เรียนวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ในชั้นเด็กเล็กถึงประถมศึกษา


อาจารย์และผู้บริหารของสถาบันผลิตครูไทยควรอ่าน และหาทางนำไปใช้ในการผลิตครูปฐมวัย  เพื่อให้ครูปฐมวัยรู้วิธีจัดการเรียนให้เด็กได้ฝึกหาความหมายของธรรมชาติรอบตัว  โดยเรียนบูรณาการกับสาระด้านอื่นๆ  บูรณาการกับสมรรถนะอื่นๆ 

เรียนวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ในชั้นเด็กเล็กถึงประถมศึกษา

นี่คือคำแนะนำของ National Academies ของสหรัฐอเมริกา ในหนังสือ Science and Engineering through Preschool and Elementary Grades : The Brilliance of Children and the Strengths of Educators     ที่เข้าไปอ่านหรือดาวโหลดได้ฟรี     

อ่านชื่อหนังสือแล้วตกใจนะครับ    สมัยผมเรียนหนังสือ วิศวกรรมศาสตร์เรียนกันในระดับมหาวิทยาลัย    หกสิบปีให้หลัง เขาแนะนำให้เด็กก่อนอนุบาลเรียน   

เป้าหมายคือ เพื่อกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น หรือความสงสัยใคร่รู้ (curiosity) ให้งอกงาม     หากไม่กระตุ้นตอนอายุน้อยๆ   เมื่อโตขึ้นหน้าต่างแห่งโอกาสปิดเสียแล้ว     ชีวิตมนุษย์เป็นอย่างนี้นะครับ    เรามีเส้นทางชีวิตที่หน้าต่างแห่งโอกาสเปิดเป็นช่วงๆ    เมื่อเวลาผ่านไป หน้าต่างบางโอกาสก็ปิด    ถ้าไม่เปิดไว้ตอนอายุน้อยๆ    ก็ย้อนเวลากลับไปเปิดไม่ได้     

คนแก่อายุใกล้ ๘๐ อย่างผม    หน้าต่างแห่งโอกาส ไม่ว่าหน้าต่างไหน ปิดแล้วเกือบทั้งหมด    ผมโชคดีที่ได้เปิดอ้าซ่าไว้ตอนเป็นเด็ก โดยไม่รู้ตัว    จึงได้กินบุญเก่ามาจนแก่   และอยากให้คนรุ่นหลังได้เปิดหน้าต่างแห่งโอกาสของตนบ้าง     

รายงานนี้เน้นความเสมอภาค    ซึ่งหมายความว่า สำหรับเด็กด้อยโอกาส เขามักพลาดโอกาสเปิดหน้าต่างบ่อยกว่าเด็กทั่วไป    และหากวงการศึกษาเน้นให้เด็กโตเท่านั้นเรียนวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์     เด็กด้อยโอกาสจะพลาดโอกาสพัฒนาศักยภาพด้านความสงสัยใคร่รู้ และด้านการหาความหมายจากธรรมชาติรอบตัว    ระบบการศึกษาที่ไม่เน้นให้เด็กเล็กเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์    เท่ากับสร้างความเหลื่อมล้ำโดยไม่รู้ตัว     

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษานี่มันล้ำลึกมากนะครับ

หนังสือให้ข้อเสนอแนะต่อฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ   น่าอ่านมาก    ผมขอเสนอว่า อาจารย์และผู้บริหารของสถาบันผลิตครูไทยควรอ่าน และหาทางนำไปใช้ในการผลิตครูปฐมวัย    เพื่อให้ครูปฐมวัยรู้วิธีจัดการเรียนให้เด็กได้ฝึกหาความหมายของธรรมชาติรอบตัว     โดยเรียนบูรณาการกับสาระด้านอื่นๆ    บูรณาการกับสมรรถนะอื่นๆ   

วิจารณ์ พานิช

๑๓ ต.ค. ๖๔ วันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลมหาราช        

หมายเลขบันทึก: 692954เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2021 05:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ตุลาคม 2021 05:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท