ประสบการณ์ที่ยากจะลืม (ตอนที่ 3)


นั่นคืองานทุกอย่าง ทุกเรื่อง ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการสร้าง ออกแบบ และนำไปสู่การปฏิบัติของภาระกิจนั้น ๆ ผู้ติดตามรับผิดชอบต้องนำผลของงานมาสรุปรวมให้ทุกคนได้วิเคราะห์ประเด็นร่วมกัน หากมีปัญหาก็จะได้ช่วยกันหาจุดที่ต้องแก้ไข วิเคราะห์หาสาเหตุและประเด็น เพื่อพัฒนางานให้สมบูรณ์ขึ้นมาได้ หากเป็นความสำเร็จทุกคนก็รับความสุขแห่งความสำเร็จนั้นร่วมกัน

         จากนั้นคณะของเราก็เดินทางต่อ โดยมีจุดมุ่งหมายที่ ศูนย์หนังสือจุฬา เพื่อหาอาหารสมอง  เพราะอาหารท้องเต็มแล้วจากเมนูของคุณพี่จุ๋ม (คุณสมพิศ ไม้เรียง) พร้อม ๆ กับเก็บเกี่ยวความรู้เรื่องสมุนไพรจากเจ้าแม่กรมวิชาการเกษตรคนนี้ ที่ทดลองปลูกเพื่อทำวิจัยอยู่ที่สวนป่าครูบาสุทธินันท์ และสมุนไพรบางตัวนำมาใช้กับการเลี้ยงสัตว์ เช่น ฟ้าทะลายโจร นำมาผสมในอาหารไก่ อาหารนกกระจอกเทศ เป็ด ในอัตราส่วนที่กำหนดสามารถรักษาโรคหวัดในสัตว์ปีกเหล่านี้ได้ เป็นต้น  พอมาถึงขั้นนี้เราเองต้องจัดการความรู้ในการเลือกซื้อหนังสือเช่นกัน เล่มใดที่ใช้ร่วมกัน ก็ซื้อเล่มเดียว ถ้าต่างกันก็ซื้อเพิ่ม สุดท้ายก็บ้าหอบกันคนละหลายเล่ม กลับที่พักต่างคนก็ต่างหามุมให้กับตัวเอง

          เช้าวันที่
20 ธันวาคม  2549  คณะของเราได้เข้าร่วมประชุมกับทีมทำงานของอาจารย์หมอวิจารณ์  พานิช เป็นการประชุมที่เรียกว่า Weekly  Meetting  โดยใช้ KM ในชีวิต การประชุมเป็นการประชุมที่มีชีวิตชีวา เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีกระบวนการเป็นแบบความร่วมมือ  

        
ผู้ที่เข้าประชุมทุกคนต้องมีส่วนร่วมทั้งนำเสนองานที่ตนเองรับผิดชอบ ที่นำมาเผยแพร่ให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับรู้ และเข้าใจ พร้อมกับมีส่วนร่วมในการเสนอแนะ หรือแสดงความคิดเห็นในงานที่คนอื่นนำเสนอได้ด้วย นั่นคือ ทุกคนต่างทำงานคนละอย่าง รับผิดชอบคนละเรื่อง แต่ทุกคนเรียนรู้งาน สร้างงานให้เชื่อมโยงกันเป็นสายใย นั่นคืองานทุกอย่าง ทุกเรื่อง ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการสร้าง ออกแบบ และนำไปสู่การปฏิบัติของภาระกิจนั้น ๆ

         ผู้ติดตามรับผิดชอบต้องนำผลของงานมาสรุปรวมให้ทุกคนได้วิเคราะห์ประเด็นร่วมกัน หากมีปัญหาก็จะได้ช่วยกันหาจุดที่ต้องแก้ไข วิเคราะห์หาสาเหตุและประเด็น เพื่อพัฒนางานให้สมบูรณ์ขึ้นมาได้  หากเป็นความสำเร็จทุกคนก็รับความสุขแห่งความสำเร็จนั้นร่วมกัน ทุกงานต้องผ่านการนำเสนอในที่ประชุม  นี่ก็เป็นความประทับใจอีกประการหนึ่งที่ยากจะลืม และขออนุญาตนำวิธีการมาใช้ในการทำงานที่มหาชีวาลัยด้วยนะคะ
    
     
        
หลังจากนั้นไปรับประทานอาหารกลางวันกัน เมนูวันนี้เป็นเป็ด คนแน่นขนัดทำให้เราเป็นงงอีกครั้งกับอาหารจานเด็ด เมนูเป็ด เป็ด   มีทั้งต้มยำ อบ พะโล้ แต่ก็เป็นเมนูจากเป็ดเท่านั้น เอ๊ะรสชาดก็สุดยอดของความอร่อยทุกรายการ  หันไปมองดูเจ้าของร้าน ที่เป็นทั้งแม่ครัวเอง แล้วยังเป็นบริกรเดินโต๊ะเอง แถมทุกคนที่ทำงานช่วยกันอยู่ตรงนั้นดูวี่แววแล้วน่าจะเป็นเจ้าของร้านด้วยกันทุกคน อายุแต่ละคนคงไม่น้อยกว่า
50  ปี  

         
รับประทานไป คิดไปว่าการที่เราจะทำอะไรให้ได้ดีนั้น เราต้องเริ่มต้นจัดการความรู้กับสิ่งที่เราต้องทำก่อน  เราต้องมีใจรักที่จะทำก่อน ต้องลงมือทำด้วยตนเองก่อนที่จะจ้างคนอื่นทำ เพื่อสั่งสมประสบการณ์ ต้องสนุกมีชีวิตชีวากับงานที่ทำ คิดว่างานที่ทำคือชีวิต  สิ่งเหล่านี้จะเป็นการการันตีฝีมือในการทำกิจกรรมนั้น ๆ ของเราได้ดีนั่นเอง 
 
         
         
   ก่อนเดินทางกลับบุรีรัมย์ในตอนเย็นวันนั้นเราได้เจอกับคนคุ้นเคยของเรา สอง คนคือ อาจารย์ ดร.นฤมล จาก สมศ. และ อาจารย์ กรรณิการ์ จากคุรุสภา จากการพูดคุยทำให้เห็นว่าทุกองค์กรทุกหน่วยงานไม่ว่าจะภาครัฐหรือเอกชนต่างมุ่งหวังที่จะนำการจัดการความรู้เข้าไปประยุกต์ใช้ในองค์กรและหน่วยงาน แต่ก็ยังติดอยู่กับระบบคิด หรือวิธีคิดของบุคลากรในหน่วยงานนั้น ๆ อยู่

           และสิ่งที่ต้องให้คิดเพิ่มคือ คนที่เข้าสู่กระบวนการ KM จะมองเห็นศักยภาพของคนอื่นเพิ่มขึ้น แทนที่จะมองเห็นศักยภาพของตนเองด้านเดียว  ซึ่งในสังคมสมัยใหม่ที่ซับซ้อนที่มีผู้คนติดอยู่ในโครงสร้างทางสังคมที่แน่นหนา เป็นการยากมากที่จะทำให้บุคคลจะเกิดจิตสำนึกใหม่โดยการสั่งสอนหรือดุด่า แต่การร่วมมือกันจะทำให้ทำงานได้สำเร็จนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงร่วมกัน  สุดท้ายที่สุดเราเดินทางกลับบุรีรัมย์โดยปล่อยเกาะคุณครูใหญ๋ของเราไว้ที่กรุงเทพฯ 

               

หมายเลขบันทึก: 69182เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2006 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอเป็นกำลังใจครับ

กระบวนการ KM มีพลังในกระบวนการพัฒนา

ต้องเข้าใจ แล้วจะเสริมพลังครับ

ขอบคุณครับ

อุทัย

 

ถ้าเรื่องนี้ยากจะลืม ผมว่าครูน้อยต้องมีสมองดีมากๆเลยครับ (แซว)

  อาจารย์แสวงคะ ติดแน่นในหัวใจเลยทีเดียวค่ะ

  อาจารย์อุทัยคะยังคิดฮอดอยู่เด้อ ห้องเย็นของเจ้าพ่อKM นะคะ  (แซว)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท