ชีวิตที่พอเพียง 3981. PMAC 2022 Megatrends Through the Lens of Covid-19 : 4. ประชุมเตรียมการครั้งที่ ๓


 

               ตอนที่ ๑   ตอนที่ ๒  ตอนที่ ๓

 วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔ มีการประชุม 3rd Preparatory Meeting    ต่อจากการประชุมครั้งที่แล้ว (2nd Preparatory Meeting) เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๔ ทางซูม    ที่ นพ. วิโรจน์ ดำเนินการประชุมได้อย่างยอดเยี่ยมมหัศจรรย์    ทำให้สรุปชื่อแต่ละ Subtheme   และได้ Lead Coordinator  และ Co-Coordinators ของแต่ละ Subtheme   ให้กลับไปยกร่าง Concept Note ของแต่ละ Subtheme มาคุยกันในวันนี้    ได้ข้อสรุปที่ก้าวหน้าไปมากอย่างไม่น่าเชื่อ    ผมยกให้เป็นฝีมือของคุณหมอวิโรจน์และทีม IHPP   สรุปได้ดังนี้  

Sub-theme 1: ‘The World We Want: Megatrends and Futuristic Point of Views’ 

Lead: Dr. Fran Baum, and Ms. Bridget Lloyd, PHM; Co-leads: NUS, BMJ, UNFPA, WHO, WB, CMB, Chatham House, JICA, Thai Health, IHPP, and RAMA   เสนอ 5 megatrends ได้แก่  (๑) โรคระบาดใหญ่  (๒) สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม  (๓) ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจขยายตัว  (๔) ระบบเศรษฐกิจใหม่   (๕) ความขัดแย้งทางการเมืองภายในและระหว่างประเทศ   

แนวโน้มใหญ่เหล่านี้ทำให้โลกไม่เสถียร    เปิดรับการเปลี่ยนแปลงได้มาก     โดยเป้าหมายของโลกที่เห็นพ้องกันคือ SDG 17 ด้าน    เป้าหมายของการประชุมในส่วนของ subtheme 1 มี ๔ ประการคือ (๑) ตรวจสอบจากหลายมุมมอง ว่าจะบรรลุสภาพโลกที่ healthy, fair, and sustainable ได้อย่างไร  (๒) ตรวจสอบแนวคิดจากหลายกลุ่มผลประโยชน์  ว่าจะบรรลุสภาพโลกที่ healthy, fair, and sustainable ได้อย่างไร  (๓) ตรวจสอบฐานทฤษฎีและอุดมการณ์ที่นำไปสู่มุมมองที่แตกต่าง  และ (๔) กำหนดแนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุดในการบรรลุเป้าหมายภายใน ๑๐ - ๒๐ ปี    

เขาบอกว่า ระบบเศรษฐกิจโลกในเวลานี้เดินตามแนว neo-liberal economics  ที่มุ่งทำให้คนรวยรวยขึ้น อ้างว่าจะเกิด trickle-down effect ลงไปยังคนจน    ซึ่งชัดเจนแล้วว่าไม่เป็นเช่นนั้น    มีทางเลือกแบบเปลี่ยนระบอบให้ไม่เป็นระบอบ extractive (ขูดเลือดคนจน) อย่างในปัจจุบัน   หรือแบบทางสายกลางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และกระจายความมั่งคั่งมากหน่อย     

ผมเองมีความเห็นว่า  อุปสรรคใหญ่ที่สุดคือกระบวนทัศน์แก่งแย่งแข่งกันเป็นใหญ่ ที่นำไปสู่การต่อสู้กันเอง    หากทดแทนด้วยความตระหนักว่า    ความท้าทายใหญ่สามอย่างของการดำรงอยู่ของมนุษยชาติคือ สงคราม  ความอดอยาก (ขาดแคลนอาหาร)   และโรคระบาดใหญ่   สองอย่างแรกมนุษย์เรามีเครื่องมือเอาชนะได้ค่อนข้างดี    เหลือตัวที่สามคือโรคระบาดใหญ่ ที่มนุษยชาติต้องร่วมมือกันป้องกันไม่ให้เกิด หรือเมื่อเกิดปะทุขึ้นก็ร่วมกันกำจัดออกไปโดยเร็ว ก่อนที่จะลุกลามไปทั่วโลก   

ความรู้เรื่องโรคระบาดใหญ่ช่วยให้เราตระหนักว่า มนุษยชาติต้องร่วมมือกัน   จึงจะมีชีวิตที่ดีอยู่ภายใต้ความท้าทายที่จะเกิดโรคระบาดใหญ่อยู่ตลอดเวลา     หรือกล่าวใหม่ว่า ความมั่นคงของมนุษยชาติอยู่ที่การจัดการโรคระบาดใหญ่    ตามที่หนังสือ How to Survive a Pandemic (2020) เขียนโดย Michael Greger, MD, FACLM บอกไว้   

Sub-theme 2: Climate crisis: ‘Building Back Cleaner/Greener’ 

Lead: Dr. Peter Friberg, SIGHT; Co-leads: FHI 360, WHO, UNDP, USAID, WB, and BMJ 

มีเป้าหมาย  (๑) อภิปรายการบรรจบกันของสามวิกฤติคือ ภูมิอากาศ  สภาวะแวดล้อม  และสุขภาพ  (๒) เสนอรูปแบบของความร่วมมือพหุภาคี (multi-sectoral) เพื่อมติร่วมกันทางการเมือง    ในการฟื้นตัวหลังโควิดด้วยการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม  (๓) ให้ผู้นำรุ่นอนาคตเข้าร่วมแสดงข้อคิดเห็น และบอกว่าต้องการอะไรจากผู้นำในปัจจุบัน  (๔) สร้างพลังร่วมกับเวทีโลกอื่นๆ เกี่ยวกับภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เช่น COP26 และ Stockholm +50

ยุทธศาสตร์สำคัญคือดึงนักการเมือง และผู้ตัดสินใจระดับสูง รวมทั้งคนรุ่นใหม่ เข้าร่วม   

 

Sub-theme 3: ‘Learning from the COVID-19 Pandemic to Better Prepare for Tomorrow’s Challenges’ 

Lead: Dr. Dennis Carroll; Co-leads: FHI 360, USAID, RF, WB, WHO, BMJ, Chatham House, GF, JICA, IHPP, and RAM

  มีเป้าหมาย  (๑) ทำความเข้าใจปัจจัยที่ทำให้โลกไม่พร้อม ต่อการรับมือการระบาดใหญ่   (๒) ทำความเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อน ของการออกแบบและดำเนินการตามมาตรการระดับโลก ที่มีผลต่อการป้องกันและรัมมือการระบาดของ โควิด ๑๙  เช่น IHRs และ SDGs;  โครงสร้างของระบบสุขภาพโลก;   กลไกการให้ทุนสนับสนุนของโลก  เป็นต้น  และหาทางให้มีผลสัมฤทธิ์ได้จริง   (๓) ทำความเข้าใจว่า แนวโน้มใหญ่ของโลกในปัจจุบัน มีผลอย่างไรต่อการเกิดโรคระบาดใหญ่ในอนาคต    และเสนอแนะกิจกรรมด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ที่จะช่วยป้องกันและขจัดการระบาดใหญ่ในอนาคต 

 

ทั้งสาม subtheme เสนอ ชื่อของ session ในการประชุม    และ กิจกรรมที่จะดำเนินการในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔   สำหรับเก็บข้อมูลไปประชุม Organizing Committee เพื่อร่วมกันออกแบบการประชุมช่วงปลายเดือนที่ภูเก็ต   

วางแผนอนาคต (ที่ไม่แน่นอน) กันว่า PMAC 2022 จะเป็นการประชุมแบบลูกครึ่ง (hybrid) โดยสถานที่ประชุมอยู่ที่ภูเก็ต    มีคนมาประชุมที่ภูเก็ตเพียง ๓๐๐ คน    หากสถานการณ์ของโควิดเอื้ออำนวย     หากสถานการณ์ไม่เอื้อ ก็เป็นการรประชุมเสมือนอย่างเดียว         

วิจารณ์ พานิช

๒๕ พ.ค. ๖๔   

 

 

หมายเลขบันทึก: 691161เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2021 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2021 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท