ประเทศที่ยังไม่มีข้อมูลผู้ติดเชื้อโควิด19 รายแรกอย่างเป็นทางการ


การแพร่ระบาดผ่านมานานเกือบ 1 ปี 10 เดือนแล้ว ยอดผู้เสียชีวิตสูงกว่า 4.9 ล้านราย อัตราเสียชีวิตอยู่ที่ราว 2.1% รักษาหายแล้วราว 90% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด ขณะนี้มีประเทศที่พบผู้ติดเชื้อแล้ว 188 จาก 193 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่ยังไม่พบผู้ติดเชื้อรายแรกอย่างเป็นทางการได้แก่ เกาหลีเหนือ เติร์กเมนิสถาน ตองกา ตูวาลู และนาอูรู มีเพียง 5 ประเทศ เท่านั้น คือ เกาหลีเหนือ เติร์กเมนิสถาน ตองงา ตูวาลู และนาอูรู บางประเทศ แม้มีประชากรน้อยมาก แต่ก็เป็นประเทศได้ และสหประชาชาติให้การยอมรับ

ประเทศที่ยังไม่มีข้อมูลผู้ติดเชื้อโควิด19 รายแรกอย่างเป็นทางการ

 

ประเทศที่ยังไม่มีข้อมูลผู้ติดเชื้อโควิด19 รายแรกอย่างเป็นทางการ

ดร. ถวิล   อรัญเวศ

                       ปัจจุบันโรคโควิด19 มี ยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตด้วยโควิด19 ทั่วโลก ณ วันที่ 20 ต.ค.64 ยอดผู้ติดโควิด-19 สะสมพุ่งสูงกว่า 241 ล้านรายทั่วโลก หลัง

          การแพร่ระบาดผ่านมานานเกือบ 1 ปี 10 เดือนแล้ว ยอดผู้เสียชีวิตสูงกว่า 4.9 ล้านราย อัตราเสียชีวิตอยู่ที่ราว 2.1% รักษาหายแล้วราว 90% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด ขณะนี้มีประเทศที่พบผู้ติดเชื้อแล้ว 188 จาก 193 ประเทศทั่วโลก

         โดยประเทศที่ยังไม่พบผู้ติดเชื้อรายแรกอย่างเป็นทางการได้แก่ เกาหลีเหนือ เติร์กเมนิสถาน ตองกา ตูวาลู และนาอูรู

     มีเพียง 5 ประเทศ เท่านั้น คือ เกาหลีเหนือ เติร์กเมนิสถาน

ตองงา ตูวาลู และนาอูรู

    บางประเทศ แม้มีประชากรน้อยมาก แต่ก็เป็นประเทศได้

และสหประชาชาติให้การยอมรับ ดังข้อมูลต่อไปนี้

 

เกาหลีเหนือ

การปกครอง    รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐพรรคเดียวตามแบบชูเช ในระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จแบบเผด็จการครอบครัว

https://bit.ly/3B2Gp7T

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (อังกฤษ: Democratic People's Republic of Korea: DPRK; เกาหลี: 조선민주주의인민공화국; ฮันจา: 朝鮮民主主義人民共和國) หรือชื่อโดยทั่วไปว่า เกาหลีเหนือ (อังกฤษ: North Korea; เกาหลี: 북한; ฮันจา: 北韓) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก กินพื้นที่ครึ่งเหนือของคาบสมุทรเกาหลี เมืองหลวงและนครใหญ่สุดคือ เปียงยาง เขตปลอดทหารเกาหลีเป็นเขตกันชนระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ แม่น้ำอัมนกหรือยาลู่ และตูเมนเป็นพรมแดนระหว่างประเทศจีนกับเกาหลีเหนือ แม่น้ำตูเมนส่วนที่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพรมแดนกับประเทศรัสเซีย

            คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิเกาหลีปกครองเรื่อยมากระทั่งถูกผนวกเข้ากับญี่ปุ่น​หลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ค.ศ. 1905 และถูกแบ่งเป็นเขตยึดครองโซเวียตและสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ

           เกาหลีเหนือปฏิเสธจะเข้าร่วมการเลือกตั้งที่สหประชาชาติอำนวยการ ซึ่งจัดที่กรุงโซลใน ค.ศ. 1948 และนำไปสู่การสถาปนารัฐบาลเกาหลีแยกในเขตยึดครองทั้งสอง ทั้งเกาหลีเหนือและใต้ต่างอ้างอธิปไตยเหนือคาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด และนำไปสู่สงครามเกาหลีใน ค.ศ. 1950 ก่อนจะทำความตกลงสงบศึกชั่วคราวใน ค.ศ. 1953 แต่ทั้งสองยังถือว่าอยู่ในภาวะสงครามต่อกันและกันอย่างเป็นทางการ เนื่องจากยังไม่มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพแต่อย่างใด ทั้งสองรัฐได้รับการยอมรับเข้าสู่สหประชาชาติใน ค.ศ. 1991

            เกาหลีเหนือเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวภายใต้สหแนวร่วมนำโดยพรรคแรงงานเกาหลี รัฐบาลของประเทศเจริญตามอุดมการณ์จูเช (Juche) ว่าด้วยการพึ่งพาตนเอง พัฒนาโดยประธานาธิบดีของประเทศ คิม อิล-ซ็อง หลังเขาถึงแก่อสัญกรรม คิม อิล-ซ็องถูกประกาศให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาลของประเทศ จูเชจึงกลายมาเป็นอุดมการณ์ของรัฐอย่างเป็นทางการ เมื่อประเทศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใน ค.ศ. 1972

         แม้คิม อิล-ซ็องจะใช้ร่างเป็นนโยบายอย่างน้อยตั้งแต่ ค.ศ. 1955 หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้ง ได้เกิดทุพภิกขภัยขึ้นในประเทศ เป็นเหตุให้มีประชาชนเสียชีวิตถึงระหว่าง 9 แสนถึง 2 ล้านคน โดยเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้ ผู้นำ คิม จ็อง-อิลประกาศใช้นโยบายซอนกุน (Songun) หรือ "ทหารมาก่อน" เพื่อเสริมสร้างประเทศและรัฐบาล[26]

                องค์การต่างชาติหลายแห่งอธิบายเกาหลีเหนือว่าเป็นเผด็จการลัทธิสตาลินแบบเบ็ดเสร็จ โดยมีลัทธิบูชาบุคคลประณีตรอบครอบครัวคิมและเป็นประเทศที่มีบันทึกสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของพลเมืองต่ำที่สุดในโลก รัฐบาลเกาหลีเหนือปฏิเสธความเชื่อมโยงนี้  

           เกาหลีเหนือเป็นชาติติดอาวุธมากที่สุดของโลก โดยมีบุคลากรทางทหารและกึ่งทหารสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก มีบุคลากรประจำการ กองหนุน และกำลังกึ่งทหารรวม 7.769 ล้านคน หรือประมาณ 30% ของประชากรทั้งหมด กองทัพประจำการซึ่งมีทหาร 1.28 ล้านนายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ประกอบด้วย 5% ของประชากรทั้งหมด ทั้งเป็นรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองและมีโครงการอวกาศที่ยังดำเนินอยู่ การละเมิดสิทธิมนุษยชนในเกาหลีได้รับการไต่สวนโดยสหประชาชาติ และการวิจารณ์จากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลรวมถึงฮิวแมนไรท์วอทช์

          นอกเหนือจากการเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติมาตั้งแต่ ค.ศ. 1991 เกาหลีเหนือยังเป็นสมาชิกของขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด กลุ่ม 77 และการประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน

          ปัญหาหลักของเกาหลีเหนือในปัจจุบันคือ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ระบบการสื่อสารและคมนาคมขนส่งที่ด้อยประสิทธิภาพ ความยากจน และการขาดแคลนอาหาร โดยในช่วงปี ค.ศ. 1994-98 มีประชาชนเสียชีวิตจากความอดอยากประมาณ 240,000-420,000 คน

 เติร์กเมนิสถาน

https://bit.ly/3jjzwJg

            เติร์กเมนิสถาน (อังกฤษ: Turkmenistan; เติร์กเมน: Türkmenistan, ออกเสียง [tʏɾkmønʏˈθːɑːn]) เป็นประเทศในเอเชียกลาง มีพรมแดนติดกับคาซัคสถาน อุซเบกิสถาน ประเทศอัฟกานิสถาน อิหร่าน และมีชายฝั่งบนทะเลแคสเปียน โดยมีอาชกาบัตเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ มีประชากรในประเทศประมาณ 6 ล้านคน ซึ่งถือว่าน้อยที่สุดในเอเชียกลาง และมีประชากรเบาบางมากที่สุดในเอเชีย พลเมืองในเติร์กเมนิสถานมีชื่อเรียกว่าชาวเติร์กเมนิสถาน เติร์กเมเนีย หรือเติร์กเมน

            เติร์กเมนิสถานเป็นทางแยกของอารยธรรมมานานนับศตวรรษ โดยเมิร์ฟเป็นหนึ่งในเมืองโอเอซิสที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียกลาง และเคยเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในยุคกลาง เมิร์ฟถือเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ของโลกอิสลามและเป็นจุดหยุดสำคัญบนเส้นทางสายไหม ต่อมาถูกผนวกโดยจักรวรรดิรัสเซียใน ค.ศ. 1881 ซึ่งมีขบวนการต่อต้านบอลเชวิคในเอเชียกลาง ใน ค.ศ. 1925 เติร์กเมนิสถานกลายเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต แล้วเป็นเอกราชหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991

              เติร์เมนิสถานมีก๊าซธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก โดยส่วนใหญ่อยู่ที่ทะเลทรายการากุมหรือทะเลทรายดำ จาก ค.ศ. 1993 ถึง 2017 พลเมืองในประเทศได้รับไฟฟ้า น้ำ และก๊าซธรรมชาติจากรัฐบาลโดยไม่คิดเงิน

              ประเทศนี้ได้รับเสียงวิจารณ์อย่างมากจากสิทธิมนุษยชนที่ย่ำแย่ โดยปัญหาส่วนใหญ่คือการดูแลชนกลุ่มน้อย, เสรีภาพสื่อ และเสรีภาพทางศาสนา หลังเป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 รัฐเอกราชเติร์กเมนิสถานถูกปกครองโดยผู้ปกคอรงเผด็จการสองคน ได้แก่ประธานาธิบดีตลอดชีพซาปาร์มือรัต นือยาซอว์ (มีอีกชื่อว่า ทืร์กเมนบาชือ หรือ "หัวหน้าของชาวเติร์กเมนทั้งปวง") จนกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 2006 กูร์บันกูลือ เบร์ดือมูฮาเมดอว์กลายเป็นประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2007 หลังชนะการเลือกตั้งที่ไม่เป็นประชาธิปไตย (เขาเคยดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีและรักษาการประธานาธิบดี) การใช้บทลงโทษด้วยการประหารชีวิตถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2008

 ตองงา

https://bit.ly/3GgOn1d

          ตองงา (อังกฤษและตองงา: Tonga) มีชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรตองงา (อังกฤษ: Kingdom of Tonga; ตองงา: Puleʻanga Fakatuʻi ʻo Tonga ปูเลอางา ฟากาตูอีโอโตงา) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคพอลินีเชีย ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างประเทศนิวซีแลนด์กับรัฐฮาวายของสหรัฐ โดยทะเลอาณาเขตทางตะวันตกติดกับประเทศฟีจี ส่วนทางตะวันออกติดกับหมู่เกาะคุก นีวเว และอเมริกันซามัว ในขณะที่ทางทิศเหนือติดกับหมู่เกาะวาลิสและฟูตูนา ประเทศซามัว และอเมริกันซามัว ชื่อประเทศในภาษาตองงาแปลว่าทิศใต้ นอกจากนี้ประเทศนี้ได้รับฉายาว่า หมู่เกาะมิตรภาพ จากกัปตันเจมส์ คุก

             ประเทศตองงาเป็นประเทศขนาดเล็กมีเนื้อที่เพียง 747 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 189 ของโลก หมู่เกาะตองงาประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ประมาณ 169 เกาะ โดยมีเพียง 36 เกาะเท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย

           เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะโตงาตาปู ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองคือนูกูอาโลฟา เกาะส่วนใหญ่ของตองงาเป็นเกาะที่เกิดจากการทับถมของปะการัง

            ประชากรของตองงามีทั้งสิ้น 103,036 คน นับเป็นอันดับที่ 193 ของโลก

             สันนิษฐานว่ามนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในตองงาครั้งแรกเมื่อ 826 ± 8 ปีก่อนคริสตกาล

          ตองงาเริ่มก่อตั้งอาณาจักรเป็นของตนเองใน ค.ศ. 950 ชื่อว่าจักรวรรดิตูอีโตงา ซึ่งปกครองโดยราชวงศ์ตูอีโตงา ตูอิฮาอะตากาลาอัว และตูอิกาโนกูโปลู ต่อมาได้เกิดสงครามกลางเมือง ในท้ายที่สุดตูอิกาโนกูโปลูเตาฟาอาเฮาได้รับชัยชนะจึงรวบรวมดินแดนทั้งหมดก่อตั้ง อาณาจักรพอลินีเชีย

           ตองงาเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่สามารถปกป้องตนเองจากการตกเป็นดินแดนอาณานิคมของชาติตะวันตก ใน ค.ศ. 2010 ประเทศตองงาจัดการเลือกตั้งทั่วไป การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่สมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน

 ตูวาลู

https://bit.ly/3vzj903

https://bit.ly/3DXOsES

               ตูวาลู (ตูวาลูและอังกฤษ: Tuvalu) หรือเดิมเป็นที่รู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะเอลลิซ (อังกฤษ: Ellice Islands) เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ชื่อประเทศแปลว่า "แปดยืนยง" (Eight Standing Together) ในภาษาตูวาลู นอกจากนครรัฐวาติกันแล้ว

ตูวาลูเป็นประเทศอิสระที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก

            เนื่องจากมีความสูงต่ำ (สูงสุดคือ 5 เมตร) เกาะที่ประกอบเป็นประเทศนี้ อาจจะเกิดปัญหาถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า ประชากรอาจจะอพยพไปที่ประเทศนิวซีแลนด์หรือเกาะนีอูเอซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่เป็นปกครองตนเองแต่ขึ้นกับนิวซีแลนด์ที่ไม่มีปัญหาจากการเพิ่มของระดับน้ำทะเล แต่มีประชากรน้อยลง

          เนื่องจากมีความสูงต่ำ (สูงสุดคือ 5 เมตร) เกาะที่ประกอบเป็นประเทศนี้ อาจจะเกิดปัญหาถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า ประชากรอาจจะอพยพไปที่ประเทศนิวซีแลนด์หรือเกาะนีอูเอซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ที่เป็นปกครองตนเองแต่ขึ้นกับนิวซีแลนด์ที่ไม่มีปัญหาจากการเพิ่มของระดับน้ำทะเล แต่มีประชากรน้อยลง

          ตูวาลูอยู่ในเขตลมค้า แต่บนขอบของตะวันตกภาคใต้เขต doldrum แปซิฟิกแถบเส้นศูนย์สูตร แลกเปลี่ยนเป็นลมจากไตรมาสตะวันออกและเกิดขึ้นบ่อยระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ในปีที่สุดจากธันวาคม-มีนาคม, ลมระหว่างทิศตะวันตกและทิศเหนือจะเท่ากับหรือเกิน easterlies ในความถี่

 

การเมือง

              ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขรวมกับประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Constitutional Monarchy with a parliamentary Democracy) ระบบสภาเดี่ยวเรียกว่า House of Assembly ประกอบด้วยสมาชิก 15 คน มาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 4 ปี มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากรัฐสภาเป็นหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐบาลมีจำนวนไม่เกิน 5 คน แต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ จากคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี

เศรษฐกิจ

            สหประชาชาติจัดให้ตูวาลูอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด เนื่องจากประเทศมีขนาดเล็ก ทรัพยากรธรรมชาติไม่อุดมสมบูรณ์ และมีข้อจำกัดในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ตูวาลูยังประสบปัญหาภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมงเพื่อการยังชีพ และสองในสามของการ จ้างงานในประเทศคือการจ้างงานของภาครัฐ รายได้หลักของประเทศมาจากการให้สัมปทานทำประมง เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากสหราชอาณาจักร ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย และรายได้จากแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ นอกจากนี้ ตูวาลูยังมีรายได้จากกองทุนตูวาลู และการให้เช่าอินเทอร์เน็ตโดเมนเนม .tv

 

 นาอูรู

https://bit.ly/3lXJIc8

            นาอูรู (อังกฤษ: Nauru, ออกเสียง: /nɑːˈu:ruː/; นาอูรู: Naoero)[3] หรือชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐนาอูรู (อังกฤษ: Republic of Nauru; นาอูรู: Ripublik Naoero) เป็นประเทศเกาะและจุลรัฐในภูมิภาคไมโครนีเซีย ทวีปโอเชียเนีย ตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก เกาะบานาบาของประเทศคิริบาสเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้เคียงที่สุด โดยอยู่ห่างกัน 300 กิโลเมตร ไปทางตะวันออก นาอูรูตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตูวาลู ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่เกาะโซโลมอน โดยอยู่ห่างกัน 1,300 กิโลเมตร[4] ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปาปัวนิวกินี ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสหพันธรัฐไมโครนีเซียและทิศใต้ของหมู่เกาะมาร์แชลล์ ด้วยพื้นที่เพียง 21 ตารางกิโลเมตร ทำให้นาอูรูเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากประเทศโมนาโกและนครรัฐวาติกันและเป็นสาธารณรัฐที่มีขนาดเล็กที่สุด มากไปกว่านั้นด้วยจำนวนประชากรเพียง 10,670 คน จึงทำให้ประเทศนาอูรูเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากนครรัฐวาติกัน

          ชาวไมโครนีเซียและพอลินีเซียเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ปลายศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิเยอรมนีได้ผนวกดินแดนนาอูรูเป็นอาณานิคม หลังสงครามโลกครั้งที่ 1สิ้นสุด นาอูรูกลายเป็นดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติโดยมีออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักรเป็นผู้จัดการปกครอง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังของจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองนาอูรู ในการรุกคืบของฝ่ายสัมพันธมิตรในแปซิฟิก ได้ข้ามการยึดครองนาอูรู ตามยุทธวิธีกบกระโดด หลังจบสงคราม นาอูรูกลายเป็นดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ และได้รับเอกราชในปี 1968 ต่อมาได้เข้าร่วมประชาคมแปซิฟิกในปี 1969

        นาอูรูเป็นเกาะหินฟอสเฟตที่มี่ปริมาณเก็บไว้เป็นจำนวนมากใกล้ผิวดิน ซึ่งช่วยให้ง่ายต่อการทำเหมืองผิวดิน ส่วนทรัพยากรฟอสเฟตที่เหลือไม่คุ้มค่าในการสกัด[5] เมื่อปริมาณสำรองฟอสเฟตหมดลง ประกอบกับความเสียหายอย่างรุนแรงของระบบนิเวศจากการทำเหมือง ทรัสต์ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดการความมั่งคั่งของเกาะมีมูลค่าลดน้อยลง

           นาอูรูจึงกลายเป็นที่หลบภาษี (tax haven) และศูนย์กลางของการฟอกเงินในช่วงสั้น ๆ เพื่อหารายได้

          จากปี 2001 ถึง 2008 และอีกครั้งตั้งแต่ปี 2012 รัฐบาลนาอูรูได้อนุญาตให้ออสเตรเลียตั้งศูนย์ประมวลผลภูมิภาคนาอูรู (Nauru Regional Processing Centre) ซึ่งเป็นสถานกักกันคนเข้าเมืองนอกชายฝั่ง แลกกับเงินช่วยเหลือ ด้วยการพึ่งพาออสเตรเลียเป็นอย่างมาก แหล่งข้อมูลบางแห่งระบุว่านาอูรูเป็นรัฐบริวารของออสเตรเลีย

           นาอูรูในฐานะรัฐเอกราชเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ

กรอบการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก เครือจักรภพแห่งชาติและองค์การรัฐแอฟริกา แคริบเบียนและแปซิฟิก

            ชาวไมโครนีเซียและชาวพอลินีเซียเป็นกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นในนาอูรูอย่างน้อย 3,000 ปีที่แล้ว ตามธรรมเนียมแล้ว สามารถแบ่งผู้คนในนาอูรูได้เป็น 12 เผ่า ซึ่งแทนด้วยดาว 12 แฉกที่ปรากฏบนธงชาตินาอูรู ประเพณีเดิมของชาวนาอูรูจะสืบตระกูลผ่านทางมารดา ชาวนาอูรูมีความชำนาญในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ: พวกเขาจะจับปลาอีบีจา นำปลาเหล่านั้นมาปรับตัวให้ชินกับสภาพแวดล้อมน้ำจืด และเลี้ยงดูปลาเหล่านี้ในลากูนบัวดา เพื่อเป็นแหล่งอาหารที่วางใจได้ นอกจากนี้มีพืชท้องถิ่นอื่นที่เป็นส่วนประกอบอาหารของพวกเขา เช่น มะพร้าวและเตยทะเล เป็นต้น[12][13] ชื่อ "นาอูรู" อาจมีที่มาจากศัพท์คำว่า Anáoero ในภาษานาอูรู อันมีความหมายว่าฉันไปชายหาด

            จอห์น เฟิร์น นักล่าวาฬชาวอังกฤษเป็นชาวยุโรปคนแรกที่เดินทางมาถึงเกาะนาอูรูในปี ค.ศ. 1798 โดยเขาได้ตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ว่า

"เกาะพลีแซนต์" (Pleasant Island) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1830 เป็นต้นมา

           ชาวนาอูรูได้ติดต่อกับเรือล่าวาฬของชาวตะวันตก ซึ่งเรือล่าวาฬเหล่านี้จะแสวงหาน้ำจืดจากนาอูรูเพื่อเก็บไว้ใช้ในเรือ ในช่วงระหว่างนี้กะลาสีเรือที่เลิกทำงานให้กับเรือล่าวาฬเริ่มเข้ามาอยู่อาศัยในนาอูรู ชาวเกาะได้เริ่มการแลกเปลี่ยนค้าขายกับชาวตะวันตกมากยิ่งขึ้น โดยชาวเกาะจะนำอาหารไปแลกเปลี่ยนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอาวุธสงคราม[15] อาวุธสงครามที่ได้มาจากชาวตะวันตกเหล่านี้ได้มีการนำมาใช้ในสงครามระหว่างชนเผ่าของนาอูรูในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1878 - 1888

            ในปี ค.ศ. 1888 เยอรมนีได้ผนวกเกาะนาอูรูเข้าเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะมาร์แชลล์ในอารักขา การเข้ามาของเยอรมนีในครั้งนี้ช่วยให้สงครามกลางเมืองระหว่างชนเผ่าต่าง ๆ สิ้นสุดลง นอกจากนี้ยังมีการตั้งตำแหน่งพระมหากษัตริย์ในการปกครองเกาะแห่งนี้ โดยพระมหากษัตริย์ของนาอูรูที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือพระเจ้าโอเวอีดา คณะมิชชันนารีสอนศาสนาเริ่มเข้ามาในปี ค.ศ. 1888 โดยเป็นกลุ่มมิชชันนารีที่เดินทางมาจากหมู่เกาะกิลเบิร์ต[18][19] ชาวเยอรมันที่เข้ามาอาศัยในนาอูรูจะเรียกนาอูรูว่า Nawodo หรือ Onawero จักรวรรดิเยอรมันเข้าปกครองนาอูรูอยู่ราว ๆ 3 ทศวรรษ โดยโรแบร์ต รัสช์ พ่อค้าชาวเยอรมันที่แต่งงานกับผู้หญิงชาวนาอูรูเป็นผู้บริหารของนาอูรูคนแรกในปี ค.ศ. 1890

             ในปี ค.ศ. 1900 อัลเบิร์ต ฟูลเลอร์ เอลลิส นักสำรวจแร่ได้ค้นพบแหล่งแร่ฟอสเฟตในนาอูรู จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1906 บริษัทแปซิฟิกฟอสเฟตได้ทำข้อตกลงกับรัฐบาลของเยอรมนีในการเริ่มต้นทำกิจกรรมเหมืองแร่ฟอสเฟต โดยเริ่มการส่งออกฟอสเฟตไปขายยังต่างประเทศในปี ค.ศ. 1907

            เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1914 กองทัพออสเตรเลียได้ส่งกองกำลังเข้ายึดครองนาอูรู จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1919 ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักรได้ลงนามในข้อตกลงนาอูรู ซึ่งมีผลให้เกิดการสถาปนาคณะกรรมาธิการฟอสเฟตของอังกฤษ (British Phosphate Commission - BPC) โดยคณะกรรมาธิการนี้มีสิทธิ์ในการประกอบกิจการเหมืองฟอสเฟตในนาอูรู

            ในปี ค.ศ. 1920 เกิดการระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่งผลให้ชาวนาอูรูร้อยละ 18 ล้มตายจากการระบาดในครั้งนี้

          หลังจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 3 ปี สันนิบาตชาติได้ให้อำนาจออสเตรเลีย สหราชอาณาจักรและนิวซีแลนด์เป็นผู้ดูแลนาอูรูในฐานะดินแดนในอาณัติ ในวันที่ 6 และ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1940 เรือเยอรมันสองลำได้จมเรือของฝ่ายสัมพันธมิตร 5 ลำบริเวณใกล้กับนาอูรู นอกจากการจมเรือแล้ว เรือเยอรมันทั้งสองลำได้สร้างความเสียหายให้กับบริเวณเหมืองแร่และสายพานลำเลียงฟอสเฟตอีกด้วย

 การยอมแพ้ของจักรวรรดิญี่ปุ่นบนเรือรบเดียมันตินา

             จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ส่งกองกำลังเข้ายึดครองนาอูรู ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1942 หลังจากนั้นได้เกณฑ์แรงงานชาวญี่ปุ่น ชาวเกาหลี ชาวนาอูรูและชาวกิลเบิร์ตให้สร้างสนามบิน โดยในระยะเวลาต่อมา กองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดสนามบินนี้ครั้งแรกในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1943 เพื่อตัดการสนับสนุนเสบียงอาหารที่จะส่งไปยังนาอูรู การที่เสบียงอาหารมีน้อยลงเป็นผลให้กองทัพญี่ปุ่นต้องนำชาวนาอูรู 1,200 คนออกจากเกาะโดยส่งไปอยู่ที่เกาะชุกในหมู่เกาะแคโรไลน์

             การที่นาอูรูโดนกองกำลังอเมริกาปิดล้อมมาอย่างยาวนาน นำไปสู่การยอมจำนนของผู้นำกองกำลังญี่ปุ่นบนเกาะนาอูรูคือฮิซะฮะชิ โซะเอะดะในวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1945 ต่อกองทัพออสเตรเลีย การยอมจำนนของญี่ปุ่นในครั้งนี้ได้รับการยอมรับโดยพลจัตวาสตีเวนสัน ซึ่งเป็นผู้แทนของพลโทเวอร์นอน สตูร์ดี ผู้บัญชาการกองทัพออสเตรเลียที่ 1 บนเรือรบเดียมันตินา

            หลังจากการยอมแพ้ของกองกำลังญี่ปุ่น ได้มีการส่งชาวนาอูรู 737 คนที่รอดชีวิตจากเกาะชุกกลับไปยังนาอูรู โดยเรือของคณะกรรมาธิการฟอสเฟตของอังกฤษที่ชื่อว่า Trienza ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1946 ในปี ค.ศ. 1947

           สหประชาชาติได้มอบหมายให้ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักรเป็นผู้ดูแลเกาะนาอูรูในฐานะดินแดนในภาวะทรัสตี

          นาอูรูได้สิทธิ์ในการปกครองตนเองในเดือนมกราคม ค.ศ. 1966 และเมื่อการประชุมร่างรัฐธรรมนูญได้ผ่านไป 2 ปีหลังจากนั้น นาอูรูจึงได้ประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 1968 โดยมีประธานาธิบดีแฮมเมอร์ ดีโรเบิร์ตเป็นประธานาธิบดีคนแรก

          ในปี ค.ศ. 1967 ประชาชนชาวนาอูรูได้ร่วมกันซื้อทรัพย์สินของคณะกรรมาธิการฟอสเฟตของอังกฤษ ซึ่งนาอูรูได้สิทธิ์ในการบริหารจัดการกิจการเหมืองแร่ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1970 ภายใต้การบริหารของบริษัทนาอูรูฟอสเฟต

            รายได้ของนาอูรูที่ได้จากการทำเหมืองแร่ส่งผลให้ประชาชนชาวนาอูรูมีมาตรฐานการครองชีพสูงที่สุดในกลุ่มประเทศแถบแปซิฟิก

             ในปี ค.ศ. 1989 นาอูรูได้ฟ้องออสเตรเลียต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจากความล้มเหลวของออสเตรเลียในการแก้ไขความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ฟอสเฟตเมื่อครั้งที่ออสเตรเลียมีอำนาจบริหารกิจการต่าง ๆ ในนาอูรู

 การเมือง

      รัฐสภานาอูรู

        นาอูรูเป็นสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล รัฐสภานาอูรูเป็นระบบสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิก 19 คน มาจากการเลือกตั้งทุกสามปี รัฐสภาจะเลือกประธานาธิบดีจากสมาชิกรัฐสภา และประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีซึ่งมีสมาชิก 5–6 คน

          นาอูรูไม่มีโครงสร้างพรรคการเมืองอย่างเข้มแข็งเท่าใดนัก โดยตัวแทนส่วนใหญ่เป็นผู้สมัครอิสระ ซึ่งเห็นได้จากสมาชิกรัฐสภาในสมัยปัจจุบันมีสมาชิกที่มาจากผู้แทนอิสระถึง 15 คนจากสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 19 คน สำหรับพรรคการเมืองที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ในปัจจุบันมี 4 พรรค ได้แก่ พรรคนาอูรู พรรคประชาธิปไตยแห่งนาอูรู นาอูรูเฟิร์สและพรรคกลาง แม้จะมีพรรคการเมือง แต่การร่วมรัฐบาลในนาอูรูนั้นมักขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ทางครอบครัวมากกว่าพรรคการเมืองที่สังกัด[38]

          ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1992 - 1999 ได้มีการนำระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เรียกว่า สภาเกาะนาอูรู (Nauru Island Council - NIC) เข้ามาใช้ โดยสภานี้จะมีสมาชิกสภาทั้งสิ้น 9 คน มีหน้าที่ให้บริการในท้องถิ่น อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1999 รัฐบาลตัดสินใจยกเลิกสภาเกาะนาอูรูและให้ทรัพย์สินและหนี้สินของสภาทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลแห่งชาติ[39] การครอบครองที่ดินในประเทศนาอูรูเป็นสิ่งที่แปลก เนื่องจากประชาชนชาวนาอูรูทุกคนมีสิทธิบางประการเหนือที่ดินทั้งหมดของเกาะ ซึ่งที่ดินเหล่านั้นมีเจ้าของเป็นบุคคลหรือกลุ่มครอบครัว รัฐบาลหรือองค์กรต่าง ๆ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง หากมีความประสงค์จะใช้ที่ดินจะต้องทำสัญญากับเจ้าของที่ดินในบริเวณนั้นก่อน สำหรับประชาชนที่ไม่ใช่ชาวนาอูรูไม่มีสิทธิ์ครอบครองที่ดินบนเกาะ


 

---------------------------------
 

 


 

หมายเลขบันทึก: 692931เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2021 04:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2021 04:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท