สะท้อนความรู้จากหัวข้อ Perspective on health practice in occupational therapy during the COVID-19 pandemic


Telehealth คือ บริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลจากโรงพยาบาลหรือสถานรักษาพยาบาล ในปัจจุบัน telehealth ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในช่วงยุคของ Covid-19 เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และประหยัดเวลาในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ สามารถทำการรักษาที่ไหนก็ได้ ที่สำคัญคือได้เห็นผู้รับบริการในบริบทและสถานที่จริง 

Telehealth in OT ช่วยไกด์ให้ผู้รับบริการใช้ชีวิตที่บ้านได้ง่ายขึ้น อาจจะต้อง set goal ในการรักษาใหม่ เช่น ผู้รับบริการสามารถรับประทานอาหารได้อย่าง independent โดยใช้ telehealth

การรักษา 3 รูปแบบ 

  1. Parent coaching เป็นการ discuss กับผู้ปกครอง ตั้งเป้าประสงค์ร่วมกัน และ OT ให้ feedback ผู้ปกครอง 
  2. Teletherapy รักษาผ่านการทำกิจกรรม เช่น เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อโดยการให้กิจกรรมปั้นแป้งโด และให้เด็กปั้นตาม มักจะทำในเด็กโต
  3. Counselling ให้คำแนะนำกับผู้ปกครอง ว่าควรให้กิจกรรมประมาณไหน และสัปดาห์ถัดไป OT จะให้ผู้ปกครอง feedback การให้กิจกรรม 

Telehealth session 

  1. เริ่มต้นจากการทำความคุ้นเคยกับเด็กก่อน
  2. ประเมินเด็กและผู้ปกครอง บอกขอบเขตของการทำกิจกรรมในวันนี้ ให้ผู้ปกครอง feedback ตัวเอง 

Telehealth in OT process 

  1. ใช้ในการประเมินผู้รับบริการ 
  2. Consultation ให้คำแนะนำในการดูแล 
  3. Monitoring เช่น การให้ home program, ให้ feedback 
  4. Intervention เช่น Program การติดต่อญาติในผู้สูงอายุ, ให้ถ่ายรูปบริเวณบ้านที่เสี่ยงในการล้ม แนะนำปรับสภาพบ้าน 

- ฝ่ายกาย CIMT ส่งอุปกรณ์การประเมินไปให้ผู้รับบริการ ประเมิน FIM, Fugl ก่อนเพื่อดู performance ในการทำกิจกรรม 

- ฝ่ายเด็ก เช่น การใช้ Timocco game set-up ในการให้การรักษา 

TIPS 
- ทำ Overplan เหมือนการทำ Activity analysis มาก่อน เพื่อที่จะได้ Grade activity ได้ทันเมื่อกิจกรรมยากหรือง่ายเกินไป 

- OT ต้องศึกษาการใช้งาน program ต่างๆ เพื่อให้รู้ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง มีลูกเล่นอะไรบ้าง หากผู้รับบริการไม่มี อาจส่งอุปกรณ์ไปให้ หรือหาซื้อสิ่งของง่ายๆที่ใช้แทนกันได้ 

** ขั้นตอนที่สำคัญในการรักษาคือ การสัมภาษณ์สร้างปฏิสัมพันธ์ และการให้คำปรึกษา  

*OT ควรยอมรับในความหลากหลายของผู้รับบริการ ต้อง adapt สิ่งที่ผู้รับบริการมี ไม่ใช่การเปลี่ยนทุกอย่างของเขา 

Teleconsultation 

การวางแผนกับสหวิชาชีพก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ เช่น แต่ละวิชาชีพลงชุมชนกันคนละวัน แต่สามารถใช้ telehealth ในการนำข้อมูลมาประสานงานกัน เพื่อวางแผนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดให้กับผู้รับบริการ ตัวอย่างเช่น 

Health promotion การกิจกรรมส่งเสริมที่จัดโดยอสม.พยาบาล และมีนักกิจกรรมบำบัดเป็นผู้เข้าไปให้คำแนะนำ 

Healthcare เช่น การเข้าไปดูแลสุขภาพของผู้รับบริการที่บ้าน รวมถึงดูสภาพแวดล้อมภายในบ้าน 

Teleconsultation เช่น มีapplication สำหรับให้caregiverได้ใช้งาน มีการใช้งานง่าย อย่าง cares4caregiver

Telerehabilitation การใช้อุปกรณ์ทางไกลเพื่อรักษา ให้ home program และผู้รับบริการยังได้ฝึกในสถานที่จริง บริบทจริง 

 

 

หมายเลขบันทึก: 688408เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2021 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2021 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จากการอ่านบทความข้างต้น ฉันรู้สึกชื่นชมที่ผู้เขียนบทความมีการยกตัวอย่างกิจกรรมในการรักษาผู้รับบริการในรูปแบบต่างๆเช่น teletherapy ทำให้เห็นภาพได้ชัดยิ่งขึ้น และฉันรู้สึกเห็นด้วยกับการที่OTจะต้องศึกษาการใช้งานโปรแกรมต่างๆเพื่อให้รู้ว่าสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น

บทความอ่านง่ายกระชับมีตัวอย่างชัดเจน ทำให้เห็นภาพได้ง่าย มีการสรุปประเด็นไว้เป็นข้อ ๆ

จากการอ่านบทความของรมิตา เห็นด้วยกับประเด็นนำเทคนิคteleconsultationมาใช้ ในการลงชุมชน เพราะสามารถเพิ่มความสะดวกสบายในการติดตามอาการของผู้รับบริการหรือการให้คำแนะนำต่างๆ สำหรับผู้รับบริการที่มีความยากลำบากในการเดินทาง แต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการเข้าถึงเทคโนโลยี เช่น สัญญาณอินเตอร์เน็ตหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในผู้รับบริการที่อาศัยอยู่ไกลมากๆหรือขาดแคลนทุนทรัพย์ และมีความคาดหวังว่าในอนาคตต่อไปทางรัฐบาลและบุคลากรทางการแพทย์จะร่วมกันพัฒนาหรือหาทางแก้ไขปัญหาต่อไปเพื่อเสริมสร้าง สุขภาวะที่ดี(well being)ให้แก่ทุกคน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท