป็นการกระตุ้นให้เกิดความเคลือนไหวดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม

ไม่อยากเห็นเหตุการณ์เช่นเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับกรณีทุบรถตามที่ปรากฏในสื่อมวลชน และทำให้หน่วยงานรัฐเข้าไปเจรจาไกล่เกลี่ยแล้วจบกันเป็นกรณี ๆ ไป

กรณีในลักษณะดังกล่าวจะปรากฏต่อไปให้เห็นแบบไม่มีที่สิ้นสุด หากรัฐใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบเป็นกรณี ๆ ไป ตามกระแสสังคม โดยไม่ได้กำหนดหรือคาดคั้นให้ผู้ประกอบธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจะมีความยั่งยืนยิ่งกว่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท