สร้างปัญญาด้วยการตั้งคำถาม สร้างปัญญาด้วยการใฝ่รู้ : ปุจฉา วิสัชนา


สร้างปัญญาด้วยการตั้งคำถาม

สร้างปัญญาด้วยการใฝ่รู้

: ปุจฉา วิสัชนา

จาก บทความพิเศษของ ทันทรรศน์ หน้า 33

มติชนสุดสัปดาห์ 6-12 ต.ค.49 ปีที่ 26 ฉบับที่ 1364

ปัญญาของเราพัฒนาได้

          มนุษย์เราเมื่อแรกเกิดสมองยังว่างเปล่า แล้วจึงค่อยพัฒนาให้ควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตั้งแต่ร้องไห้ เพื่อสื่อว่าหิว รำคาญ เจ็บ หรือต้องการอะไร

         ต่อมาจึงพัฒนาการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายตามลำดับ ตั้งแต่เหม่อตามอง ยิ้มย่องผ่องใส หันศรีษะ ยกศรีษะ คว่ำตัวเองได้ ลุกนั่ง ลุกยืน และเดินได้ด้วยตนเอง เป็นต้น

         การเรียนรู้ก็ฝึกจากการรับรู้ แสง เสียง สิ่งกระตุ้นเร้า จนสื่อสารได้ด้วยการส่งสัญญานพูด ออกเสียง อ่าน เขียน และ คิดเรียนรู้ ตั้งแต่เรื่องง่ายๆ จนถึงเรียนรู้เรื่องความหมายของนามธรรม เช่น เรื่อง ความรัก ความโกรธ เป็นต้น

           ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า ปัญญา พัฒนาได้

พัฒนาปัญญาด้วยการฝึกตั้งคำถาม

          ในขั้นของการเรียนรู้ต่อไป ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนอย่างไรด้วย เช่น ภาษาพูด ถ้าสอนให้พูดภาษาไทย ก็จะพูดภาษาไทย แม้จะสอนเด็กฝรั่ง โดยไม่พูดภาษาอังกฤษด้วยเลย สอนให้พูดแต่ภาษาไทย ก็จะเป็นเด็กฝรั่งพูดไทย

         ต่อไปก็ได้เรียนคิด การฝึกใช้เหตุใช้ผล เครื่องมือสำคัญคือ การสอนให้เรียนรู้ด้านคณิตศษสตร์ เป็นการวิเคราะห์ คิด ฝึกวิเคราะห์ที่ดีที่สุด ฝึกแก้ปัญหาไปด้วย การพัฒนาการเรียนรู้ ได้แก่ ฝึกความจำ ฝึกคิด ฝึกสร้างสรรค์ มีจินตนาการ และฝึกควบคุมอารมณ์ ซึ่งการฝึกการเรียนรู้พัฒนาเหล่านี้ร่วมกันในช่วงอายุที่เหมาะสม ก็จะได้การพัฒนาที่ดีที่สุด

          การฝึกคิด ใช้เหตุผล วิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา จะทำได้ง่ายๆ ด้วยการฝึกเป็น คนช่างสงสัย” “หมั่นตั้งคำถามแล้ว พยายามหาคำตอบ หรือ สงสัย ใฝ่รู้

คำถามสำคัญคือ ทำไมและ อย่างไร

ความเป็นคน ช่างสงสัย ใฝ่รู้เป็นเรื่องสำคัญ คือ เป็นผู้ที่หมั่นตั้งคำถาม และต้องหมั่นคิดค้นคว้าหาคำตอบด้วย

คำถามสำคัญที่สุดในการพัฒนาปัญญา ใช้เหตุผล คือทำไมและ ทำได้อย่างไร

         คำถาม อะไร” “ที่ไหน” “เมื่อไรจะได้คำตอบที่เป็นข้อเท็จจริง แต่คำถาม ทำไมหรือ ทำอย่างไรจะเชื่อมโยงสร้างความสัมพันธ์ จัดลำดับความสัมพันธ์ก่อนหลัง จัดลำดับความสัมพันธ์ของเหตุและผล ตลอดจนลำดับความสำคัญมาก-น้อยต่างกันออกไป เพื่อความมุ่งหมายที่จะให้ได้คำตอบ

         ซึ่งก็คือ การ ฝึกคิด วิเคราะห์โดยตรง เช่น คำถาม ชื่ออะไร เวลาเท่าไร เมื่อไร ที่ใด ก็จะได้คำตอบเป็น นาย ก” “เวลาเช้าพรุ่งนี้” “ที่เชียงใหม่ที่เป็นข้อเท็จจริง

        แต่ถ้าถามว่า ทำไม” “อย่างไรต้องหาคำตอบที่เป็นเหตุเป็นผล เช่น ทำไมกลางวันจึงสว่าง ทำไมกลางคืนจึงมีด ทำไมนกจึงบินได้ เป็นต้น ฝึกถาม ฝึกสงสัย ตั้งแต่เด็ก

           ก็จะติดเป็นนิสัย สงสัย ใฝ่รู้และมุ่งมั่นหาคำตอบ

ยิ่งตอบได้ ยิ่งเรียนรู้ ยิ่งมั่นใจ

          การหาคำตอบ ทำไม” “อย่างไรเป็นการท้าทาย เป็นการฝึกวิเคราะห์ แยกแยะหาสาเหตุ และพัฒนาไปถึงขั้นสร้างทางเลือก สังเคราะห์ที่ชี้นำการปฏิบัติได้ เช่น ทำไมกลางวันจึงสว่าง คำตอบคือ กลางวันโลกอยู่ใต้แสงอาทิตย์ ทำไมกลางคืนจึงมืด คำตอบคือ เราอยู่หลังเงาของโลกจากดวงอาทิตย์ การที่จะได้คำตอบ เราต้องวิเคราะห์ แยกแยะ เปรียบเทียบ จนได้คำตอบ สร้างความเข้าใจ และเราก็สามารถใช้ประสบการณ์ในการเข้าใจวิเคราะห์เรื่องนี้ไปเข้าใจเรื่องอื่น ใช้หลักคิดที่เป็นการเข้าใจเรื่องนี้ไปเทียบเคียงเข้าใจเรื่องอื่น

 กล่าวคือ ได้ทั้ง คำตอบได้ทั้ง วิธีคิด” 

       แต่ถ้าถามคำถามว่า จะทำได้อย่างไรอาจจะได้วิธีคิดในระดับที่สูงกว่าระดับ วิเคราะห์นั่นคือ สังเคราะห์กล่าวคือ วิเคราะห์คือ คิดแยกแยะ ส่วนใหญ่เพื่อหาสาเหตุ หรือเหตุผล แต่ถ้าทำอย่างไร ต้องหาคำตอบด้วยการ สังเคราะห์คือ คิดส้างคำตอบ เช่น จากบ้านไปโรงเรียนมีทางรถไฟ รถเมล์ และมีลำคลองคั่นอยู่ จะเดินทางไปอย่างไร

     การหาคำตอบอย่างไร จึงต้องวิเคราะห์แยกแยะก่อนว่า จะเดินทางจากบ้านไปโรงเรียน จะเดินจากที่ใดไปที่ใด ขึ้นรถไฟหรือรถเมล์ จะลงเรือที่ใดจึงจะข้ามคลองไปถึงโรงเรียน จะตัดสินใจอย่างไร เพื่อให้ได้วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด

        นั่นคือ คิดอย่างวิเคราะห์ นำไปสู่สังเคราะห์ สร้างคำตอบสู่การปฏิบัติ ก็จะได้พัฒนาความคิดไปอีกระดับ

        ดังนั้น การคิดหาคำตอบจะได้คำตอบ เป็นการรับรู้ ได้วิธีคิดใหม่ไปด้วย ยิ่งได้คำตอบก็จะยิ่งเรียนรู้ ยิ่งคิดเร็วขึ้น

         และแน่นอนที่สุด เมื่อคิดแก้ปัญหาได้ก็จะยิ่งมั่นใจ และแก้ปัญหาใหม่ได้เรื่อยๆ

         ยิ่งตอบได้ ยิ่งรอบคอบ ยิ่งมีสุข

         การตอบคำถาม ทำไมและ อย่างไรเป็นการฝึกสร้างปัญญา นอกจากได้ความรับรู้ ความรู้ วิธีคิดหาคำตอบแล้ว ยังเสริมความมั่นใจว่า จะแก้ปัญหาเรื่อยๆ แต่การแก้ปัญหาอาจมีอุปสรรคบ้าง

        คือ เมื่อนำไปสู่การปฏิบัติแล้วอาจยังแก้ปัญหาไม่ได้ทั้งหมด ที่จริงไม่ใช่เป็นเรื่องแปลก ก็ต้องนำปัญหาส่วนที่เหลือเข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหาใหม่ สังเกตวิเคราะห์สาเหตุว่า ทำไมอย่างยังแก้ปัญหาไม่ได้ มีปัญหาอะไรอีก สาเหตุอะไรอีก และนำไปสร้างคำตอบรอบใหม่

         ก็จะตอบคำถาม หรือโจทย์ที่สลับซับซ้อนยิ่งขึ้น การแก้ปัญหาครั้งต่อไปก็จะนำประสบการณ์ที่เคยแก้ปัญหาแล้วติดขัด มาแก้ปัญหาในเรื่องใหม่ ก็จะยิ่งรอบคอบ ยิ่งพัฒนาขั้น และแน่นอนการที่สามารถแก้ปัญหาได้ นอกจากยิ่งมั่นใจแล้ว

            ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ยิ่งมีความสุข ยิ่งมีปิติ เพราะสามารถทำงานสำเร็จ แก้ปัญหาได้ มีกำลังใจสร้างความสำเร็จใหม่ๆ การแก้ปัญหาสำเร็จมากขึ้น แก้ปัญหาที่สลับซับซ้อนมากขึ้น ก็จะนำไปสู่การสังเคราะห์ สร้างสรรค์ นำไปสู่ปัญญาในระดับสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ต่อไป

           เรียนรู้ด้วย ปุจฉา วิสัชนา

         การสร้างปัญญาด้วยการตั้งคำถามนี้ สอดคล้องกับหลักพุทธศาสนา คือปุจฉา วิสัชนาปุจฉาคือ ตั้งคำถาม ยิ่งตั้งคำถามก็จะยิ่งได้คำตอบ ยิ่งได้ความรับรู้ ส่วนวิสัชนา คือ การถกเถียง ยิ่งถกเถียง แลกเปลี่ยน ตรวจสอบ ก็จะได้โอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้มุมมองที่แตกต่าง

ได้ความรู้ ความเห็นเพิ่มเติม รอบคอบขึ้น สร้างปัญญาเพิ่ม

ตอบไม่ได้ ต้องไม่ท้อแท้

         การตั้งคำถาม ใช่ว่าจะหาคำตอบได้เสมอไป ไม่ได้คำตอบ ไม่ต้องท้อแท้

          ผู้เขียนเคยขับรถคว่ำ เพราะหยุดรถกระทันหันและรถปัด บังคับพวงมาลัยไม่ได้ 7 ปีให้หลังมีคนอธิบายเรื่อง เบรกระบบ ABS ที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์วิจัยและออกแบบขึ้นใหม่ เพื่อแก้ปัญหาอุบัติเหตุจากล้อล็อคขณะเบรกรถ หรือหยุดรถกระทันหัน เนื่องจากหยุดล้อสองข้างได้ไม่เท่ากัน ทำให้รถเสียหลัก บังคับไม่ได้

           วิศวกรจึงวิจัยค้นหาสาเหตุและออกแบบระบบเบรกรถรุ่นใหม่ ที่เบรกล้อแล้วคลายสลับกันหลายครั้งติดกันจนกว่ารถจะหยุด ทำให้ล้อรถทั้งสองข้างมีโอกาสปรับสมดุล แก้ปัญหาล้อล็อค เสียหลัก บังคับพวงมาลัยไม่ได้ อย่างผู้เขียนเคยประสบมาก่อน

             กว่าจะได้คำตอบก็หลังจากรอดตายจากอุบัติเหตุ และยังมีความสงสัยอยู่อีก 7 ปี จึงเห็นว่า การมุ่งมั่นหาคำตอบก็มีส่วนสร้างความรู้และสร้างปัญญา

           ดังนั้น การศึกษาไทยจึงต้องมุ่งฝึกให้ผู้เรียนมีนิสัย สงสัย ใฝ่รู้มุ่งมั่นหาคำตอบ รู้จักคิด วิเคราะห์ ยึดหลักการลามสูตร ถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างเสริมปัญญาด้วย ปุจฉา วิสัชนานั่นเอง

            และที่สำคัญ ผู้เขียนมุ่งให้นำเรื่องการสร้างเสริมปัญยาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน เหตุการณ์รอบตัว เหตุการณ์บ้านเมือง จึงจะเกิดคุณค่าตามหลักทางพุทธศาสนา คือ ผู้ปฏิบัติธรรม จึงจะเข้าถึง ธรรม

 
คำสำคัญ (Tags): #ความสุข
หมายเลขบันทึก: 68750เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2006 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณค่า

เราต้องไม่ท้อๆๆ

ทีตอนเกิดมา สมองทุกคนมันว่างเปล่า จริงๆด้วย

หาความรู้ต่อไป สู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท