หากตื่นขึ้นมาพบว่ากิจการร้านหนังสือลดราคาถูกไฟไหม้เสียหายจะทำอย่างไร


ฝันร้ายของธุรกิจร้านหนังสือลดราคา จากเหตุการณ์ไฟไหม้ขึ้นมาแล้ว หากไม่คิดในเรื่องบริหารจัดการด้านความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแล้วผลเสียหายต่อกิจการอย่างมากมายจนยากที่จะรับมือไหว

Take Home Final  ปีการศึกษา  2 / 2549

BUSI 0722   Business Law 

คำถาม หากกิจการของท่านที่ทำอยู่เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ขึ้นมา ท่านจะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร                

      หากกิจการร้านหนังสือลดราคาเกิดไฟไหม้ขึ้นมา ทำให้ร้านได้รับความเสียหายทั้งหมดขึ้นมาแล้ว เราในฐานะเจ้าของกิจการที่ต้องรับผิดชอบในการแก้ไขและจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่จะต้องดำเนินการและจัดการอย่างเร่งด่วนที่สุดเนื่องจากเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่มีการเตรียมตัวมาก่อนรวมถึงปัญหาอื่น ๆ ที่จะตามมาอีกมากมาย ทั้งนี้ต้องตั้งสติและคิดอย่างมีกระบวนการในการแก้ไขปัญหาอย่างรอบคอบ เป็นระบบ และมีขั้นตอนในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้มีแนวทางที่จะจัดการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนรวมถึงได้รับการทดแทนกับความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้รับความเสียงมาก               

     สิ่งแรกที่จะต้องดูเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นมาแล้วกับกิจการของเรา ได้มีการแจ้งให้เจ้าหนี้ที่ที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการในการดับเพลิงและตรวจพิสูจน์หาหลักฐานแล้วหรือยัง ลำดับต่อมาต้องตรวจดูและประเมินความเสียหายของกิจการในเบื้องต้นและกิจการได้ทำประกันภัยในเรื่องอัคคีภัย (การประกันความเสี่ยง) ไว้หรือไม่ มีอายุและความคุ้มครองอยู่หรือไม่ วงเงินเท่าไร เงื่อนไขในการประกันอย่างไรบ้าง มีขอบเขตในการคุ้มครองทรัพย์สินอะไรบ้าง เช่นตัวอาคาร ทรัพย์สินภายในร้าน และสินค้าต่าง ๆ ในร้านและ จะเรียกร้องค่าเสียได้มากน้อยแค่ไหนและได้เมื่อไร ใครเป็นผู้รับผลประโยชน์               

     สิ่งต่อมาได้แก่ประเด็นในทางกฎหมายที่รัฐจะเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งกฎหมายแพ่ง ได้แก่ การชดใช้ หรือการได้รับการชดเชยค่าเสียหาย กฎหมายอาญาได้แก่ การรับผิดในความประมาทจนทำให้เกิดอัคคีภัยขึ้น และ พรบ. ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่ พรบ. ว่าด้วยการออกแบบและการควบคุมอาคาร การอนุญาตให้เข้าใช้อาคารได้เมื่อไร การจ่ายค่าใช้จ่ายในการดับเพลิง รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบกับชุมชนใกล้เคียง และการจัดการของกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งเป็นกฎหมายที่รัฐจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับเราในฐานะเจ้าของกิจการทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะอยู่ในสถานะผู้ทำให้เกิดความเสียหายหรือผู้ได้รับความเสียหาย

 -          หากเราตกอยู่ในฐานะของผู้ทำให้เกิดความเสียหายคือเป็นร้านต้นเพลิง ความรับผิดก็จะมาอยู่ที่เราเป็นอันดับแรกในฐานะเจ้าของกิจการก็จะต้องถูกสอบสวน สอบปากคำเพื่อ หาข้อมูลและ พยานหลักฐานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแม้ว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำหรือเกิดจากความประมาทของพนักงานของเราหรืออุบัติเหตุก็ตาม จนกว่าจะมีการพิสูจน์หลักฐานจากทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างนี้เราต้องหาข้อมูลในระหว่างการสอบสวนและแนวทางในการต่อสู้คดีทั้งกับตัวเราเองหรือพนักงานของเราซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆที่จะตามมาทั้งความผิดทางแพ่งและอาญามีการรับโทษและการชดใช้ค่าเสียหายมีคนได้รับอันตรายและเสียชีวิตในครั้งนี้หรือเปล่าซึ่งจะเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเรื่องค่ารักษาพยาบาลของผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตอีก

-          หากเราเป็นผู้ได้รับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่น หรือเกิดจากอุบัติเหตุก็แล้วแต่ เราจะได้รับ    ความคุ้มครองและการชดเชยค่าเสียหายอย่างไรและต้องเรียกร้องเอาจากใครได้อีกโดยที่รัฐจะเข้ามาช่วยจัดการหรือไม่ในการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ในวงเงินอื่น ๆ นอกจากการประกันภัยปกติที่มีนอกจากนี้เราต้องดูอีกว่ามีพนักงานของเราเองได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอีกหรือไม่ เรามีสวัสดิการด้านไหนที่จะชดเชยได้บ้างและหากไม่สามารถที่จะประกอบกิจการต่อไปต้องเลิกจ้างพนักงานจะต้องทำอะไรจ่ายค่าชดเชยเท่าไร

     นอกจากในเรื่องของกฎหมายที่มีรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องแล้วยังต้องมีปัญหาในเรื่องของสัญญาต่าง ๆ ที่เราต้องจัดการต่อได้แก่ บรรดาสัญญาต่างที่เรามีกับบุคคลภายนอก เช่น

1.       ร้านที่เราใช้ประกอบกิจการนั้นเช่าหรือซื้อ ความเสียหายที่เกิดขึ้นใครต้องรับผิดชอบ สัญญาเป็นอย่างไร  ใครได้รับผลประโยชน์ในส่วนไหน ใครคือผู้เสียหายที่แท้จริงที่มีการตกลงกันในเรื่องการทำสัญญาเช่าตั้งแต่ต้นและการสิ้นสุดของสัญญา

2.       ต้องดูร้านที่เกิดเหตุหรือสาขาที่มียอดขายอยู่ในระดับใด ความเสียหายจะส่งผลกระทบกับสาขาอื่น ๆ ที่เราเปิดดำเนินการ โดยที่สาขาอื่นสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้มากน้อยแค่ไหน

3.       เจ้าของสำนักพิมพ์ที่ส่งหนังสือมาให้  ต้องจ่ายค่าเสียหายหรือไม่เป็นจำนวนเท่าใด

4.       บรรดาเจ้าหนี้เงินทุนต่าง ๆ ที่เรานำมาใช้เพื่อประกอบกิจการ ต้องส่งตามกำหนดหรือขอผ่อนผันออกไป รวมถึงหุ้นส่วน

5.       สามารถที่จะลงทุนประกอบกิจการต่อไปได้หรือไม่ หากสามารถดำเนินการต่อไปจะทำอย่างไร เริ่มเมื่อไรต้องมีการวางแผนในการลงทุนต่อไปอย่างรวดเร็วที่สุด หากไม่สามารถดำเนินการได้ต้องเลิกไปจะมีกระทบต่อพนักงานที่ต้องตกงาน ฐานข้อมูลของลูกค้าที่มีจะทำอย่างไร

6.       ข้อมูลเอกสารสัญญาต่าง ๆ ยังมีอยู่หรือไม่ที่จะใช้ในการระงับข้อพิพาทและการต่อสู้คดีต่อไป

7.       หุ้นส่วนทางธุรกิจที่ร่วมทุนกับเราจะยอมลงทุนในการประกอบกิจการต่อไปหรือไม่หากบางคนถอนตัวจะทำอย่างไร จัดหาคนหุ้นส่วนใหม่

     นอกจากนี้เราจะต้องดูในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายสาธารณะอีกด้วยซึ่งสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เป็นอย่างดีในการเริ่มก่อตั้งกิจการโดยเราสามารถรับรู้ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าถึงแม้จะไม่เกิดขึ้นจริง แต่เราบริหารจัดการไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบหากเกิดปัญหาขึ้นเราสามารถที่จะจัดการได้อย่างดีและมีขั้นตอนที่ชัดเจนมีแนวทางแก้ไขและสามารถที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้โดยที่ไม่ต้องมีหนี้สินจนกิจการล้มละลายตามอัคคีภัยที่เกิดขึ้น แต่หากไม่มีการประกันภัยในเรื่องการประกันความเสี่ยงแล้ว หากเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ในครั้งนี้แล้วกิจการจะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้และไม่เกิดความเชื่อถือในสาขาอื่น ๆ ที่เปิดดำเนินการได้

 

 

หมายเลขบันทึก: 68878เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2006 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท