คิดเครียดอย่างไร ร่างกายเหนื่อยล้า


Cited with Acknowledgement @ medicalnewstoday.com; healthline.com; mayoclinic.org; everydayhealth.com; blog.thebristal.com
กิจกรรมบำบัดเพื่อ “คิดเครียดคลายร่างกายอารมณ์” ถ้าสะสมความตึงเครียดจิตใจ เราจะฟื้นพลังชีวิตคิดดีเพิ่มความภาคภูมิใจ

“ทุกสรรพสิ่งล้วนสัมพันธ์กัน” อวัยวะทุกต่อมในร่างกายสื่อสารสะสมความเครียดบวกลบมากน้อยในแต่ละวัน นับตั้งแต่ผมจบดอกเตอร์ทางกิจกรรมบำบัดความล้า คลิกอ่านได้ที่ The Relationship between frequency and satisfaction of leisure participation and health-related quality of life in women with fatigue secondary to chronic illness (curtin.edu.au) ผมก็สนใจทำวิจัยดังคลิปข้างล่างนี้

และลงคลินิกกิจกรรมบำบัดจิตสังคมพิชิตความล้ามาตลอด 14 ปี ดังคลิปข้างล่างนี้ 

เมื่อทบทวนวรรณกรรมในช่วงวิถีชีวิตใหม่หลังโควิด-19 ก็พบ “ความล้าหลังความเครียดสะสมในร่างกาย” ที่ทั่วโลกบันทึกไว้ถึง 5 ภาวะ ดังต่อไปนี้

  1. Adrenal Fatigue (Insufficiency) ยังไม่ได้ถือเป็นการวินิจฉัยจากแพทย์ แต่ในทางกิจกรรมบำบัดเราจะเรียกว่า Occupational Imbalance อ้างอิงจาก Occupational injustice - Wikipedia ส่งผลกระทบให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บที่สะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ปวดตามร่างกาย น้ำหนักลดอย่างไม่มีสาเหตุ ความดันต่ำ ปวดหัวเบาแต่บ่อย ผมร่วง ผิวหนังมีสีคลำดำ ตรวจเลือดก็ไม่ไวที่จะรู้ว่า “ต่อมหมวกไตล้า” ทำให้เรารู้สึก “ไม่ตื่นตัว - ร่างกายไม่หนีหรือไม่สู้"
  2. Hypothyroidism Fatigue เกิดขึ้นได้หลังการกลืนแร่ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินปกติ (Autoimmune Hashimoto's Disease) อ่านเพิ่มเติมเพื่อดูแลสุขภาพดีที่ https://www.gotoknow.org/posts/691838
  3. Thymus Fatigue (Myasthenia Gravis) พบในเพศหญิงวัยต่ำกว่า 40 ปี และเพศชายวัยสูงกว่า 60 ปี มักมีอาการกล้ามเนื้อคอ-แขนขาอ่อนแรงเป็น ๆ หาย ๆ มีอาการภาพซ้อนมากกว่า 50% ให้ปิดตาข้างหนึ่งจะมองเห็นดีขึ้น มีหนังตาตกข้างหนึ่ง อีก 15% มีเสียงขึ้นจมูก กลืน-ดื่ม-กินยาแล้วน้ำออกทางจมูก เคี้ยวลำบาก สีหน้าเฉย
  4. Chronic Fatigue พบ 90% ใน Major Depression Disorder ส่งผลให้นอนไม่หลับ ไม่ทานอาหาร คิดวนจนเครียดลบ และผลกระทบจากการทานยาต้านเศร้าด้วย อ่านเพิ่มเติมเพื่อดูแลสุขภาพดีที่  https://www.gotoknow.org/posts/691829  
  5. Dementia Fatigue ส่งผลให้นอนไม่หลับตอนกลางคืน รู้สึกเหนื่อยล้าเพลียหมดแรงจนอยากนอนทั้งวัน หากมีอัลไซเมอร์ก็จะมีภาวะซึมเศร้าถึง 40-50% ส่งผลกระทบต่อความเครียดลบสะสมในผู้ดูแล ด้วยปัญหาข้อ 1-4 ข้างต้นตามมาด้วยจนเกิดภาวะกระวนกระวายวิตกกังวลจนถึงก้าวร้าว อ่านเพิ่มเติมเพื่อดูแลสุขภาพที่ https://www.gotoknow.org/posts/691836  และ https://www.gotoknow.org/posts/691754 ตลอดจนอ่านกิจกรรมบำบัดในกรณีศึกษาที่น่าสนใจได้ที่ https://www.gotoknow.org/posts/691611
หมายเลขบันทึก: 692510เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2021 08:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2021 08:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท