แนวทางและทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรมสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยอาศัยการสร้างสมดุลย์ให้เกิดขึ้นระหว่างองค์ประกอบหลักที่สำคัญ 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ พยายามสร้างสมดุลย์ให้เกิดขึ้นระหว่างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและการปกป้องรักษานิเวศและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกับสังคมไปพร้อมๆกัน โดยยึดหลักการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจด้วยวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรและลดการปล่อยมลพิษซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้อยู่อาศัยในสังคมใกล้เคียงดังกล่าว หลักการสร้างสมดุลย์ดังกล่าวข้างต้นได้ถูกประยุกต์เป็นหลักการเชิงทฤษฎีเรียกว่า ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) เป็นหลักการที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้การพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่ก้าวรุดหน้าเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดนั้นเดินควบคู่ไปได้พร้อมๆกับการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือหลักการดังกล่าวสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการให้ภาคธุรกิจต่างๆมีศักยภาพในการแข่งขันด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างกันควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนโลกใบนี้
ประวัติความเป็นมาและความหมายของประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ผมจะได้เล่าให้ฟังกันในตอนต่อไปครับ
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าดูได้ที่เวปไซด์ของศูนย์วิจัยและฝึกอบรมนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลครับ http://www.en.mahidol.ac.th/EI
ดร. กิติกร จามรดุสิต
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย กิติกร ใน ดร. กิติกร จามรดุสิต
คำสำคัญ (Tags)#การพัฒนาอย่างยั่งยืน#ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ#eco-efficiency
หมายเลขบันทึก: 68819, เขียน: 22 Dec 2006 @ 15:39 (), แก้ไข: 11 Feb 2012 @ 16:49 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 2, อ่าน: คลิก