Developmental Evaluation : 33. DE เพื่อการพัฒนาระบบ ววน.


 

วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ ในการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษา พัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔  มีการนำเสนอ (ร่าง) รายงานแนวทางการประเมินผลเพื่อการพัฒนา (Developmental Evaluation) สำหรับใช้พัฒนาระบบ ววน. 

คณะทำงานของ สอวช. ทำการบ้านมาเสนออย่างดีมาก   สำหรับขอคำแนะนำจากคณะกรรมการ     โดยผมมีความเห็นว่า ต้องทำความชัดเจนเรื่องเป้าหมายของการใช้ DE   และควรพิจารณาขยายไปใช้ BME ด้วย   เพื่อใช้ลดการทำงานแบบ ไซโล ของระบบราชการไทย    ตามที่เล่าไว้ใน บันทึกนี้  

คณะทำงาน เสนอกรณีศึกษา ๕ ราย คือ 

  1. กรณีศึกษาการแปลงความรู้สู่การปฏิบัติในหน่วยบริการปฐมภูมิสำหรับชาวพื้นเมืองใน ประเทศออสเตรเลีย
  2. กรณีศึกษาการออกแบบต้นแบบทางธุรกิจเพื่อสนับสนุนการสร้างงานด้านดิจิทัลในกลุ่ม เยาวชนของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์(Rockefeller) ประเทศสหรัฐอเมริกา
  3. กรณีการติดตามความสำเร็จของโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพ การศึกษาอย่างต่อเนื่อง ของ กสศ. 
  4. กรณีกระบวนการการประเมินผลเพื่อการพัฒนาของแผนงานคนไทย 4.0 (สวช.)
  5. กรณีกระบวนการของการประเมินผลเพื่อการพัฒนาของโครงการประเทศไทยในอนาคต (สวช.) 

คณะทำงาน เสนอข้อเสนอแนะการติดตามและประเมินผลด้าน ววน. ด้วยหลักการการประเมินผลเพื่อการพัฒนา  ใน ๓ รูปแบบ ดังนี้

  • การออกแบบการติดตามและประเมินผลระดับหน่วยงาน
  • การออกแบบการติดตามและประเมินผลเพื่อปรับการจัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรมรูปแบบ ใหม่ (Funding Modality)
  • การติดตามและประเมินผลเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการการวิจัยและนวัตกรรม (Research Management) ต้นน้ำ กลางน้ำ  และปลายน้ำ   

ส่วนที่ผมประทับใจมากคือข้อเสนอของทีมประเมินว่า ทีมประเมินต้องประเมินสถานการณ์ก่อนด้วย Stacey Matrix/Diagram ว่าสถานการณ์เหมาะสมต่อการใช้ DE หรือไม่ ดังแผนผัง

 

 

 

สภาพที่เหมาะต่อการใช้ คือสภาพที่ความเห็นต่างและความไม่รู้อยู่ในระดับปานกลาง     คืออยู่ใน Zone of Complexity   หากสถานการณ์เป็นอย่างอื่น ก็ควรใช้เครื่องมืออื่น   

และต้องตระหนักว่า เป้าหมายที่แท้จริงไม่ใช่การประเมิน แต่เป็นการเรียนรู้และพัฒนาของ stakeholders ทุกฝ่าย    และในกรณี DE เพื่อพัฒนาระบบ ววน. นี้มีเป้าเพื่อพัฒนาระบบ และพัฒนาองค์กร   ที่เป็นกลุ่มองค์กรที่มีปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน

ผมชอบที่มีกรรมการท่านหนึ่งเปรียบเทียบว่า เครื่องมือ PDCA เริ่มที่การวางแผน Aim – ready - Fire    แต่ DE เริ่มที่การลงมือทำก่อน  Fire – ready – Aim    แต่ทั้งสองเครื่องมือเหมือนกันคือทำเป็นวงจร    ซึ่งในที่สุดก็เหมือนกัน คือเป็นวงจรเรียนรู้และพัฒนา   

หัวใจสำคัญอีก ๒ อย่างคือ Growth Mindset  กับ double-loop learning 

วิจารณ์ พานิช 

๖ ก.ย. ๖๔

 

 

หมายเลขบันทึก: 692306เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2021 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2021 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I applaud this “ข้อเสนอแนะการติดตามและประเมินผลด้าน ววน. ด้วยหลักการการประเมินผลเพื่อการพัฒนา”. By using monitoring and review as target, we can at least heading in the right direction.

But the diagram with a clear solid line dividing order from chaos could be misleading that separation is ‘obvious’. The more likely picture is a (gray) ‘cloud’ (with no clear boundary nor clear features) zone where it is very hard to decide if we are in chaos or on clear path. Having complexity on ‘clear’ suggests complex issues are deterministic and solvable. (I would then define) Chaos as non-deterministic but still handle-able.;-)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท