จิตร ภูมิศักดิ์ และภาพลักษณ์ในบริบททางการเมือง ตอนที่ 10


จิตรในการเมืองไทยร่วมสมัย

หลังจากการรัฐประหารที่ล้มรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรในปี 2006 การเมืองไทยครั้งนั้นก่อให้เกิดการแตกแยกกันเป็น 2 สีระหว่างฟากต่อต้านทักษิณ หรือเสื้อเหลือง และสนับสนุนทักษิณ หรือเสื้อแดง เสื้อเหลืองจะประกอบไปด้วยชนชั้นกลางในเมือง นำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งพันธมิตรฯและประชาธิปัตย์มีจุดมุ่งหมายคือป้องกันกษัตริย์และประชาธิปไตยจากการเมืองในครอบครัวของทักษิณและการโกงกิน ในทางตรงกันข้าม เสื้อแดง นำโดยแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จกา หรือเป็นผู้แทนของทักษิณ เกิดขึ้นมาจากประชากรรากหญ้าที่มีรายได้น้อยที่มาจากภาคอีศาน ที่นิยามตนเองว่าเป็นชนชั้นล่างที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความยุติธรรมจากชนชั้นสูง การประท้วงโดยการแบ่งแยกเป็นสีนี้ไม่เพียงเป็นการแยกขาดทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังแยกขาดระหว่างชนชั้นกลางในเมืองกับชนชั้นรากหญ้าในชนบทที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยมานานแล้ว ดังเช่นที่คนอื่นๆชี้ให้เห็นว่าเป็น “วิกฤตของอัตลักษณ์”

ในฉากฉากนี้ ภาพลักษณ์ของจิตรในฐานะเป็นนักรบที่ยืนเคียงข้างคนด้อยโอกาสและคนชายขอบก็นำกลับมาใช้ใหม่อีก ทั้งคนเสื้อเหลืองและคนเสื้อแดง ในการประท้วงต่อต้านระบอบทักษิณในปี 2005 และ2006 นั้น เสื้อเหลืองมีคำขวัญอันหนึ่งว่า “ต่อสู้ (เผด็จการ) เพื่อพระราชา” ในขณะที่ปฏิเสธประชาธิปไตยที่ดำรงอยู่ตอนนั้น ในการสร้างความรักชาติแบบหวงแหน พวกเขาใช้เพลงหลายเพลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แสงดาวแห่งศรัทธา ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกร้องจากพรรคคอมมิวนิสต์ และนักเรียนฝ่ายซ้ายเมื่อตอนทศวรรษ 1970 มาก่อน พันธมิตรฯยังเปรียบเทียบ “ดาว” เพื่อหมายถึงราชา โดยไม่ได้ตระหนักรู้เลยว่าคนแต่งจริงๆแล้วต่อต้านราชาอย่างกลับกันเลยทีเดียว

โดยนัยยะเดียวกัน เมื่อ นปช หรือพวกเสื้อแดงประท้วงต่อต้านระบอบเผด็จการทหาร และรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่มีทหารหนุนหลังในปี 2006-10 ก็คล้ายๆกับพวกเสื้อเหลือง เพลงของจิตรได้รับการร้องท่ามกลางเพลงปฏิวัติทั้งหลาย ในฐานะที่เพลงนั้นเป็นเพลงปฏิวัติของประชาชน และเป็นผู้ต่อสู้ทางประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ ภาพลักษณ์ของจิตรที่ถูกใช้ในกรณีของนปช.คือ”คนธรรมดา (หรือทาส)ต่อต้านกับชนชั้นสูง” หรือคนธรรมดาที่ต้องการจะล้มชนชั้นสูง ภาพ, โปสเตอร์, และหนังสือของจิตรรวมกับชนชั้นซ้ายอื่น ๆ เช่น นายผี และปรีดี พนมยงค์จะถูกขายในที่ประท้วง ซึ่งฉากนี้ใกล้เคียงกับยุคสมัยการเกิดขึ้นของการเรียกร้องประชาธิปไตย 14 ตุลาคมเลยทีเดียว ดังนั้นเมื่อรวมกับสุนทรพจน์จากผู้นำคนสำคัญ และวิธีการอื่นๆ นปช.จึงสามารถระดมคนได้มากกว่า 10,000 คนในแต่ละครั้งที่มีการประท้วง ไม่ใช่เพียงคนธรรมดาชาวชนบทเท่านั้น แต่ยังคนชั้นกลางในเมืองก็มีส่วนร่วมในการประท้วงนี้ด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น หลังจากการเกิดขึ้นของระบอบประยุทธ์ ซึ่งได้ขับไล่นายกฯยิ่งลักษณ์ในพฤษภาคม ปี 2014 มีกลุ่มที่ต่อต้านการรัฐประหารถูกจับด้วยข้อหาแตกต่างกันออกไป รวมทั้งดูถูกกษัตริย์ด้วย ในหมู่พวกต่อต้านการรัฐประหาร ประชาธิปไตยใหม่เดินเรียงหน้าไปที่สถานีตำรวจต้องการที่จะให้ปล่อยผู้หญิงที่โดนข้อหาหมิ่นกษัตริย์ และจับเข้าคุกพร้อม ๆ กับผู้สงสัยคนอื่น ๆ ลูกชายของหล่อน ที่เคยเป็นตำรวจ และผู้สนับสนุนคนอื่น ๆ ต่างจุดเทียน และร้องเพลงแสงดาวแห่งศรัทธา ภายใต้สถนการณ์เช่นนี้ เราต้องยอมรับความจริงที่ว่า ไม่ว่าจุดประสงค์ของจิตรจะเป็นเช่นใด เพลงของเขากลับกลายเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่ไม่เห็นด้วย และต้องการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมต่อต้านกับอำนาจที่ฉ้อฉล และตัวของเขาเองกลับกลายเป็นตัวหมายที่ล่องลอย (free-floating signifier) กับผู้เห็นต่างทางการเมืองที่มีอย่างหลาย

จาก Piyada Chonlaworn. Jit Phummisak and His Image in Thai Political Contexts.

หมายเลขบันทึก: 692973เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2021 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ตุลาคม 2021 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท