สะท้อนการเรียนรู้ในหัวข้อ Perspective on Health Practice in Occupational Therapy during the COVID-19 Pandemic


Session1 อ.ปวีณา 

          ได้เรียนรู้ตั้งแต่ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง ให้การบำบัดอย่างมั่นใจ รวมถึงเรายังต้องมี space ระหว่างผู้บำบัดกับผู้ปกครอง เพื่อรักษาบทบาทของผู้บำบัดไว้ ต้องคุยกับเด็กและผู้ปกครองว่าจะทำ telehealth มีการ set goals ใหม่ๆ การทำ telehealth ช่วยให้ปลอดภัยจาก COVID19 สามารถทำการบำบัดที่ไหนก็ได้ ยืดหยุ่นตารางการบำบัดได้ ปรับใช้กับบริบทจริงๆของผู้รับบริการได้เลย รวมถึงประหยัดเงินและเวลา แต่จำกัดในการทดสอบด้านกายภาพ อุปกรณ์ ส่วนมากต้องการความช่วยเหลือจากผู้ดูแล telehealth มีอยู่ 3 platforms

  • parent coahing เป็นการพูดคุยกับผู้ปกครองเรื่อง goal จะให้กิจกรรมอะไร จากนั้นให้ผู้ปกครองทำกิจกรรมกับเด็ก หลังทำกิจกรรมแล้วผู้ปกครองมาพูดคุย feedback กับผู้บำบัด
  • teletherapy ผู้บำบัดทำกิจกรรมกับเด็กโดยตรง แต่ต้องเป็นเด็กโต หรือเด็กที่มี cognitive ค่อนข้างดี มีผู้ปกครองอยู่ข้างๆ
  • counselling ให้คำแนะนำผู้ปกครอง 

          ก่อนที่จะเริ่มทำ telehealth ในแต่ละครั้ง ต้องมีการส่ง email ให้ผู้ปกครองก่อน 1 วัน เป็นแผนกิจกรรมที่จะทำในวันนั้น และอุปกรณ์ที่ผู้ปกครองต้องเตรียมให้เด็ก 

          กุญแจสำคัญในการทำ telehealth คือ เตรียมพร้อมเสมอ, SMART goal, มีความยืดหยุ่น, แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า, ทำให้ทุกอย่างเกิดขึ้นได้จริง

Session2 อ.กีรติ 

          Telehealth process มี evaluation, consultation, monitoring, intervention และยังได้ tips ในการทำ telehealth อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการคิดเผื่อหรือเตรียมมาก่อน เพราะในสถานการณ์จริง หากผู้รับบริการทำกิจกรรมเสร็จก่อนที่เราคิดว่า จะได้มีกิจกรรมให้ทำเพิ่มเติม ไม่มี deadair การเตรียมอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อม ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บำบัดและผู้ดูแลที่จะช่วยเหลือผู้รับบริการขณะทำการบำบัด กิจกรรมไม่จำเป็นต้องอยู่ที่หน้าจออย่างเดียว สามารถให้เตรียมกระดาษ กรรไกร มาทำกิจกรรมไปพร้อมๆกันได้ ใช้กิจกรรมที่ทำตามและเห็นได้ง่ายสามารถจัดการพฤติกรรมผู้รับบริการขณะทำกิจกรรมได้ ได้เรียนรู้ว่าเด็กอายุช่วงต่างๆ มีระยะเวลาการเรียนออนไลน์เท่าใด แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุ และได้เรียนรู้ขั้นตอนการสัมภาษณ์ ต้องถามอย่างไรให้ได้ข้อมูล รวมถึงเทคนิคการให้คำปรึกษา การตั้งคำถาม ควรเป็นคำถามปลายเปิด หลีกเลี่ยง”ทำไม” พูดทวนประโยคที่สำคัญ สะท้อนความรู้สึก สรุปใจความในการให้คำปรึกษา สำคัญที่สมาธิ ความจำ ตั้งใจฟัง และการจด

Session3 อ.ศุภธิดา 

          ได้เรียนรู้ประสบการณ์ของอาจารย์โม ที่ไปลงชุมชนตามบ้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงต้องทำงานร่วมกันกับสหวิชาชีพ อาจารย์ได้แนะนำ care4giver ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับผู้ดูแล ในแอพนี้ก็จะมีสิ่งที่ผู้ดูแลจำเป็นต้องจดบันทึก เช่น ยา การรับประทานอาหาร vital sign และที่พิเศษมากๆ คือ teleconsultation เป็นการ vdo call กับสหวิชาชีพ ได้ สามารถพูดคุยปัญหาต่างๆผ่านการ vdo call นี้ได้เลย แอปพลิเคชั่นนี้ช่วยประหยัดเวลา ลดความเสี่ยงในการติดโรค ง่ายต่อการติดต่อสหวิชาชีพ แต่อาจจะยากและซับซ้อนสำหรับผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญในการใช้ smart phone บางวิธีการรักษาก็จำเป็นต้องทำในสถาการณ์จริงเพื่อความปลอดภัย telehabilitation คือบริการฟื้นฟูสุขภาพ ช่วยเพิ่มศักยภาพของผู้ปกครองในการรับมือ ทำได้ในบริบทของผู้รับบริการจริงๆ แต่ต้องใช้ความอดทนของผู้ปกครอง ผู้รับบริการบางท่านทีมีช่วงความสนใจน้อย

          จากที่ได้เรียนรู้การทำ telehealth จากอาจารย์ทั้ง 3 ท่าน ซึ่งเป็นสิ่งที่นักศึกษาไม่เคยรู้มาก่อนว่าเป็นอย่างไร มีกระบวนการอะไร เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากๆในช่วง COVID19 นี้ ช่วยให้การบำบัดยังมีอย่างต่อเนื่องได้ โดยยังสามารถsocial-distancing ได้ ทำให้เห็นถึงกระบวนการต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย เทคนิคต่างๆมากมาย เราต้องเตรียมพร้อมสำหรับทุกสถานการณ์ มีความยืดหยุ่นเสมอ ไม่ว่าจะเจอเหตุการณ์อะไร ก็ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาไปตามสถานการณ์ การทำ telehealth ที่อาจจะเริ่มต้นจากการแพร่ระบาดของ COVID19 เมื่อจบจากการระบาดแล้ว อาจจะยังทำวิธีการแบบนี้ไปได้ต่อ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้บำบัดและผู้รับบริการ จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และสามารถนำไปใช้ในอนาคต กรณีที่ผู้รับบริการไม่สามารถเข้ามาหาผู้บำบัดที่คลินิค ก็สามารถยืดหยุ่นเป็นการให้บริการแบบ telehealth ได้

          สุดท้ายนี้ ขอขอบพระคุณอาจารย์ทั้ง 3 ท่านที่มาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาค่ะ


หมายเลขบันทึก: 688401เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2021 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2021 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จากการได้อ่านบทความนี้รู้สึกเห็นด้วยกับการทำ telehealth เนื่องจากเหมาะสมกับสถานการณ์ COVID-19 ในปัจจุบัน และแอพพลิเคชั่น care4caregiver ก็มีความน่าสนใจในการใช้บันทึกข้อมูลต่างๆทางการแพทย์อีกทั้งยังทำ teleconsultation กับทีมแพทย์ได้อีกด้วย

จากการได้อ่านบทความนี้ ทำให้ได้เห็นความสำคัญของ telehealth ได้การนำมาใช้ในการให้การรักษา และมีความจำเป็นมากขึ้นในช่วงวิกฤต Covid-19 เช่นนี้ สามารถทำการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง และได้ทำการรักษาในบริบทและสิ่งแวดล้อมจริงของผู้ปกครอง ไม่เพียงเท่านี้ยังมีความปลอดภัยกับโรคติดต่อร้ายแรงอีกด้วย

เห็นด้วยกับข้อมูลในส่วนที่ว่า การให้กิจกรรมผ่าน Telehealth นั้น กิจกรรมที่ให้ไม่จำเป็นต้องอยู่แต่ที่หน้าจออย่างเดียว สามารถใช้กิจกรรมอื่นได้ เล่น การตัดกระดาษแล้วทำไปพร้อมๆกับผู้บำบัด ใช้กิจกรรมที่สามารถทำตามและเห็นได้ง่าย เพื่อที่จะได้คอยสังเกตและจัดการกับพฤติกรรมขณะทำกิจกรรม ส่วนข้อมูลในส่วนอื่นสรุปได้ครบถ้วน เนื้อหาอ่านเข้าใจได้ง่าย มีการยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท