922. คู่มือการสอนและการโค้ช IKIGAI สไตล์ดร.ภิญโญ


สวัสดีครับ 

 

ผมสอน IKIGAI มาหลายปี วันนี้อยากมาสรุปว่าล่าสุดผมสอน IKIGAI อย่างไร เนื้อหาเรียง sequence อย่างไร เพื่อให้คนไปต่อยอดต่อ โดยเน้นว่าเนื้อหาและกระบวนการนี้ผมขอสงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ ห้ามทำเป็นการค้า

 

 

 

เริ่มจากแนะนำว่า IKIGAI สำคัญอย่างไร IKIGAI มีความสำคัญอย่างไร ทำไมฮิต เริ่มจาก IKIGAI มีความหมายอย่างไร แล้วเริ่มด้วยการตั้งคำถามผู้เรียนด้วยคำถามต่อไปนี้

 

 

จากนั้นนำสู่บทเรียนด้วยการแชร์ความหมายของ IKIGAI 

 

 

นี่เป็นนิยามที่จะพูดกันทั่วไปมักได้อิทธิพลมากจากหนังสือของ Ken Mogi 

 

แต่ก็ได้นิยามอื่นๆที่ผมชอบใช้มากกว่าดูใช้งานง่ายก็คือนิยามต่อไปนี้ นั่นคือ Sum of Joy จริงๆ แล้ว IKIGAI มีได้ในทุกมุมของชีวิต มีได้หลายๆ อย่าง จะเป็นอาชีพหรือไม่ก็ได้ 

 

 

แต่ก็จะมีการอ้างอิงถึง Research เกี่ยวกับ IKIGAI ของ Gordon Matthew ว่า Ikigai มีได้ทั้งแบบเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางกับสังคมเป็นศูนย์กลาง หลักคิดคือได้ทั้งคู่ สร้างสมดุลย์ให้ดี

 

มีอะไรที่ลงท้ายด้วย GAI ที่แปลว่ามีคุณค่า นอกจาก IKIGAI อีกที่ตัวนี้ผมเริ่มเอามาใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องการค้นพบตัวเองในมิติอื่นๆได้แก่

 

 

ที่ผมเอาใช้คือ Yarigai, Hatrakigai  รวมทั้ง Asobigai ที่จะพูดต่อไปในภายหลัง ส่วน ตายเพื่ออะไร อาจมีความหมายทั้งลบและบวก แต่ส่วนใหญ่ลบ ผมจะไม่พูดถึง

 

จากนั้นจะเริ่มอธิบาย IKIGAI ที่ผมศึกษามาจากแหล่งต่างๆ 

ถ้าเป็นงานวิจัยอย่างเป็นระบบก็จะเป็นงานของ Gordon Matthew และ Kono ส่วนนักวิจัยอื่นๆ คนสำคัญจะถูกอ้างในหนังสืออื่นๆ แต่ ที่จากการศึกษาค้นพบว่ามีหลากหลายความคิดความเชื่อ IKIGAI บ้านเราตอนนี้จะได้อิทธิพลจากหนังสือของ Ken Mogi มากที่สุด ก่อนหน้านี้และเชื่อว่าว่นใหญ่ยังใช้คือ 4 วง จะปรากฏในหนังสือ How to IKIGAI ของ Tim Tamashiro ที่ก็แปลเป็นไทย แต่จริงๆมี iKIGAI จากเล่มอื่นที่น่าสนใจเช่น Sosoke และ Yukari  รวมทั้งต้องศึกษาวัฒนธรรมประเพณีอื่นๆ ของญี่ปุ่นด้วยเช่น Ichigo Ichie

การศึกษาเรื่อง IKIGAI นี่ค่อนข้างเป็นปรัชญาไม่ง่ายนัก ผมเป็นอาจารย์ MBA ผมเน้นเอามาพัฒนาชีวิตตัวเราเองให้มีความสุขในการทำงาน สร้างอาชีพที่เป็นตัวตนเราจริงๆ แต่จริงๆ เท่าที่ศึกษา IKIGAI มีได้ในทุกมิติของชีวิต

 

สำหรับผมการเรียน การสอน การโค้ชเรื่อง iKIGAI ไม่ว่าคนเดียวหรือกลุ่มใหญ่จะไม่ใช่กระบวนการที่จบสิ้นในวันเดียว เท่าที่รวบรวมมาการศึกษา การค้นหา iKIGAI  ในภาพรวมทำประมาณนี้

  1.  หนังสือทุกเล่มจะใช้การตั้งคำถาม
  2. ใช้กิจกรรมแบบ Kono อันนี้ยังไม่พูดนักในเมืองไทย 
  3.  ศึกษาวัฒนธรรมประเพณีแบบญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมชีวิตแบบ iKIGAI
  4.  การเปลี่ยน iKIGAI เป็นอาชีพ  
  5.  การประเมินว่าจริงๆ แล้วเราอยู่ใน IKIGAI ไหม

ในส่วนตัวผม ผมจะเริ่มจากการการใช้คำถาม  ผมจะให้ผู้เข้าเรียนไม่ว่าจะเป็น Workshop หรือการโค้ชตอบที่จะชุดคำถาม เหมือนพาเขาเก็บข้อมูลตัวเอง แล้วค่อยเอาข้อมูลไปใช้ต่อ เช่นจัดระบบชีวิต การพัฒนา Hobby งานจิตอาสา หรือแม้กระทั่งธุรกิจ 

แบบแรกที่เก่าสุดคือ KAMIYA เป็นจิตแพทย์  ที่ได้อิทธิพลมาจากตะวันตก ผมมองว่าท่านได้อิทธิพลจาก Victor Frankl ที่บำบัดจิตคนไข้ด้วย Logotherapy การหาความหมายของชีวิต จะใช้ชุดคำถามนี้ 

 

สำหรับผมเป็น IKIGAI ที่ทำให้เราไม่มองแต่ตัวเอง ใช้ในการหาภาพใหญ่ๆในชีวิต และเชื่อมโยงตัวเองกับผู้อื่น แต่ไม่แนะนำสำหรับคนเป็นซึมเศร้า เพราะโตมาจากสายการบำบัด (อันนี้ผมคิดเอง)  

ประเด็นที่ผมจะทำเพิ่มเติมคือให้แยกเป็นหลายๆ มิติของชีวิต เช่นงาน ความสัมพันธ์ เรื่องส่วนตัว จะได้ข้อมูลมากขึ้น

 

ชุดที่สอง เป็นของ Ken Mogi  เอามาจากหนังสือ Ken Mogi

 

ส่วนใหญ่จะการตอบคำถามนี้จะทำให้เห็นความสุขที่เรามีในปัจจุบันได้เลย โดยผมจะแนะเพิ่มเติมให้ตอบให้มากที่สุด เช่นคำถามละ 10 คำตอบ แต่บางคนก็จะได้แต่เรื่องส่วนตัวมากๆไป หรือความสัมพันธ์อย่างเดียวก็จะให้เพิ่มมิติอื่นๆไปด้วย เช่นเรื่องงาน 

Ken Mogi ยังแนะนำว่าการหา IKIGAI เราอาจจะไปดูของคนอื่นแล้วปรับมาปรับไปจนเป็นของเรา นำทมาสู่ชุดคำถามอีกชุด แต่แนะนำว่าอาจให้เวลาสัก 2-3 อาทิตย์แล้วกลับมาคุยกันอีกครั้ง

 

 

ชุดคำถามถัดมามาจากหนังสือของ Yukari เป็นที่ปรึกษาธุรกิจ จะออกมาทางผู้หญิงหน่อย ตัวอย่างมีนักธุรกิจผู้หญิงเยอะมาก แต่ทุกเพศวัยใช้ได้ แต่อาจต้องโตหน่อย เหมาะสำหรับการหาภาพใหญ่ในชีวิต คล้ายๆ Kamiya แต่ก็เก็บข้อมูลมากพอที่จะทำให้เราเกิด idea ว่าจะทำอาชีพอะไร  จะใช้ชุดคำถามต่อไปนี้   (มี 20 ข้อ)

 

 

ขั้นต่อมาเมื่อตอบเสร็จแล้วจะพา IKIGAI ด้วยสูตรของ Sosuke  ที่ เป็นที่ปรึกษาธุรกิจ มีแนวคิดว่าทำไมเราไม่ทำ IKIGAI ให้เป็นงานเลย จากประสบการณ์เหมาะสำหรับการเอามาต่อยอดทำธุรกิจมากๆ 

 

ตัวต่อมาคือ Zuzunaga Model มาจากสเปน ตอนแรกคนไม่ยอมรับ เพราะไม่ใช่คนญี่ปุ่นคิด และถูกโจมตีจากหลายๆ คนทั้ง Ken Mogi และ Yukari แต่ปรากฏว่าได้รับการยอมรับจาก Tim Tamashiro   ส่วนผมเองยอมรับ และได้เอาวิชาการตั้งคำถามเชิงบวกไปผสม โดยพัฒนาเป็น Template มา (Credit ตัว Template คุณขุนพล)  

โดยขณะนี้จะแบ่งเป็นสามกลุ่มคือออกแบบชีวิต  การทำ Job Crafting และ การออกแบบหาความเป็นไปได้ในธุรกิจ (สามแนวนี้ผมอออกแบบเองจากประสบการณ์ ยังไม่เห็นทั้งจากฝั่งญี่ปุ่นและตะวันตก)

 

อันแรก 

IKIGAI for Life Design ออกแบบชีวิต 

เน้นถามว่าอะไรที่คุณรัก คือแค่คิดก็สนุกแล้วสามเรื่อง (หรือมากกว่านั้น) แล้วให้ตัด Choice เหลือเรื่องเดียว 

จากรัก ให้ถามต่อว่าจากสิ่งที่คุณรักนั้นมองเห็นปัญหาสังคม หรือลูกค้าอะไรสามเรื่อง แล้วตัด Choice เหลือเรื่องเดียวก็จะได้สิ่งที่โลกต้องการ

เอามาหาพันธกิจ ด้วยคำถามว่า แต่ละวันต้องตื่นขึ้นมาทำอะไรเพื่อให้ปัญหาที่คุณเห็นหายไปจากโลก  ขอ idea สักสามอย่าง  แล้วตัด Choice เหลือเรื่องเดียว (พันธกิจนี่เองคือ IKIGAI ถ้าตะวันตกจะเรียกว่า Purpose/ Mission/Calling)

จากนั้นมาที่เก่ง เก่งแปลว่าคนมาพึ่งพา หรือขอคำปรึกษาอะไรกับคุณสามเรื่อง แล้วตัด Choice เหลือเรื่องเดียว

จากเรื่องเก่งเอาเก่งกับรักมารวมกันจะได้ Passion คือความหลงใหล เช่นผมรัก IKIGAI เก่งการออกแบบหลักสูตร เอามารวมกันกลายเป็นหลงใหลการออกแบบหลักสูตร IKIGAI ให้เหมาะกับคน เพศ สถานการณ์ชีวิต 

จากความหลงใหลก็เอาตั้งคำถามว่า จากความหลงใหลที่ค้นพบน่าเอามาทำอาชีพ งานอดิเรก งานจิตอาาสาอะไรก็เติมลงไป  

 

IKIGAI for Job Crafting 

ต่อมาสำหรับคนที่ทำงานอยู่แล้ว อยากหาความหมาย IKIGAI ในงานก็ทำตามขั้นตอนข้างบน แต่ปรับนิดตรงสิ่งที่โลกต้องการอาจเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ส่วนข้างล่างเมื่อได้ความหลงใหลก็มาตั้งคำถามว่า งานปัจจุบันได้ทำตามพันธกิจไหม ถ้าไม่ได้ก็วางแผนย้าย และวางแผนต่อเรียกว่า x10 คือตำแหน่งไหนในอนาคตที่จะทำให้เราทำพันธิกิจได่หนักแน่นมั่นคงมากกว่าเดิม 10 เท่า และในระยะยาวถ้าจะเป็น 100 เท่าจะเป็นตำแหน่งไหน ทั้งทางการไม่ทางการ บางคนไม่อยากเป็นผู้บริหารก็วางแผนไปทำงานอาสา เช่นคณะกรรมการความปลอดภัยในโรงพยาบาลเป็นต้น

 

 

IKIGAI for Professional/Business Design 

ทำเหมือนข้างบนแล้วตั้งคำถามต่อว่าจะทำอาชีพ/ธุรกิจอะไรขอ idea สักสามอาชีพ/ธุรกิจ แล้วให้คิดว่าทำพร้อมกันได้ไหม หรือผสมผสานเป็นอาชีพ/ธุรกิจเดียวเพื่อสร้างความแตกต่าง 

 

 

ต่อมาจากการใช้คำถามก็มาใช้กิจกรรมหาแทน คือต้องใช้เวลา ตัวนี้ผมได้มากจากงานวิจัยของ KONO มีสี่อย่างดังนี้ 

 

 

 

วิธีการคือให้วางปฏิทินเลยว่าจะทำอะไรในสี่อย่าง แต่ต้องยกตัวอย่างไม่งั๊นไม่เข้าใจ

เช่น Tanoshimi งานอดิเรกของผมคือการอ่าน อ่านมาอ่านไปเลยเจอเรื่อง IKIGAI ตอนนี้การสอน IKIGAI เลยเป็น IKIGAI ของผมเลย

Gambari สุดแห่งการผจญภัยคือไปเรียนต่อ MBA ที่อเมริกา เลยได้ไปเจอหนังสือจิตวิทยาเชิงบวกเลยกลายมาเป็นอาชีพผมด้วย เพราะมาต่อยอดตอนเรียนเอก

Shigeki เปลี่ยนตน สถานที่ เช่นผมไปนร้านหนังสือคนเดียวเลยไปเจอหนังสือ Ken Mogi และหนังสืออื่นๆ กลายเป็นได้ idea ไปทำ workshop  หรือเปลี่ยนแวดวงไปเจอคนในแวดวงอื่นเช่นโค้ช หรือจิตตปัญญา เลยได้ idea ใหม่ๆ เพียบบางอันกลายเป็น Ikigai เช่นทฤษฎีตัวยู (Theory U)

Iyashi พื้นที่ปลอดภัยเช่นบ้าน อยู่กับคนที่รัก เลยเกิด idea ไปเรียนการฟัง เรียนโค้ช ปัจจุบันเปิดสอนโค้ชพ่อแม่การฟัง จิตวิทยาเชิงบวกสำหรับนักธุรกิจ (เพราะไปคลุกคลีกับคนเรียนสายเดียวกัน) 

นี่ครับ ต้องยกตัวอย่าง เรื่องของคุณให้เขาฟังด้วย แล้วพากันออกแบบกิจกรรม คนสอน ก็อาจทำร่วมกันไปด้วยจะอินมากขึ้น 

เมื่อจบแล้วควรสอนอย่างอื่นไปด้วยนั่นคือวัฒนธรรมญี่ปุ่น ที่ในมุมมองผมถ้าไม่พูด ผมว่าไม่มีทางเข้าใจ ในหนังสือ IKIGAI หลายๆ เล่มจะพูดถึงเรื่อง Ichigo Ichie, Wabi Sabi, Kodawari, Kaizen, Zen, Yarigai, Hatarakigai และ Taoism และอื่นๆ แต่ไม่ปรากฏในอิคิไก แต่ดูคล้ายคลึงกันได้แก่ Kinsugi, Omotenashi และ Omoiyari   ผมอ่านมาแล้วใช้ชุดคำถามที่ออกแบบมาถามคนในวงให้แชร์ออกมา จะทำให้เราสัมผัสเรื่องต่างๆที่พูดมาได้เอง เวลากลับไปอ่านค้นคว้าจะเข้าใจมากกว่าเดิม ที่สำคัญทำให้อินกับ IKIGAI มากขึ้น

เริ่มจากอิชิโกะ อิชิเอะที่ได้มาจากพิธีชงชา เน้นที่แนวคิดว่าการชงชาครั้งนี้อาจเป็นครั้งสุดท้าย คนที่อยู่ตรงหน้าพรุ่งนี้อาจจะไม่ได้เจอกันแล้ว ครั้งนี้จึงต้องดีที่สุดมีสติสุด ก็เน้นการเชิญชวนให้คนเรียนกับเราไปใช้ชีวิตแบบนี้กับคนรอบตัวแล้วกลับมาแชร์ความรู้สึกกัน ส่วนเวลาสอนนอกจากเล่าเรื่องที่มาที่ไปความสำมัญ ผมก็จะตั้งคำถามแบบนี้แล้วให้คนมาแชร์กัน จะสัมผัสถึง Ichigo Ichige ได้มากขึ้น 

 

 

 

ต่อมาควรเรียนเรื่อง Wabi Sabi ผมก็จะเล่าเรื่องนี้ว่ามันคือความไม่สมบูรณ์แล้วใช้คำถามเพื่อให้ทุกคนแชร์ ก็จะเห็นว่าความไม่สมบูรณ์แบบนี่ดีงาม หลายครั้งทำให้เกิด IKIGAI ขึ้นมาด้วย คำถามเป็นดังนี้

 

 

ต่อด้วย Kodawari นิสัยไม่ประนีประนอม ด้วยชุดคำถามดังนี้ 

 

ต่อมาเป็นเรื่อง Kaizen ควรศึกษา จะทำให้เราเห็นคุณค่าการปรับปรุงทีละนิด ใช้ชุดคำถามนี้

 

ต่อมาเป็นเรื่องพุทธศาสนานิกายเซ็น  ผมมักพาทำ workshop ง่าย แต่ตอนหลังก็เชิญชวนหายใจลึกเข้าออก ห้าคู่ สบายๆ 

 

มาเรื่อง Yarigai ตัวนี้ใช้สำหรับหาคุณค่าของสิ่งที่ทำอยู่เช่นถ้าคุณเบื่อทำบัญชีครัวเรือน คุณลองเขียนประโยชน์ของมันออกมา 10 อย่างคุณจะเห็นคุณค่าอะไรบางอย่างแล้วพลิกกลับมาชอบได้  ผมมักใช้ช่วยคนที่กำลังเบื่อทำสิ่งที่ไม่อยากทำมามาก 

 

Hatarakigai ผมใช้ให้คนที่กำลังเบื่ออยากลาออกลองตอบคำถามสิบข้อนี้ แล้วหลายครั้งคุณจะรักงานคุณมากกว่าเดิม และค้นพบ IKIGAI จากคำถามนี้ 

 

 

ลัทธิเต๋ามีการอ้างถึงว่ามีอิทธิพลต่อการเกิดขึ้นของอิคิไกได้ ผมเลยจัด workshop ง่ายๆ ด้วยคำถามนี้

 

ส่วนวัฒนธรรมญี่ปุ่นอื่นๆ ที่ถ้ามีเวลาผมจะพาให้รู้จักผ่านกระบวนการตั้งคำถามที่ผมออกแบบมา

Kintsugi นี่ก็ดีมากๆ เวลาคุยกันจะเห็นอะไรในชีวิต เกิดแรงบันดาลใจไปอีกแบบ

 

อีกอันหามาอ่านเลยครับหนังสือชื่อOmotenashi  อันนี้ไม่ได้แปลแต่เขียนขึ้นมาเลย เจ๋งมากๆ 

 

และที่ยังไม่แปล

ส่วนสุดท้ายการเปลี่ยน IKIGAI ไปอาชีพ เท่าที่ผมเจอในคนไทย  คนที่เปลี่ยนเป็นอาชีพได้จะทำสามเรื่อง อันนี้มาจากประสบการณ์ที่ผมติดตามมาหลายปี

  1. หาความรู้เพิ่ม (Knowledge) 
  2. หาคนที่เก่งกว่ามาช่วย หรือทำงานร่วมกัน (Connection)
  3. ให้มากกว่ารับ หรือพยายามสร้างประโยชน์    (Contribution)

สรุปเป็น Model ของผมเองดังนี้ครับ 

 

 

แล้วสุดท้ายมีตัว check อีกครับ ว่าอะไรเป็น Ikigai ก็ต้องดูจากนี้ครับ คืออะไรใช้ไม่ใช่กับผลของมัน

อะไรใช่ไม่ใช่ดูตรงนี้ครับ 

แล้วผลของชีวิตที่มี IKIGAI คือตัวนี้ครับ 

 

เอามาจาก Yukari ทั้งสองอัน 

 

นี่คือ update สุดทั้งกระบวนการสอนและ sequence ผมพัฒนาขึ้นมาเอง สงวนลิขสิทธิ์นะครับไม่เอาไปใช้เพื่อการค้าทั้งทางตรงทางอ้อม แต่ เอาไปใช้ในครอบครัว ในโรงเรียน การแพทย์ การกุศลได้ แต่ต้องไม่คิดตังค์เขาแพงนะครับ ช่วยๆกันครับ

และบทความนี้จะไม่สมบูรณ์ถ้าไม่ได้ความเห็น องค์ความรู้ดีๆ จากคนไทยที่อาศัยในอยู่ญี่ปุ่นและคนญี่ปุ่นเช่นคุณ Run แห่ง Page Repeat JAPAN   คุณอุ๊ และ Sensei ท่านหนึ่งเป็นเพื่อนคุณอุ๊แห่ง CH ที่เข้ามาให้ความเห็นดีๆ ตลอดมา ทำให้เชื่อมั่นในความรู้มากขึ้น และผู้ขึ้นมาให้ข้อมูล แชร์ประสบการณ์ด้วยนะครับ 

 

ด้วยรักและปราถนาดี 

ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์

IKIGAI School 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 693110เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2021 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2021 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณค่ะที่เผยแพร่โมเดลนี้ ขออ่านทำความเข้าใจก่อนค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท