รับประทานอาหารอย่างไรจึงจะทำให้ย่อยดีมีคุณค่าต่อร่างกาย


ในการรับประทานอาหาร ควรหลีกเลี่ยงการพูดบ่อย ๆ ค่อย ๆ ทานอาหาร ไม่ทานเร็ว เคี้ยวให้ละเอียดทานอาหารให้ตรงเวลา และไม่ทานปริมาณที่มากจนเกินไปในแต่ละมื้อหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดเกินไป อาหารที่ไม่ไขมันมาก ๆ หลังทานข้าวเสร็จ ไม่ควรนอนทันที ควรนั่งพักให้อาหารย่อยก่อน อย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอลล์ ลดหรืองดการสูบบุหรี่จัด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อผ่อนคลายความเครียด และทำให้อวัยวะภายในมีสุขภาพดี นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และทานอาหารอย่างสมดุล อาหารที่ช่วยย่อยง่าย ควรรับประทานผักหรือผลไม้ที่ช่วยระบายท้อง เช่น มะละกอ อะโวคาโด กล้วย แอปเปิ้ล มะเดื่อฝรั่ง มะขาม มะม่วง ทับทิม สับปะรด เป็นต้น ถ้าเป็นผักจะทำให้ย่อยอาหารง่ายด้วย ควรรับประทานผักจิ้มด้วยจะเป็นการดี

 

รับประทานอาหารอย่างไรจึงจะทำให้ย่อยดีมีคุณค่าต่อร่างกาย

ดร.ถวิล  อรัญเวศ

         ถ้าเรานำบทสวดในหลักธรรมทางพุทธศาสนาที่ได้สอนให้เราหมั่นพิจารณาเนือง ๆ เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การนุ่งห่มผ้าการรับประทายา ก็พอจะรู้ได้ว่า ท่านสอนให้เราหมั่นพิจารณาตัวเอง

สอนตนเองเกี่ยวกับการใช้ปัจจัย ที่เป็นของอุปโภคและบริโภค เช่น         
เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงนุ่งห่มจีวร เพียงเพื่อบำบัด

ความหนาว เพื่อบำบัดความร้อน เพียงเพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจาก

เหลือบ   ยุง   ลม แดด   และสัตว์ เลื้อยคลานทั้งหลายทั้งปวง และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ
เพื่อไม่ให้เกิดความละอายแก่ใจ

         เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉันบิณฑบาต ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเมามัน แต่เพื่อก่อให้เกิดพละกำลังพลังทางกาย มีสุขภาพต่อร่างกาย

            การนุ่งห่มผ้า ไม่ใช่เป็นไปเพื่อประดับ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อตกแต่ง แต่ให้เป็นไปเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อความเป็นไปได้แห่งอัตภาพ เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์         

            เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยเสนาสนะ

เพียงเพื่อบำบัดความหนาว เพื่อบำบัดความร้อนเพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ   ยุง   ลม   แดด   และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายทั้งปวง เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา

           เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงบริโภคเภสัชบริขารอันเกื้อกูลแก่คนไข้เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนาอันบังเกิดขึ้นแล้ว   มีการป่วยด้วยโรคต่าง ๆ เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคมาเบียดเบียน ฯลฯ

          แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนเราไม่ค่อยได้สนใจเท่าไรหรอกเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การนุ่งผ้า ห่มผ้า ขอให้เรากินอิ่ม กินอร่อย กินแซบกินนัว ก็พอ และนุ่งผ้า ห่มผ้า ใส่แล้วสวยงาม เท่ และโก้หรู ท้นสมัยเป็นสำคัญ นี้เป็นพฤติกรรมทั่ว ๆ ไปของคนเรา

 

อาหารที่เราทานเข้าไปจะย่อยภายในกี่นาที

           นักวิชาการด้านโภชนาการ ได้กล่าวไว้ว่า ระบบย่อยอาหาร มีหน้าที่เปลี่ยนอาหารที่บริโภคเข้าไปให้กลายเป็นพลังงาน เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ รวมทั้งขับกากอาหารหรือของเสียออกนอกร่างกายผ่านทางทวารหนัก โดยอวัยวะในระบบย่อยอาหารประกอบด้วยปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ตับอ่อน ตับ ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้ตรง และทวารหนัก ซึ่งล้วนทำงานร่วมกันเพื่อให้การย่อยอาหาร

         ระบบทางเดินอาหาร เป็นหนึ่งในระบบการทำงานร่วมกันของอวัยวะภายในร่างกาย เป็นระบบที่ส่งเสริมให้ร่างกายได้รับสารอาหารและน้ำจากอาหารที่บริโภคเข้าไป

          ระบบทางเดินอาหาร เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการบดย่อยอาหาร และดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานในการดำเนินกิจกรรมของเซลล์ ในทางเดินอาหารประกอบด้วยส่วนที่เป็นช่องทางเดินอาหารจากปากสู่ทวารหนัก และอวัยวะอื่น ๆ ที่มีบทบาทร่วมในการย่อยอาหาร เข่น ตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดี ช่องทางเดินอาหารทั้งหมด ประกอบด้วย ช่องปาก หลอดอาหาร กระเพราะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก

          ร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง ในการย่อยอาหารก่อนเข้านอน ควรหลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก อาหารที่มีรสเผ็ดรสจัดหรืออาหารที่มีรสหวานมากก่อนเข้านอน 4 ชั่วโมง เพราะร่างกายต้องใช้

เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงในการย่อยอาหาร

  ข้าว 1 จาน ควรใช้เวลากินกี่นาที ถึงจะดีต่อสุขภาพ

        เคยจับเวลาไหมว่าตัวเองกินข้าว 1 จาน ใช้เวลานานเท่าไร กินเร็ว หรือกินช้า ก็มีผลต่อสุขภาพด้วย

 

กินเร็ว-กินช้า ส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

          คนที่ใช้เวลากินอาหารนานกว่าปกติ หรือเป็นคนกินช้า ไม่ได้มีผลเสียอย่างไรต่อร่างกายไปมากกว่าการเสียเวลา แต่ต้องมั่นใจว่าการกินอาหารช้าเป็นเพราะมีนิสัยในการ “เคี้ยว” อาหารช้า เคี้ยวอาหารละเอียดก่อนกลืนด้วย และการกินอาหารช้าทำให้รู้สึกอิ่มท้องเร็วกว่าคนที่กินเร็ว เพราะร่างกายได้ค่อยๆ ใช้เวลาในการลำเลียงอาหารลงกระเพาะจนรู้สึกอิ่ม ในขณะที่คนที่กินเร็ว อาหารยังไม่ทันลงกระเพาะก็รีบตักคำต่อไปกินต่อ จึงทำให้กว่าจะรู้สึกอิ่มก็อาจจะต้องกินมากขึ้นกว่าที่ร่างกายต้องการได้

          สำหรับคนที่กินเร็ว มีรายงานวิจัยชี้ว่า คนที่กินอาหารเร็ว อาจเสี่ยงต่อการทำงานของระบบย่อยอาหารไม่ดี เพราะรีบเคี้ยวรีบกลืน อาจจะยังเคี้ยวไม่ละเอียดพอ จึงอาจทำให้เสี่ยงเกิดอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างอาการจุกเสียด แน่นเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ไปจนถึงอาการที่เริ่มอันตรายมากขึ้น

 

การปรับพฤติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะอาหารไม่ย่อย

       ในการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะคนสูงวัย อย่างวัยเกษียณ

ควรระมัดระวังในเรื่องการรับประทานอาหารให้มาก (ควรรับประทานอย่างสำรวม ใช้บทปฏิสังขา

ปฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ

เรายอมพิจารณาโดยแยบคาย แล้วฉันบิณฑบาต

เนวะ ทวายะ,             ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน

นะ มะทายะ,              ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกำลังพลังทางกาย

นะ มัณฑะนายะ,          ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ

นะ วิภูสะนายะ            ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง

ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา,   แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้

ยาปะนายะ,                 เพื่อความเป็นไปได้แห่งอัตภาพ

วิหิงสุปะระติยา,            เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย

พรัหมะจะริยานุคคะหายะ,    เพื่ออนุเคราะห์แห่งการประพฤติพรหมจรรย์

อิติ ปุรานัญจะ เวทะนังปะฏิหังขามิ,    ด้วยการทำอย่างนี้ เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือความหิว

นะวัญจะเวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ,    และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น

ยาตรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ,

          อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วยจักมีแก่เรา ดังนี้

        ในการรับประทานอาหาร ควรหลีกเลี่ยงการพูดบ่อย ๆ ค่อย ๆ ทานอาหาร ไม่ทานเร็ว เคี้ยวให้ละเอียดทานอาหารให้ตรงเวลา และไม่ทานปริมาณที่มากจนเกินไปในแต่ละมื้อหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดเกินไป อาหารที่ไม่ไขมันมาก ๆ  หลังทานข้าวเสร็จ ไม่ควรนอนทันที ควรนั่งพักให้อาหารย่อยก่อน อย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอลล์ ลดหรืองดการสูบบุหรี่จัด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อผ่อนคลายความเครียด และทำให้อวัยวะภายในมีสุขภาพดี นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และทานอาหารอย่างสมดุล อาหารที่ช่วยย่อยง่าย ควรรับประทานผักหรือผลไม้ที่ช่วยระบายท้อง เช่น มะละกออะโวคาโด กล้วย แอปเปิ้ล มะเดื่อฝรั่ง มะขาม มะม่วง ทับทิม สับปะรด  เป็นต้น ถ้าเป็นผักจะทำให้ย่อยอาหารง่ายด้วย ควรรับประทานผักจิ้มด้วยจะเป็นดารดี

 

สรุป

       รับประทานอาหารอย่างไรจึงจะทำให้ย่อยดีมีคุณค่าต่อร่างกายก็คงได้คำตอบแล้ว คือ ร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง ในการย่อยอาหาร ก่อนเข้านอน ควรหลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก อาหารที่มีรสเผ็ดรสจัดหรืออาหารที่มีรสหวานมากก่อนเข้านอน 4 ชั่วโมง เพราะร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงในการย่อยอาหาร การรับประทานอาหาร ควรเคี้ยวให้ละเอียด รับประทานผลไม้ที่ช่วยย่อย เช่น มะละกอกล้วย แอปเปิล สับปะรด อโวคาโด หรือผักจิ้ม เป็นต้น โดยเฉพาะคนสูงวัย ควรใช้บทสวดปฏิสังขาโย ฯ เข้าช่วยจะดี จะได้พิจารณาชีวิต ทำให้จิตสงบไม่หลงตาย ไม่กระวนกระวายใจ ..........

 

 

 

 

 

 

แหล่งข้อมูล

https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1544882/

https://bit.ly/3jgvy3Y

https://ngthai.com/science/21292/digestivesystem/

https://www.plautawan.com/content/11017/andigestion

http://www.pw.ac.th/main/website/sci/3_data.htm

 


 


 


 

หมายเลขบันทึก: 692916เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2021 00:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2021 00:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท