การพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล แนวคิดและประสบการณ์ของพระจอมเกล้าธนบุรี ๑๐


ผมเห็นว่ามหาวิทยาลัยใช้เวลาน้อยมากในการเตรียมเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวิธีทำงานของคน การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงคือการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคล ในตัวระบบ ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางกฎหมายของมหาวิทยาลัยหรือสถานภาพทางกฎหมายของบุคคล ถ้าเราเปลี่ยนเฉพาะสถานภาพทางกฎหมายก็คงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง การเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐจะไม่เกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยและสังคม

มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลจะมีการรังแกกันในการประเมิน

          ความเชื่อนี้มาจากการไร้คุณธรรมของบุคคลในหน่วยงานรัฐที่เป็นส่วนราชการ และหวั่นกลัวกันต่อไปว่าจะลามมาถึงมหาวิทยาลัยในกำกับ  การรังแกกันหรือไม่ขึ้นกับคุณธรรมของคนที่อยู่ในแต่ละสังคมรวมทั้งระบบบริหารจัดการ

           ในสภาพที่สังคมไทยเป็นสังคมเปิดและจะถูกตรวจสอบมากขึ้น การวางระบบในมหาวิทยาลัยให้เกิดธรรมาภิบาล (Good Governance) และมีระบบการตรวจสอบ เป็นหลักประกันว่าพนักงานในระบบมหาวิทยาลัยในกำกับจะอยู่ได้และพัฒนาต่อไปด้วยความสามารถของตนเอง(merit system)

พนักงานในมหาวิทยาลัยในกำกับจะได้เงินเดือนสูง

          การที่คนทำงานแล้วได้รับผลตอบแทนมากน้อยเพียงใด ขึ้นกับประสิทธิภาพของคนทำงานและประสิทธิภาพของระบบ ถ้าสามารถวางระบบให้มีประสิทธิภาพ ให้คนทำงานที่มีประสิทธิภาพ ค่าตอบแทนควรจะได้สูงตามเหตุผล

          ถ้าพนักงานในมหาวิทยาลัยในกำกับจะได้รับค่าตอบแทนสูงขึ้น เป็นเพราะพนักงานทำงานมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น มีเกณฑ์และการประเมินที่ชัดเจน ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น  ไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเพราะมีการเปลี่ยนสภาพ

           การได้ค่าตอบแทนสูงขึ้นไม่ใช่วัตถุประสงค์และเป้าหมายของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล แต่เราจะต้องตระหนักว่ามหาวิทยาลัยจะพัฒนาได้  อาจารย์และเจ้าหน้าที่จะต้องมีคุณภาพ มีสภาพแวดล้อมทางวิชาการและการทำงานที่ดี บุคลากรอุทิศตัวให้กับงาน ไม่กังวลเรื่องการหารายได้เสริมจากงานอื่นๆ

การเปลี่ยนแปลงเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ
การเปลี่ยนสถานภาพทางกฎหมาย

          การเปลี่ยนแปลงเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับมีส่วนหลักสองส่วน คือ การเปลี่ยนสถานภาพทางกฏหมายของมหาวิทยาลัยและบุคคล และการเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวิธีทำงานของบุคคล (และระบบในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผลผลิตของบุคคล)

          ผมพบว่ามหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่งใช้เวลามาก เตรียมตัวเพื่อเปลี่ยนสถานภาพทางกฎหมายของมหาวิทยาลัยและบุคคล เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมร่างพระราชบัญญัติ กฎระเบียบด้านบุคลากร วิชาการ การเงินและทรัพย์สิน

          ผมเห็นว่ามหาวิทยาลัยใช้เวลาน้อยมากในการเตรียมเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวิธีทำงานของคน การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงคือการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคล ในตัวระบบ ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางกฎหมายของมหาวิทยาลัยหรือสถานภาพทางกฎหมายของบุคคล ถ้าเราเปลี่ยนเฉพาะสถานภาพทางกฎหมายก็คงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง การเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐจะไม่เกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยและสังคม

การเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวิธีทำงาน

          เพื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของคนในองค์กร มหาวิทยาลัยคงจะต้องมีเป้าหมายที่สูง ให้คนร่วมคิดและร่วมปรารถนาที่จะไปถึงร่วมกัน มิฉะนั้นคนจะนึกถึงผลประโยชน์ส่วนบุคคล (ซึ่งก็เป็นของปกติเพราะยังเป็นปุถุชนอยู่) โดยไม่นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์ขององค์กรหรือประโยชน์ระดับที่สูงกว่า การเปลี่ยนกระบวนทัศน์นี้คงจะมากับการสร้างเป้าหมายว่า มหาวิทยาลัยที่พึงปรารถนา
เมื่อมีการเปลี่ยนสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับแล้วเป็นอย่างไร 

 

ติดตาม การมีคำตอบเพื่อลดความกลัวการเปลี่ยนแปลง   ตอนต่อไป....

หมายเลขบันทึก: 68817เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2006 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท