วิวัฒน์
ทันตแพทย์ วิวัฒน์ ฉัตรวงศ์วาน

สรุปบทเรียน 2 ปี


การทำงานพัฒนาสังคมต้องเริ่มด้วย “ ใจ ”
การสัมผัสความจริงเป็นฐานให้เกิดปัญญา คนทุกคนมีคุณค่าและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์มนุษย์มีศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ที่ดีต้องประกอบด้วยอิสรภาพหลุดจากการครอบงำที่ทำให้ไม่สามารถสัมผัสความจริงการสัมผัสความจริงเป็นฐานให้เกิดปัญญาจากหนังสือ ธรรมชาติของสรรพสิ่งและการเข้าถึงความจริงทั้งหมดศ.ประเวศ  วะสีจากเมล็ดพันธุ์.............. สู่ต้นกล้าที่งดงาม          พวกเราถูกชักชวนเข้ามาทำโครงการนี้  โดยไม่มีใครรู้เลยว่าจะทำอย่างไร  ต้องลองผิดลองถูก ทุกคนเต็มไปด้วยคำถามในใจ งานประจำที่ล้นมือ และ ก็ไม่รู้ว่างานนี้เขาทำกันอย่างไร         หลังจากที่ได้ฟัง อ.ประเวศ วะสี  พูดถึงแนวทางมรรค 8 แห่งการสร้างสุขภาวะ  ก็เริ่มมองเห็นว่า  หนทางที่เราจะเดินไป ไปทางไหน ต้องผ่านอะไรบ้าง  จุดหมายปลายทางเป็นอย่างไร  ขณะเดียวกัน อ.ทวีศักดิ์  นพเกสร  ได้เชื่อมโยงความคิดของเราทำให้เราเห็นภาพที่ชัดขึ้น  ขณะนี้เรายืนอยู่ที่ไหน  เรือสาธารณสุขของเราที่กำลังแล่นไปขณะนี้  มีรูรั่วตรงไหนบ้าง  กำลังจะไปเจอพายุและหินโสโครก  ทำให้เกิดแรงผลักดัน  ที่จะร่วมมือเป็นเครือข่าย  เพื่อช่วยกันอุดรูรั่ว  และหันหัวเรือไปสู่จุดหมายปลายทาง  เรียนรู้ร่วมกัน...คือเครื่องมือในการปฏิบัติที่เราได้มา   เครือข่ายอีสานล่างประกอบด้วย  พี่อ้อย พี่ยา  แกนนำสำคัญจาก ชมรมพยาบาลชุมชน  ทีมจากขุขันธุ์  แกนหลักคือ เภสัชกรเด่นชัย และ พี่อารี  ทีมจากบุรีรัมย์ พี่ธาดา นักวิการสาธารณสุข ที่ สสอ.เมืองบุรีรัมย์ และพี่ๆจากโรงพยาบาลบุรีรัมย์  และทีมจาก สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติหนองบัวโคก อีกสองคนที่ขาดไม่ได้คือ  พี่รัตนา  คุณหมอที่โรงพยาบาลปากช่อง ซึ่งชอบงานชุมชนเป็นชีวิตจิตใจ  พี่รัตนา จะเป็นคนที่ถอดบทเรียนได้ดีมาก เป็นคุณลิขิตประจำเครือข่าย  และ พี่จิ๋น คุณหมอธนพงษ์  เป็นวิทยากรประจำเครือข่าย  ที่มองทุกอย่างได้อย่างเชื่อมโยง  และสรุปออกมาให้เห็นอย่างเป็นระบบ  และผมที่ทำหน้าที่เป็นคนประสานงาน เป็นทันตแพทย์ที่ทำงานเฉพาะทางในโรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่        พวกเราเลือกที่จะเริ่มเรียนรู้ที่พื้นที่  หนองบัวโคก  ทุกครั้งเรานัดกันที่หน้าโรงพยาบาลมหาราช เหมารถตู้กันไป พอทุกคนพร้อม เราก็ออกเดินทาง  พร้อมด้วย หมูปิ้ง ข้าวเหนียว และน้ำเต้าหู้ ที่ขายอยู่หน้าโรงพยาบาล  บางครั้งอาจจะมี  ขนมครก  พวกเราออกเดินทางด้วยความครึกครื้นเสมอ หนองบัวโคกเป็นเทศบาลใน  อำเภอจัตุรัส  จังหวัดชัยภูมิ   อยู่ติดกับอำเภอด่านขุนทด  จังหวัดนครราชสีมา  พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณสี่แยก  ถนนสี่แลน รถวิ่งเร็ว  เป็นทางผ่านที่สำคัญ  รถที่มาจากกรุงเทพๆ ถ้าจะไป ชัยภูมิ หรือ เลย ต้องผ่านที่นี่  เราเริ่มจากการเข้าไปทำประชาคม ก่อนทำประชาคม  ทีมหนองบัวโคก  นำโดยพี่คมกฤต และพี่ทองดี  ได้เข้าไปเรียนรู้ชุมชน โดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้นทางมานุษยวิทยา  แล้วมาสรุปให้พวกเราฟัง             แผนที่เดินดินทำให้เห็นภาพของชุมชนชัดขึ้นมาก              คนทำรู้สึกดีมาก              เข้าใจมิติของชุมชน ของสังคม         เพียงแค่โอกาสที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข               ได้เข้าไปสัมผัสชุมชนอย่างแท้จริง               ก็มีคุณค่ามากมายแล้ว                                             คือคำกล่าวของคนที่สัมผัสชุมชนจริงๆ    หลังจากนั้นเราได้ทำประชาคม ชุมชนเห็นว่าเรื่องที่อยากแก้ปัญหาคือเยาวชน          จึงนำมาสู่ค่ายเยาวชนในเวลาต่อมา จากค่ายเยาวชน เกิดการรวมกลุ่มกันเป็นชมรมดนตรี ชมรมกีฬา  ๆลๆทำกิจกรรมต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน                             ขุขันธ์                    อำเภอขุขันธ์  เป็นอำเภอขนาดใหญ่ลำดับที่ 2  ของจังหวัดศรีสะเกษ  มีประชากร 150,286 คน  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา  เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลทำนาจะอพยพแรงงานไปทำงานที่กรุงเทพฯ  ในชนบทจึงเหลือเฉพาะคนแก่  และเด็กเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งต้องอยู่เลี้ยงดูหลาน  ในขณะที่วัยแรงงานออกไปรับจ้างที่กรุงเทพฯ                     โรคไข้เลือดออก  เป็นปัญหาที่สำคัญของอำเภอขุขันธ์  และใช้จ่ายงบประมาณสูงมาก  เช่น ในปีงบประมาณ 2546 และ 2547  .ขุขันธ์ใช้งบประมาณสำหรับแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกสูงถึง 1,685,510 บาท และ 1,391,592 บาท  ตามลำดับ  แต่ถ้ารวมถึงงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว  ค่าใช้จ่ายโดยรวมจะสูงกว่านี้มาก  นอกจากเรื่องค่าใช้จ่ายในการทำงานแล้ว  โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่กระทบกับคนทุกคน  ในอดีตที่ผ่านมาบทบาทการแก้ปัญหาส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องทำงานเองเกือบทั้งหมด  ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการทำงานน้อย  และวิธีการทำงานไม่ได้แตกต่างจากเดิม คือ เน้นการใส่ทรายอะเบท  การพ่นด้วยสารเคมี  และการประชาสัมพันธ์ทั่วไป  มีการกำหนดกลวิธี  กิจกรรมการแก้ปัญหาจากบุคลากรสาธารณสุข  ขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน                   ปัจจุบัน  การทำงานในชุมชนของบุคลากรด้านสุขภาพ  .ขุขันธ์ยังมีน้อย  ส่วนใหญ่เน้นให้บริการในโรงพยาบาลและสถานีอนามัย  ทั้งๆที่ทุกคนยอมรับว่าการสร้างสุขภาพ  นำซ่อมสุขภาพ  การทำงานในชุมชน  คือ วิธีการที่สำคัญในการทำงานเพื่อสร้างสุขภาพดี  ทำอย่างไรบุคลากรสาธารณสุขจะให้ความสนใจ  และเกิดความสุขในการทำงานกับชุมชน                    การศึกษาเรื่องโรคไข้เลือดออก  โดยอาศัยกระบวนการจัดการความรู้  และการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง  เป็นกรณีศึกษาหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ทำงานและชาวบ้านเกิดความสุขในการทำงาน  และเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชุมชน  นำไปสู่การทำงานเพื่อสร้างสุขภาวะชุมชนในอื่นๆ  และพื้นที่อื่นๆต่อไป  เครือข่ายขุขันธ์  เป็นเครือข่ายที่มีความเข้มแข็งมาก  ประกอบด้วยทีมงานที่เป็นสหวิชาชีพ มีการขยายเครือข่ายจน  กลายเป็นโครงการต่างๆมากมาย บุรีรัมย์คือจุดที่เราใช้เป็นที่ประชุมเครือข่ายอยู่เสมอๆ  เนื่องจากเป็นจุดที่อยู่ตรงกลางในลักษณะของพื้นที่ ของเครือข่ายอีสานล่าง  ทุกคนเดินทางสะดวก และมีห้องประชุมที่เหมาะสม  นอกจากนี้  บุรีรัมย์  เป็นจุดที่มีทุนทางสังคม คือ ปราชญ์ ชาวบ้านอยู่หลายท่านเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ดีมาก การขยายเครือข่าย............................พี่จอนสัน  ทันตแพทย์ที่อำเภอโชคชัย  ก็เป็นอีกคนที่ทำงานชุมชนมานาน จนมีความเข้าใจ  ในการทำงานชุมชนอย่างแท้จริง  ได้เข้าไปในชุมชนแต่ไม่ได้มองแค่งานทันตกรรมเพียงอย่างเดียว  ได้กระตุ้นให้ชุมชนคิดโครงการต่างๆมากมาย เช่น ไข้เลือดออก  เบาหวาน ๆลๆ เพื่อแก้ปัญหาของตนเอง        .......................เมื่อเข้าไปพบ  จึงถูกชักชวนให้มาร่วมเครือข่ายกับเรา จากการที่เครือข่ายเราได้มีโอกาส  ได้นำเสนอผลงานเครือข่าย  ในงานสร้างสุข ภาคอีสาน ณ ห้างสรรพสินค้า The mall นครราชสีมา  ได้มีน้องเปเล่ ซึ่งทำโครงการเกี่ยวกับเยาชน ในจังหวัดอุบลราชธานี  ได้เข้ามาคุย และได้เสนอโครงการเข้ามา           และจากการ ได้มีโอกาสได้ไปเยี่ยมโรงเรียนบ้านขมิ้นโนนหัวนา จังหวัดขอนแก่น  เป็นพื้นที่ที่ดีมา  ผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นคนในพื้นที่และมีความตั้งใจในการพัฒนาโรงเรียน และชุมชน  อีกทั้งชุมชน ก็เป็นชุมชนที่อยู่กันอย่างเข้าใจธรรมชาติ  จึงเป็นอีก 1 พื้นที่ ที่ถูกหมายตาไว้  ...........................บทเรียนจากการเรียนรู้ แนวคิดที่ชัดเจนเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญการที่ได้ อาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่าน ได้มาชี้แนะพวกเราทำให้เราเดินไปไม่หลงทาง การทำงานพัฒนาสังคมต้องเริ่มด้วย ใจตามข้อ 1 ของมรรค 8 ที่ท่านอาจารย์ประเวศ  วะสีได้ให้แนวทางไว้ ทุกคั้งที่เจออุปสรรค  ทุกครั้งที่รู้สึกท้อ  หลักข้อนี้จะถูกนำมาทบทวนอยู่เสมอๆ ความเป็นเจ้าของโครงการ และ จัดการด้วยตนเอง ของชุมชน( Ownership  and Empowerment ) เป็นเงื่อนไขของความสำเร็จและยั่งยื่นการสร้างเสริมสุขภาพที่แท้จริงโครงการสร้างเสริมสุขภาพที่แท้จริงนั้น  ต้องทำให้เกิด  Ownership and Empowerment  ชุมชนต้องรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ และแก้ไขและจัดการด้วยตนเอง  โครงการนั้น จึงจะยั่งยืนและเกิดขึ้นจริง  การบริหารจัดการที่ดี ส่งผลต่อประสิทธิภาพของโครงการการวางแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน การติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ  ทำให้เราใช้เงิน เวลา และทรัพยากรณ์ อย่างเต็มประสิทธิภาพ    กองหลังที่เข้มแข็ง มีส่วนหล่อลื่นให้ กองหน้าบุกไปได้อย่างไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลังการมีระบบ ธุรการ  การเงิน ที่ดี  ทำให้คนที่ทำงานในพื้นที่ทำงานอย่างสบายใจ  การบริหารความสุขของสมาชิก  ทำให้งานเดินหน้าไปอย่างที่ทุกคนมีความสุข  และภาคภูมิใจ ความต่อเนื่องสม่ำเสมอ (  Continuity and Consistency )คือสิ่งสำคัญ

การประชุมสม่ำเสมอทำให้เครือข่ายเข้มแข็ง

ทกครั้งที่การจัดประชุมแลกเปลี่ยนความรู้มีการพบปะพูดคุยปฏิสัมพันธ์เราจะรู้สึกดีเสมอ  รู้สึกมีกำลังใจต่อไปที่จะทำงานนี้  ไอเดียดีๆ   ผุดขึ้นมากมาย   จากการได้พบหน้าพูดคุยกัน พวกเราคือตัวประสาน และให้น้ำมันหล่อลื่นบทบาทของทีมสุขภาพ  ต้องแสดงบทบาทของคุณอำนวย กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชน  ไม่ใช่คนทำโครงการเสียเอง  และงบประมาณที่ให้กับชุมชนจะใช้เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ศึกษาดูงาน การทำงานต้องมีความรัดกุม ชัดเจน และยืดหยุ่น บนพื้นฐานความคิดที่ว่าทุกคน ตั้งใจเสียสละมาเพื่อนำชุมชนไปสู่สุขภาวะ ความหลากหลาย คือ ความมีชีวิตชีวา และ ความเข้มแข็งทั้งความหลากหลายของทีมงาน และความหลากหลายทางความคิด

 

 

 

...............................กับความเป็นเครือข่าย

 เครือข่าย  คือ  ขบวนการทางสังคมอันเกิดจากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  กลุ่มองค์กร  สถาบัน โดยมีเป้าหมาย  วัตถุประสงค์ และความต้องการบางอย่างร่วมกัน ร่วมกันทำกิจกรรมบางอย่าง โดยที่สมาชิกของเครือข่ายยังคงเป็นเอกเทศไม่ขึ้นต่อกัน เครือข่ายที่ดี  จึงต้องประกอบด้วย  มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนร่วมกัน  มีการสื่อสารแบบใดแบบหนึ่งเพื่อการดำรงอยู่ของเครือข่าย  มีความรู้สึกผูกพัน และมีความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการร่วมกันสิ่งที่ยังขาดอยู่ของเครือข่ายอีสานล่างคือ  ช่องทางการสื่อสารที่สม่ำเสมอ และ ความรู้สึกเป็นเจ้าของ

โครงการที่ดีหรือเครือข่ายคงอยู่

โครงการส่วนใหญ่ที่เสนอเข้ามาให้พิจารณา  มักจะเป็นโครงการที่ทำกับเจ้าหน้าที่เป็นส่วนใหญ่  ซึ่งโครงการที่ดีที่ต้องการโครงการที่เข้าถึงชุมชนจริงๆ  แต่จากประสบการณ์ที่ได้มาทำให้รู้ว่าความคงอยู่ของเครือข่ายต้องมาก่อน  โครงการอาจไม่ดีที่สุดแต่พอยอมรับได้เพราะถ้าถึงคนอยากจะให้ทำโครงการที่เราให้ว่าดีเครือข่ายต้องแตกแน่นอน

เครือข่ายพยาบาลชุมชน

พี่อ้อย พี่ยาเป็นแกนหลักในชมรมพยาบาลชุมชนถือเป็นกำลังสำคัญหรืออาจจะสำคัญที่สุดก็ว่าได้ของเครือข่ายอีสานล่าง  พี่ทั้ง  2  มีประสบการณ์สูงและเป็นคนช่วยเติมทุกส่วนที่ยังขาดอยู่  มีส่วนอย่างมากที่ทำให้เครือข่ายสามารถดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่นแต่เนื่องจากในเวลาต่อมาชมรมพยาบาลชุมชนได้รับงบประมาณจาก สสส. เพื่อทำโครงการพยาบาลชุมชนกับงานวิจัยเชิงคุณภาพ  19  ล้านบาท  ซึ่งสูงกว่างบประมาณเครือข่ายอีสานล่างได้รับหลายเท่า  ทำให้ระยะหลังๆ เมื่อติดต่อเชิญพี่อ้อยกับพี่ยาไปร่วมเครือข่ายก็มักจะติดงานของชมรมพยาบาลอยู่เสมอ  แม้ว่าพี่เขาจะไม่ได้บอกว่าจะแยกตัวไปทำแต่เมื่อชวนไปหลายครั้งๆ  ทำให้เรารู้เองโดยปริยายว่าพี่เขาไปแน่แล้วและพี่อ้อยกับพี่ยาก็ทำได้ดีด้วย  ผลงานของชมรมพยาบาลเป็นที่ยอมรับและยกย่องจากหลายๆ  ฝ่าย  ถึงแม้ในเชิงนโยบายทาง  สสส.  อยากจะให้มีการเชื่อมกันระหว่างเครือข่ายให้มากที่สุดแต่ถ้าหากพี่อ้อยกับพี่ยายังช่วยงานของเครือข่ายอีสานล่างอยู่  งานของชมรมพยาบาลอาจจะไม่ออกมาดีอย่างทุกวันนี้เพราะต้องแบ่งเวลามา   ไม่สามารถทุมให้กับงานของชมรมพยาบาลได้เต็มที่เมื่อทางชมรมพยาบาลประสบความสำเร็จแล้ว  เราก็ได้มีการนัดทานอาหารกันเพื่อพยามยามเชื่อมเครือข่าย   แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่สำเร็จ  แต่พี่อ้อยกับพี่ยาเป็นที่ปรึกษาที่ดีเสมอเพราะเมื่อยามผมต้องการความช่วยเหลือหรือต้องการข้อมูลอะไรก็จะโทรศัพท์ไปหาพี่อ้อยกับพี่ยาบ่อยๆ และก็ได้รับคำแนะนำดีๆ ทุกครั้งครือข่าย   กับ การจัดการความรู้ตอนเริ่มโครงการทุกคนไม่รู้ว่าการจัดการความรู้คืออะไร  และโครงการที่เราจะทำ  จะเป็นอย่างไร  และไม่มีใครบอกเราได้ว่าโครงการการจัดการความรู้เพื่อสุขภาวะชุมชน  จะต้องทำแบบไหน  เรารู้แต่เพียงว่า  ต้องเรียนรู้เอง   ในช่วงแรกคุณหมอทักษพลได้เชิญ  อ.วิจารณ์  พานิช  มาคุยให้เราฟัง  ว่าการจัดการความรู้คืออะไรและควรจะเริ่มอย่างไร  แม้ว่าจะไม่กระจ่างนัก  แต่เรารู้ว่าเราต้องเริ่มลงมือทำ เพราะ  การจัดการความรู้ ไม่ทำไม่รู้ ต่อมาได้มีโอกาสอ่านหนังสือการจัดการความรู้ฉบับมือใหม่หัดขับของ  อ.ประพนธ์  ผาสุขยืด  ได้เห็น Model ปลาทูถึงกับปิ๊ง อ๋อการจัดการความรู้  มี 3 ส่วนสำคัญ  หัวปลาทู ( K vision ) คือเป้าหมาย  ตัวปลาทู ( K sharing ) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหางปลาทู  ( K assets ) คลังความรู้  เมื่อนำมาเทียบกับโครงการเรา  K vision  เราทำโครงการเพื่อสร้างเครือข่ายสุขภาพไปกระตุ้นนำให้ชุมชนไปสู่สุขภาวะ  และเราจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสม่ำเสมอ  ส่วนคลังความรู้แม้จะยังไม่ดีนักเรารู้ว่ามันคือจุดอ่อน  และพยายามกำจัดจุดอ่อนนั้นอย่างเต็มกำลัง  แต่การทำให้สมาชิกเครือข่ายทุกคนรู้เรื่องการจัดการความรู้เป็นเรื่องที่ยากพอดู  คุณหมอธนพงษ์  ช่วยเราได้มากเพราะทุกครั้งที่เราจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  KM  จะถูกทบทวนอยู่เสมอโดยคุณหมอธนพงษ์  มีอยู่วันหนึ่งได้มีโอกาสไปอบรมเรื่องแผนที่ผลลัพธ์ของ  อ.อรทัย  ตกเย็นอาจารย์เลี้ยงข้าวต้มอ.อรทัยเล่าให้ฟังว่ามีการจัดงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่1  แต่ไม่เห็นพวกเราที่งานเกี่ยวกับงาน KM ไม่เข้าประชุมเลย  ทำให้ผมสนใจมากและตั้งใจว่าจะเข้าร่วมประชุมในงานนี้ให้ได้   ในปีต่อมาเมื่อผมเห็นโปสเตอร์ติดประกาศงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 2   จัดที่โรงแรมมิราเคลแกรนด์ผมจึงรีบสมัครทันทีและชวนแกนสำคัญของเครือข่ายอีสานล่างเข้าร่วมคณะด้วย  ในงานนี้ได้มีโอกาสคุยกับคุณหมอชาตรีจากจังหวัดน่านกับลุงยงค์ ประยงค์ รณรงค์  เจ้าของรางวัลแม็กไซไซ สาขาผู้นำชุมชน ปี พ.ศ. 2547 รู้สึกว่าโชคดีมากคุณหมอชาตรีเป็นคนที่มีความคิดดีๆ  มากมายในการนำ Blog  มาใช้ประโยชน์  และได้คุยซักถามกับลุงยงค์ ประยงค์ รณรงค์ กันตัวต่อตัวซักถามถึงงานที่ท่านทำมาทำให้ได้รับรู้จากประสบการณ์ของท่านมากมาย  ได้มีโอกาสฟัง อ.ประพนธ์  และ อ.อนุวัฒน์  พูดถึงตัวชี้วัดกับการจัดการความรู้  รู้สึกสนุกและได้ความรู้จากการฟังมาก  อ.ประพนธ์กล่าวว่า   อะไรที่วัดได้เราใช้การจัดการ  อะไรที่วัดไม่ได้เราใช้ภาวะผู้นำ   อ.อนุวัฒน์กล่าวว่า  เราต้องรู้ว่าจะวัดไปเพื่ออะไรเพราะเราไม่จำเป็นต้องวัดทุกอย่างและไม่ใช่ทุกอย่างที่วัดได้

 

การประสานแนวราบ  ทำให้สมาชิกในเครือข่ายยังคงอยู่

การประสานงานโดยผ่านคำสั่งจากหัวหน้าหน่วยงานและหนังสือราชการทำให้ไม่ได้ตัวจริง  และก็จะหลุดหายไปในเวลาต่อมา  การโทรศัพท์ไปหรือเจอหน้ากันพูดคุยโดยตรงจะได้ตัวจริงและโทรคุยอย่างสม่ำเสมอ  ทำให้สมาชิกเครือข่ายยังคงอยู่

 

การเข้าไปสัมผัสชุมชนอย่างแท้จริง  เป็นประตูสู่งานชุมชนที่ดี

เครื่องมือ 7 ชิ้น  ทางมานุษยวิทยาที่ถูกนำมาใช้โดยคุณหมอโกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์  จึงเป็นเครื่องที่ดีชิ้นหนึ่งที่ทำให้ได้เข้าสัมผัสชุมชนอย่างแท้จริง  เช่นเดียวกับการเข้าไปเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพของชมรมพยาบาล  ทำให้รู้สึกและสิ่งดีๆ มากมายจากชุมชน แต่การเข้าไปสัมผัสชุมชนให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงนั้น  ต้องใช้เทคนิคและวิธีการพอสมควร  เนื่องจากข้อมูลมีทั้งหน้าบ้าน และหลังบ้าน  ที่เห็นและรับรู้อาจไม่ใช่ความจริง  เราจะเข้าไปแก้ปัญหาของเขาได้อย่างไร  ถ้าเราไม่สามารถเข้าถึงความจริงของเขาได้ ปัจจัยสู่ความสำเร็จมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เป็นคนที่ทำงานในพื้นที่นั้นมานาน  และตั้งใจจะอยู่ยาว เข้าไปในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ อุปสรรคขวางกั้นงานประจำที่ล้นมือเป็นอุปสรรคที่สำคัญ  เพราะงานจะออกมาดีได้ต้องการทุ่มเทอย่างจริงจัง ซึ่งต้องอาศัยเวลา  ทำไปแล้วคุ้มหรือไม่โครงการที่ทำงานกับชุมชนมักถูกตั้งคำถามอยู่เสมอว่าคุ้มหรือไม่  พวกเราเอาเงินไปแบ่งกันหรือไม่  ทำโครงการจริงหรือปล่าว   เวลาพูดถึงการคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ  เขาวัดกันที่เม็ดเงิน  แต่โครงการที่ทำกับชุมชน  วัดเป็นม็ดเงินไม่ได้  ยืนยันว่าคุ้ม   แต่ที่ได้กลับมาวัดเป็นเม็ดเงินไม่ได้  หากแต่เป็นเม็ดของ จิตสำนึก  จิตสาธารณะ  เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง  เพื่อที่จะเข้าใจตนเอง นำไปสู่สุขภาวะของชุมชน ...............................................................................มองไปข้างหน้า บูรณาการโครงการ  เข้าให้ถึงแก่นในสิ่งที่ทำประสานให้เนียนเข้าไปในงานประจำก่อนอื่นต้องทำให้คณะทำงานเครือข่าย  เข้าถึง  ออกแบบชีวิต และ ใช้ชีวิต ในแนวทางสุขภาวะจริงๆ  จนสามารถดึงตัวเองให้ออกมาจากงานประจำ และงานส่วนตัวที่ล้นมือ ต่อ
หมายเลขบันทึก: 69015เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2006 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท