คุณค่าของผู้สูงอายุ


            ตอนที่เรียนจบใหม่ๆได้มีโอกาสทำงานกับบริษัทญี่ปุ่น3ปี ในบริษัทจะส่งเสริมคนหนุ่มสาวให้ทำงานเต็มที่ตามลำดับชั้น เพื่อนร่วมงานชาวญี่ปุ่นเล่าให้ฟังว่า พวกเราประชุมกันบางทีมองต่างมุมกันเถียงกันหนักต่างคนต่างไม่ยอมกัน เขาบอกว่าอย่างนี้ทำให้บริษัทเจริญผู้บริหารชอบ แต่ขณะที่ถกปัญหากันนั้นที่หัวโต๊ะจะมีหัวหน้าผู้อาวุโสและสูงวัยกว่าทุกคน นั่งฟังเหตุผลแต่คนด้วยความสงบ พยักหน้าแสดงความเข้าใจเป็นระยะ เขาบอกว่านั่นแหละที่ทำให้พวกไฟแรงอย่างเขารู้สึกพอใจกับการได้มีผู้อาวุโสนั่งอยู่ด้วย ทำให้พวกเขารู้สึกเย็นลง สบายใจที่มีผู้ใหญ่รับรู้ความคิดเห็นของพวกเขา และสุดท้ายผู้อาวุโสก็จะเป็นผู้สรุปแนวทางตกลงว่าจะเดินต่อไปอย่างไร

             หากใครแก่วัดหน่อยคงจะเคยได้ยินคำว่า “อปริยหานิยธรรม” คือหลักธรรมแนวคิดสร้างความเจริญแก่ชุมชนและสังคม องค์กรทั่วไป มีอยู่7ข้อคือ

            1.หมั่นประชุมพร้อมเพรียงกันเนืองนิตย์                                                                                           (ระดมสมองในการพัฒนา,ปรับปรุงและแก้ไขปัญหาชุมชน ซึ่งคนเดียวทำไม่ได้)

           2.ประชุมพร้อมกัน เลิกประชุมพร้อมกัน สามัคคีกันทำกิจที่พึงทำ                                                     (มีความสามัคคีกลมเกลียว และเสียสละ)

           3.ยึดมั่นในหลักการอันดีงามที่บรรพบุรุษเคยยึดถือกันมา ไม่บัญญัติหลักการใหม่ที่ขัดต่อ  หลักการเดิม

           (บรรพบุรุษกว่าจะรวมกันเป็นหมู่เหล่ากันได้ต้องผ่านอุปสรรคมามากจึงได้บัญญัติกฏเกณฑ์ต่างๆเพื่อป้องกันความเสื่อมไว้ คนรุ่นหลังอาจไม่เข้าใจและทำลายหรือเลิกยึดถือหลักการเดิมซึ่งจะเป็นการทำลายชาติพันธุ์ของตนเองโดยไม่รู้ตัว)

          4.ให้ความเคารพนับถือผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส ผู้ทรงไว้ซึ่งความรอบรู้และคุณธรรมความดี

           (ผู้อาวุโสผ่านโลกมามาก ย่อมรู้เหตุการณ์ต่างๆมามากมาย การให้ความเคารพผู้อาวุโสจะทำให้ท่านได้นำประสบการณ์ต่างๆที่เป็นประโยชน์มาถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังนำไปใช้ต่อไปได้)

          5.ให้ความคุ้มครองความปลอดภัยแก่เด็กและสตรี

          (เด็กถือว่าเป็นอนาคตของชุมชน สตรีถือว่าเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนการเจริญเติบโตของชุมชน แต่ว่าเด็กและสตรีเป็นผู้ที่มีกำลังน้อยและเป็นจุดอ่อนที่ทำลายง่าย ดังนั้นจะต้องช่วยกันป้องกันดูแลและให้การศึกษาแก่เด็ก)

           6.เคารพสักการะปูชนียวัตถุอันเป็นสมบัติของชาติพันธุ์

           (ส่งเสริมงานประเพณีอันดีงามที่สืบเนื่องกันมา เช่นงานแห่เทียนพรรษา งานไหว้พระประจำปี งานทำบุญสงกรานต์ สรงน้ำพระเป็นต้น อันเป็นความภาคภูมิใจและเป็นสัญลักษณ์ของชุมชน)

           7.ให้ความคุ้มครอง อารักขา บำรุงดูแลแก่สมณะชีพราหมณ์ผู้ดำรงธรรมอันเป็นหลักใจของประชาชน

           (ชุมชนใดมีสมณชีพราหมณ์ผู้มีศีลมาบำเพ็ญสมณะธรรมอยู่ถือว่าชุมชนนั้นมีลาภใหญ่ เป็นผู้มีโชควาสนาจะได้ฟังธรรม ได้ปฏิบัติธรรม พบกับความสงบทางจิตใจ ใจที่สงบและมีปัญญาย่อมทำให้ชุมชนร่มเย็นเป็นสุข เป็นที่ที่ให้ทุกฝ่ายลงกัน เข้าใจกัน สามัคคีกันได้)

หมายเลขบันทึก: 692903เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2021 10:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ตุลาคม 2021 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Namaskāra,

Thank you for this dhamma – a true gift for me – an old man ;-)

thank for reading, just old in body but never old in mind. the more getting old the more getting wisdom

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท