ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

weekly meeting สคส. : ครูบาสุทธินันท์ (3)


weekly meeting ของ สคส. เป็นเทคนิควิธีการดำเนินงานที่ดี เสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างดีเยี่ยม

ครูบา AAR ต่อที่ประชุม     หลังจากที่ทุกท่านได้นำเสนอครบตามวาระ อาจารย์หมอวิจารณ์ จึงได้เชิญให้ครูบาสุทธินันท์   ปรัชญพฤทธิ์  ได้เล่าถึงกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้วว่าเป็นอย่างไรบ้าง ครูบาสทธินันท์จึงได้เริ่มจากการทักทายตามมารยาท และวัฒนธรรมไทย พร้อมทั้งแสดงความชื่นชมที่ได้มาเห็นรูปแบบการ AAR ของ สคส. ที่เป็นรูปแบบที่ดี มีพลัง และจะได้นำกลับไปใช้ในชุมชนของตน และได้เพิ่มประเด็นต่างๆ ดังนี้

                                                                                                                                

การขับเคลื่อน KM ระดับชุมชน  ในช่วงที่ผ่านมา สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้ระดับชุมชน   ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการจัดการความรู้มาโดยตลอด แต่ช่วงที่ผ่านมาอาจะมีปัญหาอยู่บ้าง แต่การดำเนินงานเป็นไปตามปกติและช่วงหลังมานี้สามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ ได้แล้ว และเริ่มการจัดการความรู้ (KM) กับกลุ่มที่หลากหลายมีตั้งแต่นักเรียนอนุบาล ประถม มัธยม กลุ่มเกษตรกร ผู้นำชุมชน และพระภิกษุสามเณร จากมหาจุฬาราชวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสงฆ์) ก็ได้มาร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้  มีการดำเนินการเป็นรุ่นๆ รุ่นละประมาณ 1- 2 วัน เพื่อมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรมของตนเองแล้วเพิ่มความรู้ใหม่ไปปรับกับบริบทของตน เป็นการจุดประกายการเรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อมกับการได้นำระบบ Blog ของ GotoKnow  มาเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามองค์กร การเชื่อมโยงความรู้ และสร้างพันธมิตรทางวิชาการ  ซึ่งจะได้มีความรู้ที่หลากหลาย โดยมี ผศ.ดร.แสวง   รวยสูงเนิน จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และทีมนักศึกษาพัฒนบูรณาการศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นผู้สอน และแนะนำวิธีการใช้ จนกระทั่งนักศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ซึ่งล้วนแต่เป็นคลังสมองของชาติ เกิดความสนใจ และได้ไปร่วมศึกษาถึงกระบวนการจัดการความรู้ในระดับชุมชนแล้ว 1 รุ่น และรุ่นต่อไปคิดว่าคงเป็นหลังปีใหม่นี้ นอกจากนั้นจะพยายามผลักดันในเรื่องของ Blog เข้าไปเป็นเครื่องมือในการประเมินผลการดำเนินงานในกระบวนการจัดการเรียนการสอนของประเทศไทย เพื่อที่จะได้สะท้อนถึงความสำเร็จของระบบการจัดการศึกษา ต่อไป

 

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง  สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้ระดับชุมชน  ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ของจังหวัดบุรีรัมย์ และพื้นที่ใกล้เคียง อีกทั้งในพื้นที่ดังกล่าวมีชาวต่างชาติ (ฝรั่ง) ที่มีภรรยาเป็นคนไทยและมาใช้ชีวิตในการทำการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เข้าร่วมในโครงการด้วย และจากการดำเนินงานปรากฏว่าชาวต่างชาติ สามารถทำได้ดี มีความเข้าใจคำว่าพอเพียง และประสบความสำเร็จได้มากกว่าคนไทย จึงทำให้เกิดข้อสงสัย ว่าเป็นไปได้อย่างไร จึงไปค้นหาคำตอบก็พบว่า ฝรั่งเป็นคนที่เอาจริงเอาจังในการทำงาน เขาสามารถวางแผนการทำงานได้เป็นอย่างดีในแต่ละวัน อีกทั้งเป็นคนชั่งสังเกต มีการจดบันทึกกิจกรรมต่างๆ เป็นอย่างดี และที่สำคัญเขาเป็นคนที่ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ทั้งการค้นคว้า และการสอบถามจากผู้รู้ นี่แหละครับจุดต่างที่คนไทยเราขาด และควรต้องเร่งปรับปรุงอย่างเร่งด่วน

โจทย์ใหญ่ของครูบา  นับเป็นโจทย์ใหญ่ที่ครูบาได้ให้กับประชาชนทั้งประเทศ รัฐบาล และทุกองค์กรว่า  ประชาชนจะช่วยรัฐบาลพัฒนาประเทศได้อย่างไร เรามักจะได้ยินแต่ว่ารัฐบาลต้องช่วยเหลือประชาชน ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นมาโดยตลอด และแล้วก็ไม่ประสบผลสำเร็จดังที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้ บัดนี้เราจะต้องช่วยกันในการพัฒนาทุกภาคส่วน แต่ในมุมมองของครูบาสุทธินันท์ พิจารณาเห็นว่าจุดอ่อนในการพัฒนาประเทศที่ผ่านมานั้นชุมชนไม่มีชุดความรู้เป็นของตนเองในการประกอบอาชีพ จึงพึ่งพาตนเองไม่ได้ ดังนั้นรัฐ และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันสนับสนุนให้ชุมชนได้มีการจัดการความรู้ เพื่อสร้างชุดความรู้ในการประกอบอาชีพต่างๆ ให้เกิดขึ้นตามบริบทของชุมชนตนเอง เมื่อเป็นเช่นนั้นชุมชนจะสามารถพัฒนาอาชีพของตนเองได้อย่างยั่งยืน มีความเข้มแข็ง ส่งผลดีต่อประเทศชาติต่อไป สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้ระดับชุมชน มหาชีวาลัยอีสาน จึงพยายามที่จะผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับชุมชน สำหรับสร้างชุดความรู้ในการประกอบอาชีพให้เกิดขึ้น จึงได้ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ (KM) ตามแนวทางของ สคส. ให้เกิดขึ้นจงได้ โดยมีอาจารย์ ดร.แสวง และนักศึกษาพัฒนบูรณาการศาสตร์เป็นกำลังหลัก...ขอบคุณครับ

จบแล้วครับ

สวัสดีครับ

อุทัย   อันพิมพ์

22 ธันวาคม 2549

 

หมายเลขบันทึก: 68755เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2006 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

 

   ผมและคณะผีตองเหลืองโชคดีที่ลงไปกรุงเทพคราวนี้  ไปถูกช่วงเวลาเหมาะๆหลายเรื่อง  โดยเฉพาะในรายการที่ไปร่วมรับฟังการประชุมประจำสัปดาห์ของคณะทำงาน (สคส. )

  ชอบมากเลย  ที่เห็นกระบวนการทำงานที่มีความสุข

   ทุกคนนำเสนองานในหน้าที่ๆรับผิดชอบ แล้วมาเล่าให้เพื่อร่วมงานสะท้อนความเห็น โดยมีท่านอาจารย์ใหญ่ และอาจารย์ประพนธ์ ร่วมเติมเต็มความรู้ในประเด็นที่เสนออย่างจะแจ้ง

  ผมอิจจาชาวส.ค.ส.ที่ได้ทำงานใกล้ชิดท่านอาจารย์ใหญ่  ท่านสอนเราทุกขณะจิต สอนโดยไม่สอน ท่านคุยไปตรวจดูบล็อกไป สลับกับการให้ความเห็น พร้อมกับแจกการบ้านไป 360 องศา

   ตั้งใจอย่างเหลือเกินว่าจะนำวิธีนี้มาใช้กับการทำงานที่นี่  แม้จะได้เศษเสี้ยวของอาจารยืก็ยังดี

   ขอขอบคุณชาวส.ค.ส.  ที่ให้โอกาสไปเห็นวิธีเรียนแบบฉบับของชาวกรุง 

สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

 

  อาจารย์บันทึกดีเหลือเกิน

 เกินคุ้มเป็ดย่างหลายจานนัก

สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

 

   แต่..ก็มีคำทักท้วงว่ากินมาก

ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย 

ขอให้กินยาขมิ้นชันด่วน!

 

ขอแลกเปลี่ยนเรื่อง ชุดความรู้ในชุมชนในเบื้องต้นเชื่อว่าทุกชุมชนมีชุดความรู้เป็นของตัวเอง แต่การพัฒนาที่เรียกว่าสมัยใหม่ ทำให้ชุดความรู้ในชุมชนถูกทำให้เป็นอื่น จึงดูเสมือนไม่มี หน้าที่ของนักจัดการความรู้คือรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำให้ชุดความรู้ในชุมชนมีความหมายต่อชุมชน

          ความรู้ในชุมชนมีพลังในตัวเอง แต่ไม่มีพลังขับเคลื่อนไปสู่สังคมเพราะถูกล้อมกรอบด้วยระบบโรงเรียนที่ให้คุณค่ากับคะแนน จนเด็กในชุมชนไม่ให้ความสนใจ

         แต่บทเรียนจากเม็กดำ จะเป็นตัวอย่างที่ดีในการนำชุดความรู้ในชุมชนมาสร้างพลังการเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียนได้เป็นรูปธรรมค่ะ

       

ขอบคุณมากครับทุกๆ ท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็น

สำหรับท่านเม็กดำ 1 นั้น ถูกแล้วครับ เพียงแต่ว่าเราจะดึงความรู้ที่ฝังลึก (Tacit Knowledge) ออกมาจัดเป็นชุดความรู้ได้อย่างไร ยินดีแลกเปลี่ยนร่วมด้วยครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท