เศรษฐกิจพอเพียงของปราญ์ชาวบ้าน


“ปราชญ์ชาวบ้าน”เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับในชุมชน เนื่องจากเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ที่ผ่านความล้มเหลวในการทำเกษตรเชิงเดี่ยวเพื่อการค้ามาแล้วและได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการทำเกษตรใหม่ไปสู่การเกษตรแบบพอเพียง จนสามารถปลดหนี้สินและมีเงินออมได้ในที่สุด

วันนี้มานั่งอบรม การจัดทำเว็บไวท์ ด้วยแมมโบ้ โอเพ้น ซ้อส ที่ศูนย์ฝึกฯสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 11 สุราษฎร์ธานี ในระหว่างที่รอเซ็ทเครื่อง ได้เข้ามาอ่านบล็อกของเพื่อนๆ ได้ทราบความเคลื่อนไหวมากมาย และอยากจะ ลปปร. จึงได้นำนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ ที่เกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียง มาให้ดูกันย่อๆดังนี้ ครับการนำหลักเกณฑ์ เศรษฐกิจพอเพียงของปราญ์ชาวบ้าน มาปรับใช้ในการพัฒนาการเกษตร ของกระทรวงเกษตรฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความยากจน ได้แก่    

1) เชื่อในการพึ่งตนเอง 

2)  เข้าใจคำว่า บูรณาการ อย่างแท้จริง 

3)  เคารพในภูมิปัญญา 

4)  เคารพในระบบนิเวศ  และ

5) เข้าใจในเรื่องสังคมมีสุข  

ซึ่ง ปราชญ์ชาวบ้านเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับในชุมชน  เนื่องจากเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ที่ผ่านความล้มเหลวในการทำเกษตรเชิงเดี่ยวเพื่อการค้ามาแล้วและได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการทำเกษตรใหม่ไปสู่การเกษตรแบบพอเพียง  จนสามารถปลดหนี้สินและมีเงินออมได้ในที่สุด        

    การดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ผ่านมาภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  และแนวทางการดำเนินภายใต้โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปี  2550 เพื่อพัฒนาการเกษตรใน 3 ขั้นตอน  ได้แก่ 

   1) การผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ 

2) การรวมกลุ่มในการผลิต  การตลาด  ความเป็นอยู่เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนา  และ

3 ) การสร้างเครือข่ายโดยการร่วมมือกับภาครัฐ  ภาคธุรกิจ และภาคองค์กรพัฒนาเอกชน  เพื่อนำไปสู่การลดต้นทุ่น  การพัฒนาคุณภาพชีวิต  และสร้างความเข้มแข็งในระดับประเทศ  ซึ่งแนวทางดำเนินงานภายใต้โครงการดังกล่าว   แบ่งออกเป็น 2 แผนหลัก คือ

แผนการส่งเสริมการเรียนรู้

และแผนส่งเสริมภาคปฎิบัติตามขั้นตอนการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่   

นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณารูปแบบและวิธีการทำงานของปราชญ์ชาวบ้านที่มีประสบการณ์และผู้แทนสภาผู้นำ  ในเรื่องการจัดแผนชุมชนหรือแผนเรียนรู้ชุมชนที่เกิดจากกกระบวนการเรียนรู้  ให้ทุกคนรู้จักตนเอง  รู้จักผลกระทบสภาพแวดล้อมภายนอก  รู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม  สามารถพึ่งพาตนเอง  ให้มากที่สุด  และก่อให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาได้ 

การบูรณาการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ  ภาคเอกชน และปราชญ์ชาวบ้าน  จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกร  ซึ่งเป็นรากหญ้าของประเทศ ใช่มั๊ยครับ

      
หมายเลขบันทึก: 69254เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2006 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ได้มาเรียนรู้ด้วยครับ  ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ...ห่างหายไปนาน
  • รออ่านบันทึกต่อไปนะครับ 
  • ขอบพระคุณมากครับ

อยากได้ข้อมูลมากกว่านี้ครับ

จะต้องทำอย่างไรครับ

ขอปรึกษาท่านจะสะดวกไมครับ

ขอบพระคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท