คนเรามีเลขประชาชน 13 หลักมาตั้งแต่เมื่อไรและ เลขเหล่านั้นบอกให้รู้อะไร...


ตัวเลข 13 หลัก ในบัตรประชาชน เป็นการแสดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย” เป็นที่ อาศัย และใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อแสดง และยืนยันตัวตน เนื่องจากบนหน้าบัตรจะระบุทั้งชื่อ นามสกุล รวมถึงวัน เดือน ปีเกิด รูปภาพใบหน้า และที่อยู่ของเรา ที่สำคัญมี “หมายเลข 13 หลัก” ในการทำ ธุรกรรมกับธนาคาร หรือติดต่อราชการ เลขประจำตัวในบัตรประชาชนของคนไทย มีด้วยกัน 13 หลัก โดยแต่ละหลัก มีความหมายแตกต่างกันไป ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ในการกำหนดเลขประจำตัว แก่บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักร คนละหนึ่งเลขโดยไม่ซ้ำกัน และอาจยกเว้นแก่บุคคลบางจำพวก เช่นสมเด็จพระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า เป็นต้น

คนเรามีเลขประชาชน 13 หลักมาตั้งแต่เมื่อไรและลขเหล่านั้นบอกให้รู้อะไร...

 

คนเรามีเลขประชาชน 13 หลักมาตั้งแต่เมื่อไรและ

เลขเหล่านั้นบอกให้รู้อะไร...

ดร.ถวิล  อรัญเวศ

          ตัวเลข 13 หลัก ในบัตรประชาชน เป็นการแสดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย” เป็นที่

อาศัย และใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อแสดง และยืนยันตัวตน เนื่องจากบนหน้าบัตรจะระบุทั้งชื่อ

นามสกุล รวมถึงวัน เดือน ปีเกิด รูปภาพใบหน้า และที่อยู่ของเรา ที่สำคัญมี “หมายเลข 13 หลัก” ในการทำ

ธุรกรรมกับธนาคาร หรือติดต่อราชการ

 

เลขประชาชน 13 หลักบ่งบอกอะไร

           เลขประจำตัวในบัตรประชาชนของคนไทย มีด้วยกัน 13 หลัก โดยแต่ละหลัก มีความหมายแตกต่างกันไป ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ในการกำหนดเลขประจำตัว แก่บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักร คนละหนึ่งเลขโดยไม่ซ้ำกัน และอาจยกเว้นแก่บุคคลบางจำพวก เช่นสมเด็จพระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า เป็นต้น

           โดยเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 กรมการปกครอง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบทะเบียนราษฎร ประกาศกำหนดให้บุคคลภายในประเทศไทย ต้องมีเลขประจำตัวประชาชน ปรากฏในทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน และกำหนดให้ต้องดำเนินการจนเสร็จสิ้นทั้งหมด ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เนื่องจากก่อนหน้านี้ ประเทศไทยยังไม่เคยกำหนดเลขประจำตัวเช่นนี้มาก่อน

           ดังนั้นจึงกำหนดระยะเวลาดังกล่าว เพื่อจัดระบบทะเบียนราษฎรให้เทียบเท่านานาประเทศ โดยบุคคลภายในประเทศไทยทั้งหมด จะต้องมีเลขประจำตัวประชาชน เพื่อแสดงตนว่าเป็นบุคคลประเภทใด โดยดูตามเงื่อนไขในแต่ละกรณี

 

ประเภทที่ 1 (เลข 1)

             คือคนที่เกิดและมีสัญชาติไทยและได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มแรกที่กรมการปกครอง ประกาศให้ประชาชนทุกคนต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วัน นับแต่เกิดมาตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1 เช่น เด็กหญิงส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 และพ่อไปแจ้งเกิดที่เขตดุสิตภายในวันที่ 17 มกราคม 2527 เด็กหญิงส้มจี๊ด ก็จะมีหมายเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 1 และก็ต่อด้วยเลขหลักอื่น ๆ อีก 12 ตัว เป็น 1 1001 01245 29 9 เป็นต้น ซึ่งเลขนี้จะเป็นเลขประจำตัว ปรากฏในทะเบียนบ้าน และจะปรากฏบนบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อส้มจี๊ดไปทำบัตรประชาชนตอนอายุ 15 ปี

 

           ปัจจุบัน พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 10 พฤษภาคม 2554 กำหนดให้เด็กอายุครบ 7 ปี ต้องยื่นคำขอมีบัตรประชาชนครั้งแรก ภายใน 60 วัน จากเดิมคือต้องเป็นผู้มีอายุครบ 15 ปี ทั้งนี้ คำนำหน้าชื่อบนบัตรของเด็กอายุ 7-14 ปี ยังคงเป็น ด.ช. หรือ ด.ญ. ตามเดิม

 

ประเภทที่ 2 (เลข 2)

              คือคนที่เกิดและมีสัญชาติไทยได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป แล้วผู้ปกครองลืมหรือติดธุระไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลังเด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 มีตัวเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2 เช่น ในกรณีส้มจี๊ด หากพ่อไปแจ้งเกิดให้ ในวันที่ 18 มกราคม 2527 หรือเกินกว่านั้น ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวเป็น 2 1001 01245 29 9 ในทะเบียนบ้าน และเมื่อไปทำบัตรประชาชนในภายหน้า

 

ประเภทที่ 3 (เลข 3)

            คือคนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527) หมายความว่า บุคคลใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3 เช่น ส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้ว ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวในทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนเป็น 3 1001 01245 29 9

 

ประเภทที่ 4 (เลข 4)

           คือคนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว แต่แจ้งย้ายเข้าโดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัวก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่นก่อนช่วง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที

 

ประเภทที่ 5 (เลข 5)

           คือคนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่น ๆ เช่น คนที่ถือ 2 สัญชาติ

 

ประเภทที่ 6 (เลข 6)

             คือผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่ยังไม่ได้สัญชาติไทยเพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดนหรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภรรยาคนไทยจึงไปขอทำทะเบียนประวัติเพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภรรยา คนทั้งสองแบบที่ว่านี้ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6

 

ประเภทที่ 7 (เลข 7)

            คือบุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7

 

ประเภทที่ 8 (เลข 8)

               คือคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทยตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน

            คนทั้งแปดประเภทนี้จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้นที่จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 7 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 ที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ บุคคลประเภทที่ 8 ที่ได้รับสัญชาติไทยจะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้

 

ประเภทที่ 9 (เลข 9)

            หมายถึงบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร ไม่มีสัญชาติและยังไม่ได้รับการให้สัญชาติไทย[4][5][โปรดขยายความ] ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราว ตัวเลขหลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5

1 2345 67890 12 3

 

แสดงตัวเลขหลักที่ 2-5

หมายถึงรหัสของสำนักทะเบียนหรืออำเภอที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 เป็นเขตการปกครองของไทยโดยอ้างตามเขตรับผิดชอบของกรมการปกครองและตำรวจ ที่มีตั้งแต่ภาค 1-9 และ เลขหลักที่ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ในภาคนั้น ๆ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้น ๆ โดยที่เลขอำเภอจะเริ่มจากเลข 01ไล่ลงไป เช่นเลข 01 คืออำเภอเมือง และถ้าเป็นเขตเทศบาลจะเริ่มจากเลข 99 ย้อนลงมา

 

ตัวเลขหลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10

1 2345 67890 12 3

           แสดงตัวเลขหลักที่ 6-10 หมายถึงกลุ่มของบุคคลแต่ละประเภทตามหลักแรก ซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่งก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับหรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบันเลขดังกล่าวก็จะหมายถึงเล่มที่ของสูติบัตร (ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้) ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้ และจะปรากฏในบัตรประชาชนเมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเอง แต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น

 

ตัวเลขหลักที่ 11 ถึงหลักที่ 12

1 2345 67890 12 3

             แสดงตัวเลขหลักที่ 11-12 หมายถึงลำดับที่ของบุคคล

            ตัวเลขหลักที่ 13

           ตัวเลขหลักที่ 13 เป็นตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรกการคำนวณเลขหลักที่ 13 ของเลขประจำตัวประชาชน ใช้หลักการคำนวณเลขคณิตมอดุลาร์ จากเลข 12 หลักแรกให้เลขหลักแรกทางซ้ายคือ N1 หลักต่อไปคือ N2 ไปเรื่อย ๆ

 

N13 คือหลักที่ต้องการคำนวณ

                 แสดงตัวเลขหลักที่ 13

               จากสมการแสดงให้เห็นว่า x ได้จากการ 13×เลขหลักที่ 1 โดยตัวตั้งจะลดลงมาถึงเลข 2 และตัวคูณคือเลขประชาชนตั้งแต่หลักแรกถึงหลักที่ 12 ตามลำดับ จากนั้นนำผลคูณแต่ละหลักรวมกันแล้วนำไปหารด้วย 11 โดยผลลัพธ์จะได้ค่ามอดูลัส นั่นหมายถึงเศษของผลหารที่ได้จากการนำผลรวมจากการคูณแต่ละหลักหารด้วย 11 เช่น 200 หารด้วย 11 จะเหลือเศษคือ 2 นั่นคือผลของมอดูลัส x จะมีค่าเป็นจำนวนเต็มตั้งแต่ 0 ถึง 10 จากนั้นก็ทำตามเงื่อนไขโดยถ้าค่า x น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ให้ 1−x จะได้ผลของเลขหลักที่ 13 เช่น 1−1 = 0 ถ้าค่า x มากกว่า 1 ให้ 11−x จะได้ผลของเลขหลักที่ 13 เช่น 11−2 = 9 ตัวเลขหลักที่ 6 ถึงหลักที่ 13

1 2345 67890 12 3

              แสดงตัวเลขหลักที่ 6-13   เป็นการจัดหมวดหมู่และเรียงลำดับบุคคลในแต่ละประเภทของสำนักทะเบียนในแต่ละท้องที่ ระบบตัวเลขแต่ละหลักนี้ทำให้สามารถรองรับจำนวนประชากรได้อีกมากในระดับ 18

 

 

แหล่งที่มา

https://bit.ly/2ZLi4Xc

https://bit.ly/3bCRdzd

หมายเลขบันทึก: 693108เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2021 00:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2021 00:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากค่ะ ไม่เคยทราบที่มาที่ไปของเลข 13 หลัก เลยค่ะ มีความรู้เพิ่มขึ้นมากเลยค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท