บทความวิจัย "อัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ อำเภออู่ทอง"


การศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่ง ลาวเวียง ลาวครั่ง และไทยพื้นถิ่นและไทยพื้นถิ่น  2) เปรียบเทียบและจำแนกอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ 3) แนวทางการอนุรักษ์และสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ และ 4) ศึกษาความต้องการของชาติพันธุ์ในการเชื่อมโยงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยการสัมภาษณ์และจัดสนทนากลุ่มสมาชิกแต่ละชาติพันธุ์เกี่ยวกับลักษณะเฉพาะด้านภาษา การแต่งกาย อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย ประเพณีและพิธีกรรม ผลการวิจัยพบว่า ลาวโซ่งหรือไทยทรงดำมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นคือการแต่งกายและลายผ้าทอ ลาวเวียงและลาวครั่งมีอัตลักษณ์คล้ายคลึงกันคือการแต่งกาย ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นตีนจก แต่ขาดอัตลักษณ์ของลายผ้าที่แตกต่างจากชาติพันธุ์อื่น ส่วนไทยพื้นถิ่นเป็นคนไทยโดยกำเนิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี มีอัตลักษณ์ด้านภาษาคือสำเนียงพูดเหน่อ ส่วนแนวทางการอนุรักษ์และสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ คือการสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าของวัฒนธรรมในกลุ่มชาติพันธุ์ ผู้นำกลุ่มหรือผู้นำชุมชนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง และจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ส่วนความต้องการของชาติพันธุ์ในการเชื่อมโยงอัตลักษณ์ของผ้าทอกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด สมาชิกของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่ง ลาวเวียง ลาวครั่งและไทยพื้นถิ่นต้องการพัฒนากระเป๋าที่มีประโยชน์หลากหลายและสื่ออัตลักษณ์ชาติพันธุ์ได้ แต่ชาติพันธุ์ลาวเวียง ลาวครั่งและไทยพื้นถิ่นยังขาดอัตลักษณ์ของผ้าทอ จึงเป็นอุปสรรคในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม  

คำสำคัญ : อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ อู่ทอง สุพรรณบุรี 

The objectives of this study was to: 1) explore the information about the ethnic identity of Lao Song, Lao Wiang, Lao Khrang and local Thai; 2) compare and classify identities of ethnic groups; 3) establish guidelines for preserving and inheriting the cultural identity of ethnic groups; and 4) study the needs of ethnic groups in linking ethnic identity with the development of innovative products in line with market needs. The research was conducted by interviewing and discussing with members of each ethnic group about ethnic characteristics, language, dress, food, shelter, traditions and rituals. The results showed that Lao Song distinctive identity were dress and hair style. Lao Wiang and Lao Khrang had similar distinctive identity about the dress of women wearing Teenchok Sarong. As for the local Thai, their linguistic identity was sarcastic accent. The way to preserve and inherit the cultural identity of ethnic groups was to raise awareness of the value of culture in ethnic groups. The way to preserve and inherit the cultural identity of ethnic groups was to raise awareness of the value of culture in ethnic groups. Group leaders or community leaders played a very important role. And the support from external agencies was needed. As for the ethnic needs in linking the identity of woven fabrics with the development of innovative products in line with market needs, members of ethnic groups required to develop handbag with several usefulness and presenting the ethnic identities of woven fabrics. Lao Song could design and produce but Lao Wiang, Lao Khrang and local Thai had no identities of woven fabrics so they could be threat of the development of innovative products as they required. 

Keywords: Identity, Ethnic, U-thong, Suphanburi

อ้างอิง สุดถนอม ตันเจริญ และสุริยา พันธ์โกศล. (2564). อัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. มนุษยศาสตร์สาร 22(2). หน้า 233-252. 

จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/issue/view/16923

หมายเลขบันทึก: 692297เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2021 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2021 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท