สื่อสาร.."สัมผัส"


การสัมผัสเป็นวิธีสื่อสารอีกอย่างที่พบในสัตว์ มีผู้ศึกษาพบว่าลูกลิงที่ถูกเลี้ยงด้วยแม่ลิงจริงๆ ซึ่งใช้การสัมผัส โดยเฉพาะการโอบกอด สามารถจะลดความก้าวร้าวของลูกลิง

พฤติกรรมทางสังคมหรือการสื่อสารเป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งมีชีวิตหนึ่งสามารถจะบอกอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่ออีกสิ่งมีชีวิตหนึ่งได้ ชอบหรือไม่ชอบ ต้องการหรือไม่ต้องการอะไร คือ สารที่สื่อออกไปให้อีกฝ่ายได้รับรู้ 

การสื่อสารในสัตว์ทำได้หลากหลายวิธี การชูก้ามใหญ่โตของปูก้ามดาบ การรำแพนหางของนกยูงให้สะดุดตา ซึ่งเป็นพฤติกรรมเกี้ยวพาราสีเพศตรงข้าม การเต้นของผึ้งเพื่อบอกตำแหน่งและทิศทางของแหล่งน้ำหวานที่เพิ่งไปสำรวจมา เป็นตัวอย่างที่สัตว์สื่อสารกันด้วยท่าทาง 

เสียงร้องเรียกหาคู่เพื่อผสมพันธุ์ของกบ เขียด เสียงกรีดร้องของจักจั่นจนระงมไปทั่ว ด้วยการหดคลายตัวของกล้ามเนื้อบริเวณส่วนอก เป็นการสื่อสารกันด้วยเสียง

หมามักฉี่ใส่ยางรถยนต์หรือรดโคนต้นไม้ ฟีโรโมนหรือสารเคมีในฉี่ จะเป็นสัญญาณให้ตัวอื่นๆได้รับรู้อาณาบริเวณของผู้เป็นเจ้าของสถานที่ หมาจึงทำหน้าที่เฝ้าบ้านได้ เพราะมีพฤติกรรมหวงแหนปกป้องอาณาเขต อย่างนี้คือการสื่อสารด้วยสารเคมี 

การสัมผัสเป็นวิธีสื่อสารอีกอย่างที่พบในสัตว์ มีผู้ศึกษาพบว่าลูกลิงที่ถูกเลี้ยงด้วยแม่ลิงจริงๆ ซึ่งใช้การสัมผัส โดยเฉพาะการโอบกอด สามารถจะลดความก้าวร้าวของลูกลิง คนเราเองก็เชื่อในลักษณะเดียวกัน ว่าการกอดสามารถจะส่งผ่านความรู้สึกดีๆให้แก่กันและกัน 

การสื่อสารกับขนมปังและเปียกปูนจึงใช้การโอบกอดอย่างน้อยวันละครั้ง(ฮา) เมื่อเริ่มๆเลี้ยงตัวไหนเป็นตัวไหนยังบอกยากเลย เดี๋ยวนี้อย่าว่าแต่แค่นั้น..เพราะจริงๆนิสัยการแสดงออกแต่ละตัวแตกต่างกันอย่างเด่นชัด 

ว่าก็ว่าเถอะ! ถึงวันนี้แล้ว แม้แต่หมางอนหรือหมายิ้มระรื่น..เชื่อว่าตัวเองดูไม่ผิด(ฮา) 

หมายเลขบันทึก: 692924เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2021 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2021 08:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท