บันทึกครั้งที่ ๙ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา แนะนำองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก และการออกข้อตกลงใหม่


ประเทศไทยยังมีพันธกรณีตามการเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศ ที่จะต้องออกกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท ต่อไปในอนาคต องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ตัวย่อ WIPO เป็นหน่วยงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติ มีบริษัทแม่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา WIPO เกิดขึ้นในปี 1883 เนื่องจากความจำเป็นสำหรับการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญาระดับนานาชาติ ซึ่งสนับสนุนสนธิสัญญาปารีสว่าด้วยการป้องกันทรัพย์สินอุตสาหกรรม และสนธิสัญญาBerne ว่าด้วยการป้องกันงานประพันธ์และงานศิลปะ

กฎหมายระหว่างประเทศ เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (เฉพาะบางส่วนในองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก)

 ผมได้ค้นหาข้อมูลทางเวปไซด์ต่างๆ โดยขอเริ่มจากข้อมูลความรู้พื้นฐานก่อนครับ  ที่  http://www.nsru.ac.th/nsrubi/article/

หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้ให้ข้อมูลเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาไว้ดังนี้

1. ทรัพย์สินทางปัญญาคืออะไร


                
ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์อีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น นาฬิกา รถยนต์ โต๊ะ เป็นต้น และอสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น
 

2. ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
 

                 โดยทั่วๆ ไป คนไทยส่วนมากจะคุ้นเคยกับคำว่า "ลิขสิทธิ์" ซึ่งใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยที่ถูกต้องแล้วทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ที่เรียกว่า ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และลิขสิทธิ์ 

                 ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ไม่ใช่สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม แท้ที่จริงแล้ว ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมนี้ เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม ความคิดสร้างสรรค์นี้จะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ซื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม จึงสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ 

                สิทธิบัตร (Paent)

                เครื่องหมายการค้า (Trademark)

                แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout - Designs Of Inegrated Circuit)

                ความลับทางการค้า (Trade Secrets)

                สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indicaion)
 

3. ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภท

                 ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ลิขสิทธิ์ยังรวมทั้ง 

                 สิทธิค้างเคียง (Neighbouring Right) คือ การนำเอางานด้านลิขสิทธิ์ออกแสดง เช่น นักแสดง ผู้บันทึกเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ในการบันทึกหรือถ่ายทอดเสียงหรือภาพ 

                 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program หรือ Computer Software) คือ ชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน 

                 งานฐานข้อมูล (Data Base) คือ ข้อมูลที่ได้รับเก็บรวบรวมขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ 

                 สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือ ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด 

                 การประดิษฐ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกลของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ 

                 การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการทำให้รูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์เกิดความสวยงาม และแตกต่างไปจากเดิม 

                 ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย 

                 แบบผังภูมิของวงจรรวม หมายถึง แผนผังหรือแบบที่ทำขึ้น เพื่อแสดงถึงการจัดวางและการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้า เช่น ตัวนำไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน เป็นต้น 

                 เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้า หรือบริการ ได้แก่ 

                 เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น โค้ก เป๊ปซี่ บรีส แฟ้บ เป็นต้น 

                 เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับการบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น 

                 เครื่องหมายรับรอง (Certification mark) คือเครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ เป็นต้น 

                 เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัทปูนซิเมนไทย จำกัด เป็นต้น 

                 ความลับทางการค้า หมายถึง ข้อมูลการค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป และมีมูลค่าในเชิงพาณิชย์เนื่องจากข้อมูลนั้นเป็นความลับ และมีการดำเนินการตามความสมควรเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ 

                 ชื่อทางการค้า หมาถึง ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น โกดัก ฟูจิ เป็นต้น 

                 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทน แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เช่น มีดอรัญญิก ส้มบางมด ผ้าไหมไทย แชมเปญ คอนยัค เป็นต้น 

                * ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายให้ความคุ้มครอง

ทรัพย์สินทางปัญญา 4 ฉบับ คือ

1.       พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542

2.       พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537

3.       พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

4.       พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2543 

                 นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีพันธกรณีตามการเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศ ที่จะต้องออกกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท ต่อไปในอนาคต

 เริ่มต้นจากประวัติองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก โดยสังเขป ที่เวปไซด์ http://columbia.thefreedictionary.com/World+Intellectual+Property+Office  

World Intellectual Property Organization (WIPO), specialized agency of the United Nations, with headquarters at Geneva. WIPO became an agency in 1974, but its roots go back to 1883 when the need for international protection of intellectual property prompted the Paris Convention for the Protection of Industrial Property and to 1886 with the Berne Convention for the Protection of Literary and Artistic Works. Both conventions created international bureaus, which merged (1893) to become the United International Bureau for the Protection of Intellectual Property (BIRPI). In 1960, BIRPI moved from Berne to Geneva and a decade later it became WIPO. Today's organization administers intellectual property matters recognized by United Nations member states, managing international treaties that deal with some aspect of intellectual property protection. WIPO also assists governments, organizations, and the private sector in monitoring developments in the field. It not only helps to protect such traditional works of the mind as patented inventions, books, music, works of art, films, industrial designs, and trademarks, but is increasingly involved in the protection of information technology and World Wide Web–related matters. WIPO has 175 member nations.

ผมขออนุญาตแปลคร่าวๆ ดังนี้

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ตัวย่อ WIPO เป็นหน่วยงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติ มีบริษัทแม่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา WIPO เกิดขึ้นในปี 1883 เนื่องจากความจำเป็นสำหรับการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญาระดับนานาชาติ ซึ่งสนับสนุนสนธิสัญญาปารีสว่าด้วยการป้องกันทรัพย์สินอุตสาหกรรม และสนธิสัญญาBerne ว่าด้วยการป้องกันงานประพันธ์และงานศิลปะ วันนี้ WIPO บริหารจัดการปัญหาทรัพย์สินทางปัญญาที่ยอมรับโดยสมาชิกของ UN   จัดการข้อตกลงระหว่างประเทศหรือการเจรจาเพื่อตกลงกัน ในหลักเกณฑ์ทิศทางด้านการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญา   WIPO ช่วยรัฐบาล องค์การ และภาคเอกชน ในการติดตามการพัฒนาในเรื่องนี้  ไม่เพียงช่วยป้องกัน traditional works of the mind ดังการประดิษฐ์ที่เป็นสิทธิบัตร, หนังสือ, เพลง, งานศิลปะ, ภาพยนตร์, การออกแบบอุตสาหกรรม, และเครื่องหมายการค้า, แต่ยังเกี่ยวข้องกับการป้องกันเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร และปัญหาที่สัมพันธ์กับ World Wide Web  ปัจจุบันมีสมาชิก 175 ชาติ 

จากนั้น ได้ขออนุญาตแนะนำข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ในเวปไซด์ของ WIPO ที่  http://www.wipo.int/portal/index.html.en

 

Press Release 470

Geneva, December 12, 2006

IGC Addresses Core Issues for the Protection of Traditional Knowledge and Traditional Cultural Expressions

A key committee of the World Intellectual Property Organization (WIPO), meeting in Geneva from November 30 to December 8, 2006, agreed upon a new approach to their work on intellectual property and traditional knowledge (TK) and traditional cultural expressions (TCEs) (also termed 'expressions of folklore').The Intergovernmental Committee on Intellectual Property and Genetic Resources, Traditional Knowledge and Folklore (IGC) adopted two lists of issues that it agreed would be the focus of its future discussions. These sets of issues (to be posted shortly at www.wipo.int/tk) represent a way forward for discussion as they provide a systematic approach to the fundamental policy choices that member states will have to make in developing or enhancing protection of TK and TCEs.

The IGC requested delegates and observers to provide input on these core issues, which cover such questions as definitions of traditional knowledge and traditional cultural expressions, the form and scope of protection, and the nature of the beneficiaries, up to the end of March 2007. These comments will be posted on the WIPO website upon receipt and made available to member states by the end of April 2007.

With regard to the question of genetic resources, the committee requested the secretariat to prepare a working document listing options for continuing discussions or further work, including in the area of the disclosure requirement and alternative proposals for dealing with the relationship between IP and genetic resources; the interface between the patent system and genetic resources; and the intellectual property aspects of access and benefit-sharing contracts. This will be submitted for the IGC’s consideration at its next meeting. The committee also requested the secretariat to provide a factual update of international developments relevant to IP and genetic resources. The committee has in the past developed valuable resources in this field, including a WIPO Technical Study on Disclosure Requirements commissioned by the Conference of Parties of the Convention on Biological Diversity (www.wipo.int/tk/en/publications/technical_study.pdf).

This was the first IGC meeting that included participation funded through the voluntary fund, which seeks to enhance participation of indigenous and local communities in the work of the IGC. Details of the operation of the voluntary fund are available at http://wipo.int/tk/en/ngoparticipation/voluntary_fund/index.html. The committee opened its work with a panel of indigenous and local community representatives from Bangladesh, Canada, Ecuador, Nigeria, Papua New Guinea, Peru and the Ukraine, chaired by Mr. Rodrigo de la Cruz, a Kichwa person from Ecuador, who emphasized the role of indigenous customary law as the basis for appropriate protection in the panel summary he presented to the committee.

The next session of the IGC will take place from July 3 to 12, 2007. This will be the final working session of the IGC before it reports to the WIPO Assemblies meeting in autumn 2007. In 2005, WIPO member states renewed the mandate of the IGC for an additional two years, agreeing to accelerate its work in establishing a concrete outcome with a particular focus on the international dimension.

For further information please contact the Media Relations and Public Affairs Section at:

 
  • Tel: (+41 22) - 338 81 61 or 338 95 47
  • Fax: (+41 22) - 338 82 80
  • Email: [email protected].
 ผมขออนุญาตสรุปเนื้อความพอสังเขป คือ มีการตีพิมพ์เอกสารข้อตกลงจากการประชุมคณะกรรมการของ WIPO ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 30 พ.ย.498 ธ.ค.49 เกี่ยวกับ Core Issues for the Protection of Traditional Knowledge and Traditional Cultural Expressions (เอกสารหลัก ว่าด้วยการป้องกันความรู้ทางประเพณี และการแสดงออกทางวัฒนธรรมประเพณี)  โดย Intergovernmental Committee on Intellectual Property and Genetic Resources, Traditional Knowledge and Folklore  (IGC)  ที่เห็นด้วยกับวิธีการใหม่ในการทำงานของเขาในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และความรู้ทางวัฒนธรรม และ การแสดงออกทางวัฒนธรรมประเพณี รายละเอียดอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ www.wipo.int/tk
หมายเลขบันทึก: 69017เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2006 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ตอนนี้ที่ประเทศไทยเราเป็นภาคีขององค์การการค้าโลก WTO ทำให้เราต้องยอมรับอนุสัญญา TRIPs (Trade related Intellectula Propertys)

ซึ่งทำให้ประเทศไทยเราต้องออกกฎหมายเพื่อรองรับทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ นอกจากที่คุณชัยวัฒน์ ยกขึ้นมานะคะ

1.พระราชบัญญัติความลับทางการค้า 2545 (Trade Secret)

2.พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 2546 -ซึ่งที่กรมทรัพยฺสินทางปัญญาประกาศขึ้นทะเบียนแล้วได้แก่ กาแฟดอยตุง ไวน์ที่ราบสูงภูเรือ

http://www.ipthailand.org/dip/index.php?option=com_docman&task=cat_view&gid=87&Itemid=162

 

 

คือผมมีเรื่องที่ต้องขอความช่วยเหลือจากท่านผู้รู้ทั้งหลายครับ

ตอนนี้เรามีปัญหาเรื่องเครื่องหมายการค้ากับต่างประเทศ คือ ไต้หวัน

เราได้จดเครื่องหมายการค้า jungle ape ไว้้

แล้วมีการผลิตสินค้าออกจำหน่ายทั่วทังในและต่างประเทศ

ตั้งแต่ ปี 2005 แต่มีคนที่ไต้หวั่นนำเครื่องหมายการค้าของเราไปจด

แต่เขาเอาไปจดแต่ช่ือไม่ได้มีโลโก้ แต่ของเราจะมีโลโก้รูปลิงด้วย

ปัญหาเพิ่งเกิดเมื่อไม่นานนี้ลูกค้าเราที่ไต้หวั่นบอกว่าของที่ส่งไป

ไม่สามารถเข้าประเทศได้ เพราะเป็นที่ไต้หวันมีคนจดเครื่องหมายการค้านี้

ดังนั้นของเราจึงกลายเป็นของปลอมไปโดยปริยาย จึงไม่สามารถเขาประเทศไปจำหน่ายได้

จากกรณีนี้เราสามารถคัดค้านได้หรือไม่

แล้วเราสามาถขอยื่นจดแทนที่เขาได้มั้ยครับ

ขอความกรุณาไขข้อค้องใจด้วยครับ

การเข้าร่วมอนุสัญญากรุงเบิร์น

มีผลยังไงบ้างกับ

กรณีที่มีคำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศของประเทศสมาชิก

แล้วผลคำพิพากษาของประเทศสมาชิกมันขัดแย้งกัน(ผลตรงกันข้ามกันเลย)

มีทางออกทางไหนได้บ้าง

เช่น

ศาลไทยให้จำเลยซึ่งเป็นคนสัญชาติมาเลเซียชนะคดี

ส่วนศาลมาเลเซียให้คนสัญชาติไทยชนะ

แล้วจะบังคับตามคำพิพากษาของศาลใด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท