ทำไมโควิด19 จึงสามารถคร่าชีวิตคนได้รวดเร็วมาก และจะมีแนวทางป้องกันตั้งรับโรคนี้ได้อย่างไร  ?


เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วก็คือ ตำแหน่งของเซลล์ที่ไวรัสนี้มักเข้าไปโจมตีครั้งแรก (โพรงจมูก) เพระฉะนั้น ในการดูแลป้องกันตนเอง คือออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น หากออกนอกบ้านให้เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีคนหนาแน่น แออัด หรือพื้นที่ปิด สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา เมื่ออยู่นอกบ้าน ใช้รถสาธารณะเมื่อจำเป็นเท่านั้น และหลีกเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วน หากต้องซ้อนมอเตอร์ไซด์ควรนั่งหันข้าง ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ส้วม หรือหลังจากไอจาม หรือหลังสัมผัสจุดเสี่ยงที่มีผู้ใช้งานร่วมกันในที่สาธารณะ เช่น กลอนหรือลูกบิดประตู ราวจับหรือราวบันได เป็นต้น หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 70 ปี ผู้มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคปอด และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ให้เลี่ยงการออกนอกบ้าน เว้นแต่จำเป็น ให้ออกนอกบ้านน้อยที่สุด ในระยะเวลาสั้นที่สุด แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น เลือกทานอาหารที่ร้อนหรือปรุงสุกใหม่ๆ ควรทานอาหารแยกสำรับ หรือหากทานอาหารร่วมกันให้ใช้ช้อนกลางส่วนตัว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ หากเดินทางกลับจากประเทศหรือพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ควรกักตัวเองที่บ้าน 14 วัน และปฏิบัติตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข หมั่นสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ให้ไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที และควรไปรับการฉีดวัคซีน ข้อสำคัญคือ การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และทำจิตใจให้เข้มแข็งอยู่เสมอนั้นเอง..........

ทำไมโควิด19 จึงสามารถคร่าชีวิตคนได้รวดเร็วมาก

และจะมีแนวทางป้องกันตั้งรับโรคนี้ได้อย่างไร  ?

ดร.ถวิล อรัญเวศ

           ปัจจุบันโรคที่คนเป็นแล้วตายมากสุด น่าจะเป็นโรคโควิด19 

ยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตด้วยโควิด19 ทั่วโลก ณ วันที่ 20 ต.ค.64

โดย ยอดผู้ติดโควิด-19 สะสมพุ่งสูงกว่า 241 ล้านรายทั่วโลก หลัง

การแพร่ระบาดผ่านมานานเกือบ 1 ปี 10 เดือนแล้ว ยอดผู้เสียชีวิตสูงกว่า 4.9 ล้านราย อัตราเสียชีวิตอยู่ที่ราว 2.1% รักษาหายแล้วราว 90% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด ขณะนี้มีประเทศที่พบผู้ติดเชื้อแล้ว 188 จาก 193 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่ยังไม่พบผู้ติดเชื้อรายแรกอย่างเป็นทางการได้แก่ เกาหลีเหนือ เติร์กเมนิสถาน ตองกา ตูวาลู และนาอูรู 

          ล่าสุด สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุด (45,130,188 ราย) และมียอดผู้เสียชีวิตสะสมมากที่สุดกว่า 7.28 แสนราย ตามมาด้วย อินเดีย (34,094,373 ราย) บราซิล (21,665,912 ราย) สหราชอาณาจักร (8,581,165 ราย) และรัสเซีย (7,936,798 ราย)

        ทั่วโลกฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 6.7 พันล้านโดส โดยจีนนำเป็นอันดับ 1 ประเทศที่ฉีดวัคซีนโควิดมากที่สุดในเชิงปริมาณขณะนี้ ฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 2.23 พันล้านโดส ตามมาด้วยอินเดีย 978.95 ล้านโดส สหรัฐอเมริกา 409.43 ล้านโดส บราซิล 257.93 ล้านโดส และญี่ปุ่น 180.98 ล้านโดส ขณะที่อินโดนีเซียฉีดไปแล้วกว่า 171.17 ล้านโดส ยังคงเป็นประเทศที่ฉีดวัคซีนโควิดมากที่สุดในย่านอาเซียนขณะนี้

โดยจากการรายงานของ Our World in Data ระบุว่า อิสราเอลเป็นประเทศที่มีสัดสัดส่วนพลเมืองเข้ารับวัคซีนเข้มกระตุ้น (Booster Shot) มากที่สุดในขณะนี้ มากถึง 43.88 ต่อพลเมือง 100 ราย ตามมาด้วยอุรุกวัย 32.49 ต่อพลเมือง 100 ราย และชิลี 21.97 ต่อพลเมือง 100 ราย

 

ทำไมโควิด19 จึงสามารปลิดชีพคนได้รวดเร็วมาก

            โรคโควิด-19 แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและง่ายดาย เมื่อเปรียบเทียบกับโรคอื่น ๆ ที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ วิธีที่มันโจมตีเซลล์ ระยะเวลาในการป่วย และวิธีการแพร่เชื้อต่อไปยังผู้อื่น ต่างมีส่วนที่ทำให้เชื้อไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ติดต่อกันได้ง่าย

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วก็คือ ตำแหน่งของเซลล์ที่ไวรัสนี้มักเข้าไปโจมตีครั้งแรก (โพรงจมูก)

         เซลล์ในเยื่อบุจมูกติดไวรัสนี้ได้ง่าย เช่นเดียวกับเซลล์ที่มีลักษณะเป็นขน เซลล์เหล่านี้สร้างและนำส่งน้ำเมือกในจมูก โดยมีโปรตีนตัวรับ 2 ชนิดที่ไวรัสโคโรนาจำเป็นต้องใช้ในการยึดเกาะตัวมันไว้

           เนื่องจากเซลล์เหล่านี้อยู่ในโพรงจมูกทำให้คนสูดหายใจนำอนุภาคไวรัสเข้าและออกได้โดยง่าย หลายคนนำโควิด-19 ไปติดคนอื่นก่อนที่ตัวเองจะเริ่มป่วย ผู้ติดเชื้อหลายคนไม่แสดงอาการป่วยและไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีเชื้อไวรัสอยู่

           การแพร่เชื้อจากผู้ที่ไม่แสดงอาการเช่นนี้ ทำให้ไวรัสโคโรนาแพร่กระจายได้ง่ายยิ่งขึ้น

            โรคนี้มีระยะเวลาฟักตัวค่อนข้างนาน คนที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ มักจะรู้สึกไม่สบายภายในเวลา 5 วัน หลังจากติดเชื้อ ต่างจากอาการป่วยของโรคโควิด-19 ที่มักแสดงอาการหลังได้รับเชื้อ 5-6 วัน แต่อาจจะใช้เวลานานถึง 2 สัปดาห์ ก็เป็นได้

          ระยะเวลาแพร่เชื้อของไข้หวัดใหญ่สั้นกว่าและคงอยู่ราว 1 สัปดาห์ ส่วน โควิด-19 ปกติมีระยะเวลาแพร่เชื้อได้นาน 8-10 วัน หรือนานกว่านั้น

         มีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 แล้วมากกว่า 1 ล้านคน ส่วนโรคซาร์สและโรคเมอร์ส ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาเช่นเดียวกัน มียอดรวมผู้เสียชีวิตน้อยกว่ามาก แต่คนที่ป่วยเป็นโรคซาร์สและโรคเมอร์สมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่ามาก

         การมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำทำให้โรคโควิด-19 แพร่กระจายได้มากขึ้น มีโอกาสที่คนป่วยนำเชื้อไปแพร่ตามที่ต่าง ๆ ได้มากกว่า เพราะไม่ได้มีอาการหนักจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

          นักวิทยาศาสตร์กำลังจับตามองการเปลี่ยนแปลงของไวรัสนี้อยู่ มีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นแล้วหลายร้อยครั้ง หนึ่งในนั้นคือ D614G ซึ่งอาจทำให้ไวรัสติดต่อกันได้ง่ายยิ่งขึ้นและกลายเป็นเชื้อที่มีการตรวจพบมากที่สุดในการระบาดไปแล้ว ขณะนี้มีการตรวจพบเชื้อนี้เกือบทั่วโลก

            ไวรัสนี้ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงช้ากว่าไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล คำถามคือว่าเมื่อเวลาผ่านไป มันจะกลายเป็นเชื้อที่มีการติดต่อกันได้ง่ายมากขึ้นหรือไม่

 

การป้องกันรักษาโควิด 19 ที่ได้ผล

        วิธีที่ได้ผลที่สุดที่จะป้องกันท่านและผู้อื่นจากโควิด 19 คือ 
การล้างมือบ่อย ๆ และ เลี่ยงการเอามือมาสัมผัสตา จมูกและปาก และ ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูหรือข้อศอกเมื่อไอหรือจาม ทิ้งกระดาษทิชชูทันทีและล้างมือให้สะอาด

           แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 

 

สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง

           กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีลงมา ผู้สูงอายุและคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ ซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไปหากมีการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 เพื่อป้องกันตนเองจาก

การเจ็บป่วยและลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต จึงมีแนวทางการปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง รายละเอียดดังนี้

 

แนวทางการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

       เพื่อป้องกันและลดการแพร่เชื้อโควิด 19 ควรปฏิบัติดังนี้

1. ออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น 

       หากออกนอกบ้านให้เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีคนหนาแน่น แออัด หรือพื้นที่ปิด

2. สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา เมื่ออยู่นอกบ้าน

3. ใช้รถสาธารณะเมื่อจำเป็นเท่านั้น และหลีกเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วน หากต้องซ้อนมอเตอร์ไซด์ควรนั่งหันข้าง

4. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ส้วม หรือหลังจากไอจาม หรือหลังสัมผัสจุดเสี่ยงที่มีผู้ใช้งานร่วมกันในที่สาธารณะ เช่น กลอนหรือลูกบิดประตู ราวจับหรือราวบันได เป็นต้น

5. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น

6. ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 70 ปี ผู้มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคปอด และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ให้เลี่ยงการออกนอกบ้าน เว้นแต่จำเป็น ให้ออกนอกบ้านน้อยที่สุด ในระยะเวลาสั้นที่สุด

7. แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น

8. เลือกทานอาหารที่ร้อนหรือปรุงสุกใหม่ๆ ควรทานอาหารแยกสำรับ หรือหากทานอาหารร่วมกันให้ใช้ช้อนกลางส่วนตัว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ

9. หากเดินทางกลับจากประเทศหรือพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ควรกักตัวเองที่บ้าน 14 วัน และปฏิบัติตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข

10. หมั่นสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ให้ไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที

แนวทางการปฏิบัติสำหรับกลุ่มเสี่ยง

 คำแนะนำสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้สูงอายุ

           จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง ผู้สูงอายุถือเป็นประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มีอาการรุนแรงมากกว่ากลุ่มวัยอื่น การอยู่รวมกันเป็นครอบครัวที่มีสมาชิกในบ้านมีประวัติเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง อาจทำให้ผู้สูงอายุติดเชื้อได้ ดังนั้น ผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัว

          ควรมีการปฏิบัติตน เพื่อการป้องกันการรับสัมผัสและแพร่กระจายเชื้อโรค ดังนี้

คำแนะนำสำหรับผู้สูงอายุ

       1. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ 70 % ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร

       2. หลังเข้าส้วม หรือเมื่อสัมผัสสิ่งของร่วมกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก

        3. เลือกทานอาหารที่ร้อนหรือปรุงสุกใหม่ๆ ควรทานอาหารแยกสำรับ หรือหากทานอาหารร่วมกันให้ใช้ช้อนกลางส่วนตัว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ

       4. หากไอ จาม ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูปิดปากหรือใช้ข้อศอกปิดปากจมูก และทำความสะอาดมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ทันที หรือให้สวมหน้ากาก หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการหวัด มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก

        5. งดออกจากบ้านหรือเข้าไปในบริเวณที่มีคนแออัด หากจำเป็นให้ใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ใช้เวลาน้อยที่สุด รักษาระยะห่างจากบุคคลอื่น 1 - 2 เมตร หลีกเลี่ยงการสวมกอดหรือพูดคุยในระยะใกล้ชิดกับบุคคลอื่น และเปลี่ยนมาใช้การสื่อสารทางโทรศัพท์ หรือSocial media เป็นต้น

        6. หากมีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็ง ควรจัดเตรียมยาสำรองสำหรับรักษาโรคประจำตัวของผู้สูงอายุไว้ ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์หากถึงกำหนดตรวจตามนัด ให้ติดต่อขอคำแนะนำจากแพทย์ และให้ญาติไปรับยาแทน

       7. ดูแลสภาพจิตใจของตนเอง ไม่ให้เครียดเกินไป หาวิธีผ่อนคลายความเครียด เช่น การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสุขภาพ (เช่น รำมวยจีน โยคะ) ฟังเพลง ร้องเพลง หรือเล่นดนตรี ปลูกต้นไม้ทำสวน จัดห้อง ตกแต่งบ้าน เล่นกับสัตว์เลี้ยง สวดมนต์ นั่งสมาธิ การฝึกหายใจคลายเครียดทำบุญตักบาตร เป็นต้น

 

คำแนะนำสำหรับผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้สูงอายุ

       1. หมั่นสังเกตตนเอง ว่ามีอาการไข้ หรืออาการทางเดินหายใจหรือไม่ หากพบว่ามีอาการดังกล่าวควรงดการใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ

        2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้สูงอายุโดยไม่จำเป็น หาวิธีการสร้างความสัมพันธ์อันดี โดยรักษาระยะห่างกับผู้สูงอายุ

       3. ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และล้างมือทุกครั้งก่อนให้การดูแล

คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองโรคระบบทางเดินหายใจ

              ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคระบบทางเดินหายใจ หากมีการติดเชื้อโควิด 19 จะมีความเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อหรือป่วยรุนแรง จึงมีคำแนะนำดังนี้

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

         1. ให้อยู่ในที่พักอาศัย เว้นการคลุกคลีใกล้ชิดกับบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ดูแล รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล 1 - 2 เมตร

         2. หากต้องออกนอกที่พักอาศัย ไปในพื้นที่ที่มีคนแออัด หรือโดยสารรถสาธารณะ ให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา

        3. งดใช้ของหรือเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น• มีหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อของสถานพยาบาลที่รักษาประจำ เพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพ

        4. ติดต่อสถานพยาบาลที่รักษาประจำก่อนกำหนดนัด เพื่อรับทราบข้อปฏิบัติ เช่น ให้ญาติหรือผู้อื่นไปรับยาแทน ให้ไปรับยาใกล้บ้าน หรือให้ย้ายไปตรวจที่สถานพยาบาลอื่น

        5. รับประทานยาสม่ำเสมอ และหมั่นตรวจสุขภาพตนเอง เช่น วัดความดันโลหิต หรือวัดระดับน้ำตาลในเลือดเองที่บ้าน

       6.  หากมีอาการป่วยฉุกเฉิน ให้โทรเรียก 1669

 

คำแนะนำสำหรับญาติผู้ใกล้ชิด และผู้ดูแล

      1. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ให้การดูแล

      2. ล้างมือก่อนและหลังการให้การดูแล

      3. หากมีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ เช่น มีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ หรือรู้สึกมีไข้ ต้องงดการให้การดูแล หรืออยู่ใกล้ชิด ควรมอบหมายผู้อื่นทำหน้าที่แทน

      4. ทำความสะอาดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องใช้ประจำร่วมกันในบ้าน เช่น เครื่องวัดความดันโลหิตด้วยแอลกอฮอล์

 

สรุป

         โควิด19 สามารถติดคนเราได้รวดเร็วมากเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วก็คือ ตำแหน่งของเซลล์ที่ไวรัสนี้มักเข้าไปโจมตีครั้งแรก (โพรงจมูก) เพระฉะนั้น ในการดูแลป้องกันตนเอง คือออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น หากออกนอกบ้านให้เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีคนหนาแน่น แออัด หรือพื้นที่ปิด สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา เมื่ออยู่นอกบ้าน ใช้รถสาธารณะเมื่อจำเป็นเท่านั้น และหลีกเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วน หากต้องซ้อนมอเตอร์ไซด์ควรนั่งหันข้าง ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ส้วม หรือหลังจากไอจาม หรือหลังสัมผัสจุดเสี่ยงที่มีผู้ใช้งานร่วมกันในที่สาธารณะ เช่น กลอนหรือลูกบิดประตู ราวจับหรือราวบันได เป็นต้น หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็นผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 70 ปี ผู้มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคปอด และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ให้เลี่ยงการออกนอกบ้าน เว้นแต่จำเป็น ให้ออกนอกบ้านน้อยที่สุด ในระยะเวลาสั้นที่สุด แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น เลือกทานอาหารที่ร้อนหรือปรุงสุกใหม่ๆ ควรทานอาหารแยกสำรับ หรือหากทานอาหารร่วมกันให้ใช้ช้อนกลางส่วนตัว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ หากเดินทางกลับจากประเทศหรือพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ควรกักตัวเองที่บ้าน 14 วัน และปฏิบัติตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข หมั่นสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ให้ไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที และควรไปรับการฉีดวัคซีน ข้อสำคัญคือ การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และทำจิตใจให้เข้มแข็งอยู่เสมอนั้นเอง..........

 

 

 

--------------

 

 

 

 

 

แหล่งข้อมูลที่มา

https://thestandard.co/coronavirus-201064/

https://www.bbc.com/thai/55557300

https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf

https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/covid-19/732026/

 

 

หมายเลขบันทึก: 692922เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2021 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2021 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท