สะท้อนการเรียนรู้จาก Perspective on health practice in Occupational therapy during the COVID-19 pandemic


จากการศึกษาในหัวข้อ Telehealth หรือโทรเวชกรรม หากจะขอเกริ่นก่อน ว่าโทรเวชกรรมนั้นคือ คือ การนำเทคโนโลยีที่ช่วยให้ทางฝั่งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถสื่อสารถึงกันได้แบบมองเห็นหน้าและสื่อสารกันได้ทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและการเดินทาง ซึ่งในตอนนี้การใช้งานโทรเวชกรรมเริ่มมีการนำออกมาปรับใช้กันมากขึ้นเพราะสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 

ซึ่งหากจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรักษาโดยเฉพาะผู้ป่วยที่อาศัยในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลจากพื้นที่โรงพยาบาล ผู้รับบริการเหล่านั้นก็สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ตลอด24ชั่วโมงผ่านทางแอพพลิเคชั่นร่วมกันกับทีมสหวิชาชีพ อีกทั้งยังลดเวลาในการไปรอคิวและการเดินทางมาโรงพยาบาลก็ฟังดูแล้วน่าจะเป็นข้อดีอยู่ แต่ว่าข้อด้อยก็ยังพบเห็นได้อยู่บ้าง ได้แก่ ขั้นตอนในการประเมินบางขั้นตอนที่ต้องทำการประเมินทางกายภาพ หรือการทำหัตถการบางชนิดที่ต้องใช้อุปกรณ์บางอย่างนั้นทางฝั่งของผู้รับบริการเองก็อาจไม่มีพร้อมพอที่จะนำมาใช้ในการฝึกก็เป็นได้ แต่จุดด้อยที่สำคัญที่สุดที่ผมคิดก็คือในประเด็นของเรื่องทุนทรัพย์และความรู้ในการใช้งานอุปกรณ์สำหรับการโทรเวชกรรมของทางผู้รับบริการซึ่งเป็นหน้าที่ของเราที่ควรจะคำนึงถึงบริบทของผู้รับบริการในเรื่องนี้ด้วย อีกทั้งในระหว่างของการบริการ เช่น การฝึกกิจกรรมบำบัดผ่านโทรเวชกรรมยังมีปัญหาในบางประการอีกด้วยอย่างเช่นในการฝึกกับผู้บริการเด็กที่ต้องใช้สมาธิในการจดจ่อ หรือแม้แต่ตารางเวลาของผู้ปกครองของผู้รับบริการที่อาจจะไม่ว่างตรงกับเวลาในการฝึก ความอดทนของผู้ปกครองในการช่วยเหลือครอบครัวบุตรหลาน และหัตถการที่ต้องใช้ตัวของผู้บำบัดในการช่วยฝึก ดังนั้นการประยุกต์ในการฝึกได้อย่างยืดหยุ่นจึงเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่เราจะต้องคิดแก้ไขเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถได้ประโยชน์สูงสุดของการฝึกผ่านโทรเวชกรรมในสถานการณ์เช่นนี้

กระนั้นเองถึงสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 จะหมดลงไปแล้ว ผมคิดว่าการใช้โทรเวชกรรมเองก็ยังคงเป็นตัวเลือกที่หน้าสนใจสำหรับในพื้นที่ห่างไกลในหลายพื้นที่ซึ่งมีความลำบากต่อการเดินทางเข้ามาสู่พื้นที่ของโรงพยาบาลทั้งด้วยอาจจากสาเหตุใด ๆ หรือจากตามความสนใจและความแตกต่างของเวลาของทั้งสองฝ่าย โดยอุปสรรคเหล่านี้อาจมาได้จากทั้งปัจจัยทางสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางกายภาพของผู้รับบริการอันเป็นอุปสรรค การพัฒนาวิธีการของทางฝั่งบุคลากรทางการแพทย์ให้เบนเข้าหากลุ่มผู้รับบริการเหล่านี้ซึ่งมีข้อจำกัดจากทางปัจจัยต่าง ๆ มากมายจึงเป็นสิ่งท้าทายที่เราควรจะให้ความสนใจและร่วมกันพัฒนาต่อไปเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของสองฝ่ายที่จะได้ร่วมกัน

6123011

หมายเลขบันทึก: 688403เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2021 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2021 10:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

จากบทความข้างต้น เห็นด้วยกับผู้เขียนที่ว่า หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ลดลงแล้ว การให้บริการผ่าน Telehealth หรือ โทรเวชกรรม ก็ยังเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการให้บริการกับผู้รับบริการที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและมีความยากลำบากในการเดินทางมายังพื้นที่ของสถานพยาบาล แต่ทั้งนี้ ผมคิดว่าด้วยข้อจำกัดบางประการของโทรเวชกรรม จึงควรพิจารณาการให้บริการในผู้รับบริการเป็นรายกรณีไป หากพิจารณาแล้วว่าการให้บริการทางโทรเวชกรรมอาจทำให้ประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาลดน้อยลง การเลือกวิธีการลงชุมชน หรือจัดทีมสหวิชาชีพเพื่อเข้าถึงชุมชนที่ห่างไกลนั้น ๆ ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจเช่นกัน

เห็นด้วยแนวคิดที่กล่าวว่าจะใช้การให้บริการผ่าน Telehealth ในพื้นที่ห่างไกล เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการให้บริการทางการแพทย์ เพื่อลดข้อจำกัดของทั้งบุคลกรทางการแพทย์ และตัวผู้รับบริการเองไม่ว่าจะเป็นการในเรื่องค่าใช้จ่าย การเดินทาง เวลา สถานที่ แต่ก็ต้องพิจารณาในด้านความพร้อมของผู้รับบริการ ความพร้อมของอุปกรณ์ ช่องทางติดต่อสื่อสาร อินเทอร์เน็ต คุณภาพในการให้การบำบัดรักษาด้วย

จากบทความข้างต้น เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่ว่าเราจะต้องมีการแก้ปัญหาในการประยุกต์การฝึกได้อย่างยืดหยุ่น เพื่อให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์สูงสุดจากการฝึก Telehealth และมีการพัฒนาวิธีการของทางฝั่งบุคลากรทางการแพทย์ให้เบนเข้าหากลุ่มผู้รับบริการที่อยู่ในพื้นที่ไกลจากโรงพยาบาลหรือไม่สะดวกเดินทางมาโรงพยาบาล

เห็นด้วยกับบทความด้านบนในเรื่องข้อด้อยของ Telehealth ที่ว่าการประเมินผ่าน Telehealthนั้นยังมีข้อจำกัดอยู่คือ ผู้รับบริการอาจไม่มีเครื่องมือสำหรับทำการประเมิน และความพร้อมในด้านทุนทรัพย์และความพร้อมในด้านอิเล็คโทรนิคส์

เห็นด้วยกับการใช้ Telehealth เเม้จะไม่มีช่วง COVID เพราะ Telehealth ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกเเม้จะหมด COVID ไปเเล้ว เช่น ใช้สำหรับผู้รับบริการที่ไม่สะดวกมาพบเนื่องจากร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวมาพบผู้บำบัดได้ หรือการเดินทางไกลเป็นไปได้ลำบาก

เห็นด้วยกับบทความข้างต้น ในเรื่องการนำ Telehealth มาใช้เพื่อให้ผู้รับบริการในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดข้อจำกัดต่างๆที่ทำให้ผู้รับบริการมีความยากลำบากแต่ได้รับการรักษาจากทีมสหวิชาชีพได้ง่ายขึ้น

เห็นด้วยกับบทความข้างต้น ในเรื่องการนำ Telehealth มาใช้เพื่อให้ผู้รับบริการในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดข้อจำกัดต่างๆที่ทำให้ผู้รับบริการมีความยากลำบากแต่ได้รับการรักษาจากทีมสหวิชาชีพได้ง่ายขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท