การวัดและประเมินผลทางภาษา(3)


การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากเรื่องที่ยังไม่รู้ เป็นเรื่องที่น่าสรรเสริญอย่างยิ่ง มาเรียนรู้ด้วยกันเพื่อการพัฒนา ที่ยังต้องการพัฒนาอีกมาก รู้แต่ยังรู้ไม่ถ่องแท้ ให้ได้มารู้และปฏิบัติได้ถูกต้องอย่างมีความหมาย และพัฒนานักเรียนอย่างแท้จริง
ก่อนที่จะอ่านบันทึกนี้ ควรอ่านบันทึกนี้ก่อนค่ะ การวัดและประเมินผลทางภาษา(2)
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษหากได้มีหนังสือไว้ศึกษาเพิ่มเติมนั้นเป็นเรื่องที่ดี  จะได้มีแนวดำเนินการที่ถูกต้อง ไม่หลงทาง
ครูอ้อยยึดถือหนังสือตำราที่ทางราชการแจกมาให้ครูทุกคนปฏิบัติตามหลักสูตร  และหาซื้อหนังสือเพิ่มเติม  เพราะหนังสือที่เพิ่มเติมนี้มักจะมีแนวประสบการณ์ในการใช้วิธีวัดและประเมินผลที่เห็นภาพปฏิบัติได้ชัดเจน
เอกสารการค้นคว้าด้านการประเมินผลทางภาษาด้วยตนเอง  การจัดลำดับขั้นตอนจึงเป็นการลำดับความรู้  จากความรู้ทั่วไป  สู่ความรู้เฉพาะด้าน  เพื่อให้เห็นความสอดคล้องของหลักการวัดและประเมินผลทั่วไป  กับการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง  รวมทั้งการวัดและประเมินผลทางภาษา 
การวางรูปแบบเนื้อหาให้อยู่ในรูปของการผสมผสานแนวคิด  จัดให้เป็นลำดับขั้นตอน ให้มีความต่อเนื่องและเป็นไปตามลำดับที่ควรปรึกษา  ซึ่งครูอ้อยจะแบ่ง  เรื่องต่างๆที่น่าสนใจไว้สัก 5  บท
การวัดและการประเมินผลทางการศึกษา.....การประเมินตามสภาพจริง.....การวัดผลประเมินผลทางภาษา.....การประเมินทักษะทางภาษา.....เกณฑ์การประเมิน
ครูอ้อย..มักจะเน้นการวัดและประเมินผลอยู่เสมอในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้  เนื่องจากว่า...การจัดการเรียนรู้ส่วนใหญ่แล้ว มักจะมีส่วนที่ต้องแก้ไข  ปรับปรุงในส่วนที่ต้องแก้ไขนี้  ครูผู้สอน  ต้องรู้จักการหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้
การจะรู้ว่า...ต้องมีการแก้ไข..ครูผู้สอนต้องมีการระบุการวัดและประเมินผลอย่างชัดเจน  ซึ่งจะเป็นการประเมินตามสภาพจริงที่จะได้ทราบในลำดับต่อไป
การจัดการเรียนการสอนภาษาในปัจจุบัน  ต้องจัดการสอนควบคู่ไปกับการวัดและประเมินผล  เพื่อประเมินความรู้ความสามารถ  และความก้าวหน้า  ในการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นระยะๆ
ครูผู้สอนจะได้นำข้อมูลที่ได้จากผลการประเมิน  มาช่วยแก้ไขปรับปรุงพัฒนานักเรียน  ให้เกิดการเรียนรู้และศักยภาพตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้  และเพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนภาษาให้ได้มาตรฐานการวัดและประเมินผลจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึง  วิธีการจัดการเรียนการสอนด้วย
ครูอ้อยหวังว่า..สิ่งที่ครูอ้อยได้บันทึกจากการเรียนรู้และปฏิบัติไปพร้อมๆกันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจด้านการวัดและประเมินผล  ในการพัฒนาการทดสอบการวัดและประเมินผล  ให้มีลักษณะการประเมินตามสภาพจริงในชั้นเรียน  สอดคล้องกับจุดประสงค์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544  ต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 69395เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท