ยศ บรรดาศักดิ์ขุนนางไทยสมัยโบราณ


สมเด็จเจ้าพระยา เทียบได้กับ- ประธานองคมนตรี , ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร. ฯลฯ เจ้าพระยา – เทียบได้กับ นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวง , ประธานรัฐสภา ,ประธานศาลฎีกา,ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้น ปฐมจุลจอมเกล้า ฯลฯ พระยา - เทียบได้กับข้าราชการระดับ ปลัดกระทรวง, ผู้บัญชาการเหล่าทัพ, ผู้ว่าราชการจังหวัด, เอกอัครราชทูต, อธิบดี ฯลฯ

ยศ บรรดาศักดิ์ขุนนางไทยสมัยโบราณ

 

ยศ บรรดาศักดิ์ขุนนางไทยสมัยโบราณ

ดร.ถวิล  อรัญเวศ

        บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยแบ่งออกได้เป็น 8 ระดับ คือ

เรียงจากสูงสุดไปหาต่ำสุด คือ

1.เจ้าพระยา

2. พระยา

3. พระ

4. หลวง

5. ขุน

6. หมื่น

7. พัน

8. นาย หรือ หมู่

 

หมายเหตุ

       สมเด็จเจ้าพระยา เป็นบรรดาศักดิ์พิเศษที่ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นในบางรัชกาล

                 แต่ละบรรดาศักดิ์ จะมี ศักดินา ประกอบกับบรรดาศักดิ์นั้นด้วย ระบบขุนนางไทย ถือว่า ศักดินา สำคัญกว่า บรรดาศักดิ์ เพราะศักดินา จะใช้เป็นตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล

     นอกจากนี้ มีคำว่า เสวก  อำมาตย์

          เสวก (อ่านว่า เส-วก) หมายถึง ข้าราชการในราชสำนัก เช่น คุณพ่อเขาเป็นเสวกโท. เมื่อคำนำว่า เสวก มาเข้าสมาสกับคำว่า อมาตย์ (อ่านว่า อะ-หฺมาด) มีการสนธิเสียงสระของคำหน้ากับคำหลัง เป็น เสวกามาตย์ (อ่านว่า เส-วะ-กา-มาด) หมายถึง เสวก และ อำมาตย์ คำว่า เสวก มาจากคำกริยาภาษาบาลีว่า เสว (อ่านว่า เส-วะ) แปลว่า เสพ คบหา

         มหาอำมาตย์  อำมาตย์  รองอำมาตย์  ราชบุรุษ  เป็นยศข้าราชการพลเรือน

มหาเสวก เสวก รองเสวก เป็นยศข้าราชการกระทรวงวัง

จางวาง  หัวหมื่น  รองหัวหมื่น  จ่า  หุ้มแพร  รองหุ้มแพร  มหาดเล็กวิเศษ  เป็นยศกรมมหาดเล็ก ซึ่งเป็นส่วนราชการอิสระเทียบเท่ากระทรวง

 

หากเทียบบรรดาศักดิ์ไทยในอดีต กับ ปัจจุบัน เทียบได้ดังนี้

 

สมเด็จเจ้าพระยา เทียบได้กับ- ประธานองคมนตรี , ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร. ฯลฯ

 

เจ้าพระยา – เทียบได้กับ นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวง , ประธานรัฐสภา ,ประธานศาลฎีกา,ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้น ปฐมจุลจอมเกล้า ฯลฯ

 

พระยา - เทียบได้กับข้าราชการระดับ ปลัดกระทรวง, ผู้บัญชาการเหล่าทัพ, ผู้ว่าราชการจังหวัด, เอกอัครราชทูต, อธิบดี ฯลฯ

 

 บรรดาศักดิ์ ยศ

      เจ้าพระยาสุพรรณบัฏ หรือหิรัญบัฏ  มีตำแหน่งเป็นเสนาบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ยศเป็นมหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก หรือ จางวางเอก

พระยาบางคนได้รับพระราชทานยศจางวางเอกเป็นพิเศษ เช่น พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ  ไกรฤกษ์)  พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น  พึ่งบุญ)  พระยาอุดมราชภักดี (โถ  สุจริตกุล)

 

เจ้าพระยา หิรัญบัตรหรือสัญญาบัตรที่มิได้เป็นเสนาบดี  เช่น เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (ม.ร.ว.มูล  ดารากร) อธิบดีกรมพระคลังข้างที่  พระยาตำแหน่งปลัดทูลฉลอง (ปลัดกระทรวง) หรืออธิบดีบางตำแหน่ง  ยศเป็นมหาอำมาตย์โท มหาเสวกโท จางวางโท   

 

พระยา  ตำแหน่งอธิบดี รองอธิบดี  ยศเป็นมหาอำมาตย์ตรี มหาเสวกตรี จางวางตรี   

 

พระยา เจ้ากรมชั้นหนึ่ง (ปัจจุบันเรียกผู้อำนวยการกอง) ยศเป็นอำมาตย์เอก เสวกเอก หัวหมื่น   

 

พระยา เจ้ากรมชั้นสอง  พระ  ยศเป็นอำมาตย์โท เสวกโท รองหัวหมื่น   

พระ  หลวง  ยศเป็นอำมาตย์ตรี เสวกตรี จ่า

หลวง  ขุน  ยศเป็นรองอำมาตย์เอก รองเสวกเอก หุ้มแพร

ขุน  ยศเป็นรองอำมาตย์โท รองเสวกโท รองหุ้มแพร

          ตัวอย่างการพระราชทานยศในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2477)

  

แหล่งข้อมูล

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/D/926_1.PDF

https://bit.ly/3jwUapu

https://pantip.com/topic/36278612

 


 

 

 


 

หมายเลขบันทึก: 692975เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2021 00:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ตุลาคม 2021 00:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท