การพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล แนวคิดและประสบการณ์ของพระจอมเกล้าธนบุรี ๗


ระดับความเข้าใจเรื่องมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของรัฐมนตรีต่างกันมาก การเปลี่ยนรัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัยบ่อยและการที่นักการเมืองเห็นว่าทบวงมหาวิทยาลัยเป็นกระทรวงเกรดต่ำ สะท้อนความสำคัญที่พรรคการเมืองต่าง ๆ ให้กับการอุดมศึกษา

ความพยายามจนสำเร็จ
ความพยายามครั้งที่สองก็ไม่สำเร็จ


           แนวคิดหลักของร่างพระราชบัญญัติ มจธ.ลงตัวตั้งแต่มาก่อน พ.ศ. 2538 เราได้ส่งร่างพระราช-บัญญัติ มจธ.เป็นครั้งที่ 2 ผ่านทบวงมหาวิทยาลัย คณะรัฐมนตรีรับร่างพระราชบัญญัติ มจธ.เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2538 ร่างพระราชบัญญัติมจธ.เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 แต่มีการยุบสภาในวันที่ 27 กันยายน 2539 จึงทำให้ร่างพระราชบัญญัติ มจธ.ตกไปเป็นครั้งที่สอง หลังจากความพยายามครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2535 ไม่สำเร็จพร้อมกันทั้ง 16 มหาวิทยาลัย


ความพยายามครั้งที่สามจึงสำเร็จ เกือบ 20 ปีหลังจากความคิดครั้งแรก


          ความไม่สำเร็จครั้งที่สองไม่ได้ทำให้พวกเราท้อถอย ทำให้ มีเวลาคิดเรื่องโครงสร้างและระเบียบรองรับต่าง ๆเ พิ่มขึ้น


          พระจอมเกล้าธนบุรีผลักดันร่างพระราชบัญญัติมจธ.เป็นครั้งที่ 3

  • คณะรัฐมนตรีรับหลักการเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540
  • สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2540
  • วุฒิสภาผ่านการพิจารณาเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2540
  • พระราชบัญญัติประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2541
  • มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2541

          นับเป็นเวลาเกือบ 20 ปีตั้งแต่สรุปกันภายในพระจอมเกล้าธนบุรีว่า มหาวิทยาลัยของรัฐในระบบราชการจะพัฒนาให้ดีได้ยาก 

ความไม่ต่อเนื่องและความต่อเนื่องในทบวงมหาวิทยาลัย


          ในช่วงเวลา พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2541 เรื่องการเปลี่ยนสภาพของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล ผ่านมือรัฐมนตรีดังนี้

  1. ศาสตราจารย์เกษม สุวรรณกุล
  2. นายสุเทพ อัตถากร
  3. นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์
  4. นายถวิล ไพรสณฑ์
  5. นายบุญชู ตรีทอง
  6. นายมนตรีด่าน-ไพบูลย์
  7. นายฉัตรชัย เอียสกุล
  8. คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี  และ
  9. น.ท.เดชา สุขารมณ์


          ระดับความเข้าใจเรื่องมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลของรัฐมนตรีต่างกันมาก  การเปลี่ยนรัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัยบ่อยและการที่นักการเมืองเห็นว่าทบวงมหาวิทยาลัยเป็นกระทรวงเกรดต่ำ สะท้อนความสำคัญที่พรรคการเมืองต่าง ๆ ให้กับการอุดมศึกษาซึ่งเป็นเรื่องการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยการสร้างบุคคลากรวิชาการ วิชาชีพอีก ทั้งการสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยการวิจัย  จนถึงบทบาทการชี้นำสังคมโดยอุดมศึกษา คงเป็นตัวบ่งชี้อนาคตของการพัฒนาประเทศไทยได้พอสมควรว่า จะใช้อุดมศึกษาเป็นกลไกการขับเคลื่อนได้เพียงใด


          นับเป็นโชคดีที่มีความต่อเนื่อง ความเข้าใจ และการสนับสนุนในระดับข้าราชการประจำของทบวงมหาวิทยาลัย ทั้งระดับปลัดและรองปลัดทบวงมหาวิทยาลัยจนถึงผู้บริหารระดับสูงอื่นๆ ในช่วงเวลา พ.ศ. 2535-2541ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยทั้งสามท่านคือ

  1. อาจารย์วิจิตร ศรีสะอ้าน
  2. นายแพทย์เกษม วัฒนชัยและ
  3. ดร.วันชัย ศิริชนะ

          เป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลเป็นอย่างดีพวกคณาจารย์ของพระจอมเกล้าธนบุรีต้องชี้แจงนักการเมืองในพรรคต่าง ๆ ทั้งขั้วรัฐบาลและขั้วฝ่ายค้าน ทั้งระดับสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและไม่แปรญัตติร่างพระราชบัญญัติ มจธ.จนบิดเบี้ยวไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น ความเข้าใจของนักการเมืองเรื่ององค์กรในกำกับรัฐบาลมีไม่สูงนักเมื่อมีการเปลี่ยนสภาพ มจธ. ความไม่แน่ใจในนักการเมืองและหน่วยงานรัฐบาลยังมีอยู่ว่าเมื่อเปลี่ยนสภาพแล้วมหาวิทยาลัยจะดีขึ้น บ้านเมืองจะได้ประโยชน์สูงขึ้น

ติดตาม ความยากลำบากและแรงเสียดทาน   ตอนต่อไป....

หมายเลขบันทึก: 68804เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2006 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • บันทึกนี้สะท้อนให้เห็นภาพอะไรหลายๆ อย่างครับ

อ.หนึ่งคะ

     สะท้อนว่าการศึกษาควรเป็นอิสระจากนักการเมือง เพราะนักการเมืองไม่ค่อยรู้เรื่องการศึกษา...รึเปล่าคะ ??

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท