การพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล แนวคิดและประสบการณ์ของพระจอมเกล้าธนบุรี ๘


ไม่ใช่ความจงใจของผู้หนึ่งผู้ใดที่จะทำให้เกิดแรงเสียดทานนี้ เป็นเรื่องลักษณะวิธีปฏิบัติและ mindset ของระบบราชการที่ไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่า"องค์กรหรือหน่วยงานในกำกับรัฐบาล" ระบบของรัฐรู้จักเฉพาะส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เมื่อต้องมาพบกับหน่วยงานในกำกับรัฐบาลก็จะปฏิเสธที่จะคิดต่อไป ให้เหตุผลหรืออ้างว่าระเบียบไม่ได้ครอบคลุมถึงหน่วยงานในกำกับรัฐบาล และก็หยุดอยู่เพียงแค่นั้น

ความยากลำบากและแรงเสียดทาน
งบประมาณเพื่อการเปลี่ยนสภาพ

          มจธ. เกิดขึ้นในสมัยที่เมืองไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างรุนแรงรัฐบาลและระบบราชการมีปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่ต้องแก้ไข การอุดมศึกษาซึ่งมีความสำคัญต่ำอยู่แล้วก็ย่อมสำคัญลดลง ต่างกับสภาพเศรษฐกิจและการเมืองเมื่อเกิด มทส. และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยบ้านเมืองมีเศรษฐกิจที่ดี รัฐลงทุนและชี้นำแก่ระบบราชการได้มาก

          มจธ.มีความยากยิ่งที่จะต้องเจรจากับรัฐบาลให้มีนโยบายชัดเจนและสั่งการกับหน่วยงานปฏิบัติให้มีการจัดงบประมาณหมวดเงินเดือนให้เพิ่มเติม โดยส่วนหนึ่งเป็นการเพิ่มเงินเดือนเพื่อชดเชยความเสี่ยงจากการเปลี่ยนสภาพข้าราชการซึ่งถูกจ้างตลอดชีวิตมาเป็นสภาพพนักงานที่มีสัญญาจ้าง อีกส่วนหนึ่งเป็นเงิน สวัสดิการทุกประเภท และเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

          ปกติรัฐจะต้องจ่ายเงินทั้งสองส่วนนี้อยู่แล้วจากงบกลาง ส่วนราชการไม่เห็นและไม่มีตัวเลขค่าใช้จ่ายนี้ จึงคิดกันแต่เพียงว่างบประมาณที่ขอจัดสรรเพิ่มนี้เอาไปเพิ่มเงินเดือนทั้งหมด

          นายกสภา มจธ. (เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ)คือ คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา อาจารย์หริส ในฐานะอุปนายกสภาและผมในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยในกำกับคนแรก ต้องชี้แจงกับฯพณฯนายก รัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานต่างๆหลายครั้งในช่วงเวลาถึง 17 เดือนหลังการเปลี่ยนสภาพของ มจธ. รวมทั้งมหาวิทยาลัยต้อง simulate ค่าใช้จ่ายบุคคลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตภายใต้ภาพฉายต่างๆ ชี้แจงกันหลายครั้งหลายครา จึงมีข้อยุติเรื่องหลักเกณฑ์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2542 ทั้งที่นายกสภา มจธ. เป็นผู้ที่นายกรัฐมนตรีให้การยอมรับอย่างสูง ผู้ที่เราจะต้องขอบคุณคือ ฯพณฯนายกรัฐมนตรี  ฯพณฯรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งรับผิดชอบรื่องมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลและ ฯพณฯรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย นายประจวบ ไชยสาสน์

          กล่าวโดยสรุป ค่าใช้จ่ายบุคคลเป็นเรื่องที่หน่วยงานรัฐบาลเป็นห่วงเป็นความเป็นห่วงที่มี เหตุผลในสภาพวิกฤติเศรษฐกิจและ track record ที่ไม่ดีของข้าราชการจำนวนมาก มจธ.ได้เงินเพิ่มค่าใช้จ่ายบุคคลภายใต้เงื่อนไข"ความสามารถของรัฐที่จ่ายเงินให้ได้ (Ability to Pay)" มากกว่าวงเงินที่ควรจะเป็น ท่านนายกสภา มจธ.ให้พวกเราตัดใจว่า ไม่สมควรไปตอแยรัฐบาลเพื่อขอเงินเพิ่มอีก เพราะรัฐบาลไม่มีเงินให้แล้ว ประเทศไทยยากจน ขอให้พวกเราสร้างมหาวิทยาลัยให้เข้มแข็งเปลี่ยนปัญญาและความรู้เป็นเงินมาสนับสนุนมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นจะดีกว่า

หน่วยงานรัฐไม่รู้จักหน่วยงานในกำกับรัฐบาล
          หลังจากเปลี่ยนสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลในเดือนมีนาคม 2541 มจธ.พบแรงเสียดทานจากระบบราชการเป็นระยะๆ ไม่ใช่ความจงใจของผู้หนึ่งผู้ใดที่จะทำให้เกิดแรงเสียดทานนี้ เป็นเรื่องลักษณะวิธีปฏิบัติและ mindset ของระบบราชการที่ไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่า"องค์กรหรือหน่วยงานในกำกับรัฐบาล" ระบบของรัฐรู้จักเฉพาะส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เมื่อต้องมาพบกับหน่วยงานในกำกับรัฐบาลก็จะปฏิเสธที่จะคิดต่อไป ให้เหตุผลหรืออ้างว่าระเบียบไม่ได้ครอบคลุมถึงหน่วยงานในกำกับรัฐบาล และก็หยุดอยู่เพียงแค่นั้น ปัจจุบันมีองค์กรมหาชนเกิดขึ้นมากขึ้น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับหน่วยงานในกำกับรัฐบาล ความเข้าใจจึงควรจะเพิ่มขึ้น ตัวอย่างของแรงเสียดทานที่พบได้แก่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ ประมวลรัษฎากร ระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการประกันบุคคล การชดใช้ทุนรัฐบาลของข้าราชการเมื่อเปลี่ยนสภาพเป็นพนักงานในหน่วยงานในกำกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นต้น

            แรงเสียดทานนี้โผล่ขึ้นเป็นระยะๆ เหมือนเดินไปแล้วก็พบตอไม้ทำให้สะดุดหรือเหมือนหนามที่คอยทิ่มตำ ต้องอดทนแก้ไปทีละเปลาะ อะไรที่แก้ไม่ได้ก็อดทนไว้ก่อน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541 รัฐบาลพยายามตั้งคณะกรรมการที่มีรัฐมนตรี ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยขุดตอหรือริดหนามเหล่านี้ทิ้ง แต่ความไม่ต่อเนื่องของรัฐมนตรี ทำให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้ช้ามาก 

วิชชาและอวิชชาเรื่องมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล
           นับตั้งแต่ผมเป็นอธิการบดีมาประมาณ 4 ปี ได้ไปบรรยายรวมทั้งมีคณะบุคคลมาขอทราบเรื่องการดำเนินงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐอาจจะถึงร้อยครั้ง มีคำถามที่เกิดขึ้นซ้ำและต้องตอบซ้ำ ๆ เกี่ยวกับความหมายของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล นอกจากนั้นเวลาพบผู้คนในสังคมทั้งข้าราชการ นักธุรกิจ ผู้ปกครอง นักเรียนประชาชนทั่วไป รวมถึงนักการเมือง ก็พบว่ายังมีความไม่เข้าใจเรื่องมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลกันอยู่

           Autonomy ของมหาวิทยาลัยในกำกับหมายถึงอะไร Autonomy ไม่ได้หมายความว่าเป็นอิสระ (independence) ทำอะไรได้ตามใจชอบ

           Autonomy ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องฟังรัฐบาล

           Autonomy ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้ถูกกำกับตรวจสอบโดยกลไกของรัฐ

           รัฐให้มหาวิทยาลัยดูแลเรื่องภายในได้เบ็ดเสร็จสามเรื่องคือ

  • วิชาการ(เช่นหลักสูตร หน่วยงาน)
  • ระบบบุคคล(การวางระบบ การได้มา เงินเดือนและการตอบแทน สิทธิประโยชน์) และ
  • การเงินทรัพย์สิน (การพัสดุ การบริหารงบประมาณ)

           รัฐยังกำหนดทิศทางและกำกับตรวจสอบ มหาวิทยาลัยต้องตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและของรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยนอกจากนั้น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินยังตรวจสอบการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย อีกประการหนึ่ง ในกรณีของมจธ. รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยแต่งตั้งกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน

 

ติดตาม อวิชชาที่ต้องปรับเพื่อให้เกิดวิชชา   ตอนต่อไป....

หมายเลขบันทึก: 68809เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2006 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 Happy New Year 2007 เรียนท่านคณบดี

 ประเด็น ความขัดแย้ง "นอก ใน ระบบ ระบอบ"

 เป็นเรื่องของ "การจัดการความไม่รู้ ของคนที่รู้ และ คนที่ไม่รู้"

 นักศึกษา นิสิต เข้ามาแล้วออกไป ปรับเปลี่ยนหมุนเวียน วนเวียนไปวนเวียนมา พาเริ่มต้นใหม่

 น่าเห็นใจครับ



เป็นกรณีการจัดการความรู้ ระดับประเทศ ที่หินจริงๆ นะคะ
  • หน่วยงานรัฐไม่รู้จักหน่วยงานในกำกับรัฐบาล
              หลังจากเปลี่ยนสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลในเดือนมีนาคม 2541 มจธ.พบแรงเสียดทานจากระบบราชการเป็นระยะๆ ไม่ใช่ความจงใจของผู้หนึ่งผู้ใดที่จะทำให้เกิดแรงเสียดทานนี้ เป็นเรื่องลักษณะวิธีปฏิบัติและ mindset ของระบบราชการที่ไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่า"องค์กรหรือหน่วยงานในกำกับรัฐบาล" ระบบของรัฐรู้จักเฉพาะส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เมื่อต้องมาพบกับหน่วยงานในกำกับรัฐบาลก็จะปฏิเสธที่จะคิดต่อไป ให้เหตุผลหรืออ้างว่าระเบียบไม่ได้ครอบคลุมถึงหน่วยงานในกำกับรัฐบาล และก็หยุดอยู่เพียงแค่นั้น ปัจจุบันมีองค์กรมหาชนเกิดขึ้นมากขึ้น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับหน่วยงานในกำกับรัฐบาล ความเข้าใจจึงควรจะเพิ่มขึ้น ตัวอย่างของแรงเสียดทานที่พบได้แก่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ ประมวลรัษฎากร ระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการประกันบุคคล การชดใช้ทุนรัฐบาลของข้าราชการเมื่อเปลี่ยนสภาพเป็นพนักงานในหน่วยงานในกำกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็น
  • น่าจะมีคำตอบบ้างแล้วนะครับ มุมมองมหาวิทยาลัยนเรศวร :
    ปัจจุบันสู่อนาคต กรณีเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ (มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ)

อ.หนึ่งคะ

     เรื่องของ Mind set หรือ Mental Model นี่เป็นเรื่องแก้ยาก โดยเฉพาะกับผู้ที่ทำงานเรื่องเงินๆ ทองๆ เพราะใครๆ ก็ต้องกลัวเข้าตารางถ้าทำผิดกฎผิดระเบียบ (ในระบบราชการ)  ดิฉันเข้าใจข้อนี้ดี

      ดังนั้น...เราคงมีอิสระ และมีความคิดสร้างสรรค์กันมากขึ้น ถ้าเราสามารถปลดปล่อยพันธการแห่งกฎระเบียบที่รัดตัวจนหายใจไม่ออกได้  หมายความว่า ...ถ้า...เราออกนอกระบบ (ราชการ)

     และถ้ากลัวว่าจะหนีเสือปะจระเข้  (ออกนอกระบบแล้ว ก็อีหรอบเดิม) เราคงต้องใส่ใจในทุกขั้นตอนของระบบใหม่  โดยเฉพาะเรื่องสภามหาวิทยาลัย 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท