"เดินตามรอยพ่อ" ด้วยการใช้อารมณ์ขันเป็นศิลปะในการทำงานสังคม


ร่วมกิจกรรมกับเครือข่ายชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่อย่างมีความหมายและตายดี วันนี้มีกิจกรรมเปิดไพ่รุ้งใบที่ 6 วันนี้พบกับคำว่า “อารมณ์ขัน”

แต่ก่อน สมัยหนุ่มๆเป็นคนไม่ค่อยมีอารมณ์ขัน คือจริงจังกับงาน กับโลกมาก ทำอะไรก็มักจะสุดโต่ง

พอตอนนี้ หนุ่ม (เหลือ) น้อยลง หลายเรื่องก็วางได้มาก บางเรื่องก็ยังซีเรียส แต่ก็พยายามทำให้ตัวเองมีอารมณ์ขันมากขึ้น ทั้งในหมู่เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน และคนในบ้าน

จะว่าไป อารมณ์ขันนี่เป็นอารมณ์เชิงบวก ถือเป็นกุศลแบบหนึ่ง ซึ่งตรงข้ามกับอารมณ์โกรธ หรือแม้แต่อารมณ์เครียดที่เป็นอกุศล (เว้นแต่เป็นอารมณ์ขันแบบ “ตลกร้าย” คือ หัวเราะบนความทุกข์ของคนอื่น บางทีเราก็อาจจะลืมไป เพราะมุขตลกร้าย บางทีมันก็แทรกอยู่ในชีวิตประจำวัน บางทีเราก็หัวเราะแต่ไม่ทันระวังว่า เออ มันมีอคติซ่อนอยู่ในนั้นนะ เช่น ขำที่เด็กๆทำของตก หัวเราะที่เห็นคนอ้วนนั่งเก้าอี้แล้วเก้าอี้พัง คือคนที่ถูกหัวเราะเขาคงไม่ได้ตลกไปด้วย อันนี้ก็ต้องระวัง เท่าทันอารมณ์ขันเราด้วย)

นี่ก็เป็นตัวอย่างการใช้อารมณ์ขันเป็นอาภรณ์แห่งสติได้นะ

ต้นแบบของปูชนียบุคคลที่ให้คุณค่ากับอารมณ์ขันที่ผมระลึกถึงตลอดก็คือ ในหลวง รัชกาลที่ 9

เรามักจะเห็นภาพท่านทรงงานหนัก แต่ถ้าใครเป็น FC ที่ศึกษาวิธีคิดของพระองค์ก็จะพบว่า ในอีกด้านท่านก็ให้ความสำคัญกับความร่าเริง เบิกบาน และอารมณ์ขันอยู่ไม่น้อย

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เล่าถึงบทเรียนที่พระองค์ท่านเคยสอนไว้ว่า พระองค์ชี้ให้พวกเราร่าเริง รื่นเริง คึกคัก และคึกครื้น สิ่งเหล่านี้ จะช่วยทำให้งานสำเร็จ ร่าเริงคือร่าเริงกับตัวเอง รื่นเริงคือรื่นเริงในกลุ่ม ยิ้มหัวเราะให้เพื่อนร่วมงาน ทำงานต้องให้ความรื่นเริง ยิ่งหากมีความคักคึกและคึกครื้นก็จะทำให้มีพลังทำงานอย่างเกิดผลด้วย ฉะนั้นจะทรงบอกว่า “ทำงานต้องสนุกนะ ไม่สนุกเดี๋ยวจะเบื่อ งานจะไม่สำเร็จเอา” จึงทรงมีพระอารมณ์ขันทุก 1-2 นาทีมาตลอดให้คณะข้าราชบริพารผู้ติดตามได้มีอารมณ์ขันอยู่เสมอ

อารมณ์ขันจึงไม่ใช่เรื่องไร้สาระเลย แต่ยังเป็นหนึ่งในหลักการทรงงานของพระองค์ท่าน

ใครตั้งปณิธาน “เดินตามรอยพ่อ”

อย่าลืมข้อนี้นะครับ

cr. ภาพจาก springnews


#21วันพารุ้งมาพบใจ

#CoCoขะใจ๋

#ชุมชนกรุณา

#เดินตามรอยพ่อ

หมายเลขบันทึก: 689909เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2021 19:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2021 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท