ความเป็นแพทย์ยังไม่เปลี่ยน แต่ยุคสมัยเปลี่ยน


ความเป็นแพทย์ยังไม่เปลี่ยน แต่ยุคสมัยเปลี่ยน

ศ. นพ. สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์ ส่งข้อเขียนของ อ. นพ. สตางค์ ศุภผล (ศูนย์การศึกษาแพทย์ทางคลินิก รพ. ขอนแก่น) มาให้   เพื่อลงใน บล็อก    ผมเห็นว่าเป็นข้อเขียนที่มีประโยชน์ จึงช่วยนำมาลงไว้เพื่อช่วยเผยแพร่อีกทางหนึ่ง

อ.นพ. สตางค์ ศุภผล Thai Transformative Learning for Medicine (FB: (1) TTMD: Thai Transformative Learning for Medicine | Facebook)

“ความเป็นแพทย์ยังไม่เปลี่ยน แต่ยุคสมัยเปลี่ยน”

#นักศึกษาแพทย์เลว

แฮชแท็กนี้ มีทั้งเสียงต่อต้านและพยายามให้ความเข้าใจ

เป็นปรากฎการณ์ที่น่าจะทำให้สถาบันผลิตแพทย์ต้องหันมาทบทวนว่า

“เราบ่มเพาะให้นักศึกษาแพทย์เป็นแพทย์ที่แท้จริงแล้วหรือยัง” แพทย์ที่เติบโตผ่านประสบการณ์โชกโชน และเห็นคุณค่าของวิชาชีพแพทย์

จะทราบดีว่า “การมีความสุขอยู่ในวิชาชีพไม่ง่าย”

แม้ว่าภายนอกวิชาชีพแพทย์จะดูได้รับการยกย่อง มีรายได้ดึงดูดใจ

มีหน้ามีตาได้รับการยอมรับนับถือในสังคม

แต่ในเส้นทางการเป็นแพทย์

ก็ต้องผ่านอุปสรรค และมีความอดทนพยายามมากมาย

จึงจะยืนหยัดในวิชาชีพแพทย์ได้

สิ่งที่เผยแพร่ทางสื่อโซเชียล #นักศึกษาแพทย์เลว เท่าที่อ่านดูส่วนใหญ่ #เป็นความจริง

ถูกบอกเล่าออกมาด้วยน้ำเสียงและมุมมองของคนรุ่นใหม่ที่แตกต่างและไม่คุ้นชินโดยจากคนรุ่นก่อน ๆ

แพทย์ทุกคนต้องผ่านการหล่อหลอมให้มีจิตใจเข้มแข็ง�(ไม่ต่างกัน #ฝึกทหาร ที่กำลังถูกมองต่างออกไปในคนรุ่นใหม่เช่นกัน)

วิธีการเดิมมันได้ผลในอดีต แต่ก็เริ่มถูกไม่เข้าใจโดยคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน

เป็นปรากฎการณ์ร่วมของสังคม

ที่คนรุ่นใหม่อยากมีสิทธิ์ที่จะบอกว่า เขาชอบหรือไม่ชอบอะไร ด้วยน้ำเสียงที่สังคมอาจจะรับได้บ้าง ไม่ได้บ้าง

แต่ก็เปี่ยมไปด้วยความรู้สึกกดดัน และคาดหวังการเปลี่ยนแปลง

ความจริงอย่างหนึ่งของวิชาชีพแพทย์ที่ได้รับการยอมรับ

และอาจจะไม่ได้พูดถึงกันในเชิงลบอย่างกว้างขวางอย่างในตอนนี้

มันซ่อนอยู่ในท่าทีเข้มงวดของอาจารย์แพทย์

การฝึกปฏิบัติงานในระหว่างเรียนอันนักหนากว่าการเรียนวิชาชีพอื่น ๆ

แผงอยู่ในการสอนแพทย์ “no pain, no gain” ที่ปฏิบัติกันมา

คือ เราต้องการแพทย์ที่ ปรับตัวกับ “ความหนักหนาสาหัส” ของการเป็นแพทย์ได้

และสิ่งสำคัญที่จะทำให้แพทย์ ไม่ว่าหมอรุ่นเก่า หมอรุ่นใหม่ ผ่านความหนักหนาสาหัสเหล่านั้นมากได้

คือ การรับรู้ถึง #คุณค่าของวิชาชีพแพทย์

ต้องยอมรับว่า แพทย์จำนวนมากที่ยังเลือกวิชาชีพแพทย์ที่หนักกว่าอาชีพอื่น

และต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะต้องรับผิดชอบต่อชีวิตคน

เพราะแพทย์เหล่านั้นยังรับรู้ถึงคุณค่าของวิชาชีพแพทย์

วิชาชีพที่ทำให้มีโอกาสที่แสดงความเมตตากรุณา

ความเห็นอกเห็นใจให้ความช่วยเหลือ

ให้การดูแลชีวิตคนแต่ละคนให้รอดพ้นจากความเจ็บป่วย ความทุกข์ทรมานและความตาย

ได้สร้างคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่ได้ทำประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ ซึ่งวิชาชีพอื่น ๆ อาจจะทำได้ไม่เสมอเหมือน เมื่อตระหนักถึงคุณค่าวิชาชีพแพทย์ ก็ตามมาด้วย ต้องมี #ความรับผิดชอบ

ความรับผิดชอบที่ทำให้แพทย์ต้องทำงานหนัก ทั้งที่ไม่อยากทำ

ต้องไม่หลับไม่นอน ทั้งที่ต้องการการพักผ่อน

แต่เมื่อคนไข้ยังมี ยังต้องการการช่วยเหลือ

ความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ต่อหน้าที่ จึงทำ

และแพทย์จำนวนไม่น้อยก็ทำด้วยความจริงใจ

เปรียบเสมือน หนังซูเปอร์ฮีโร่ ที่บอกว่า “พลังอำนาจที่มีก็จะตามมาด้วยความรับผิดชอบ”

แพทย์ที่ตระหนักถึง #คุณค่าวิชาชีพ และ #มีความรับผิดชอบ อย่างเต็มเปี่ยม

จะผ่านสถานการณ์เลวร้ายต่าง ๆ ทั้งครูดุด่าจนทุกข์เศร้าใจ คนไข้ตายโดยไม่ตั้งใจ ไม่ได้หลับไม่ได้นอนเพราะคนไข้ยังวิกฤต และมีจำนวนมาก การทำงานที่เสี่ยงต่อชีวิตและสุขภาพ (เช่น ช่วงโควิดระบาด)

แน่นอนตอนแรกก็ทุกข์ใจแสนสาหัส และต้องปรับตัวมาก

แต่ประสบการณ์และการเรียนรู้

ก็ทำให้เขาผ่านสิ่งเหล่านี้มาได้อย่างเข้าใจและรู้ว่าจะทำอะไรอย่างไรให้เหมาะสมเพื่อดูแลกายและใจตัวเอง

พร้อมทั้งยังเกิดการดูแลรักษาคนไข้ที่เหมาะสมไปได้ด้วย อาจจะไม่ได้ดีไปทุกอย่าง

แต่ก็ดีที่สุดในแต่ละสถานการณ์ที่ต้องจัดการแก้ปัญหา

เรียกว่ากลายเป็น #Resilient doctor (แพทย์ผู้รับมือได้ทุกสถานการณ์)

Resilient doctor เป็นคุณลักษณะที่แพทย์ต้องค่อย ๆ สั่งสม

จากการสอนสั่งของอาจารย์แพทย์ และการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวแพทย์แต่ละคน

เราจะทำอย่างไรให้นักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้

และกลายเป็นแพทย์ที่ต่อสู้ปัญหา

มากกว่าให้ปัญหาเปลี่ยนแปลง

วิธีการสอนเดิมอาจจะเหมาะกันรุ่นเก่า

แต่อาจจะไม่เริ่มไม่เหมาะกันคนรุ่นใหม่

เห็นได้ชัดจากเสียงสะท้อนที่เขาพยายามสื่อสารออกมา�

ต้องยอมรับว่าคนรุ่นใหม่อาจจะทนทานแรงกดดันได้ไม่เท่าคนรุ่นเก่า

ไม่ได้เรียนรู้จากความทุกข์ทน และรู้สึกผิดเพื่อผลักดันตัวเอง

ไม่ได้รับรู้ได้เสมอไปว่า อาจารย์ดุเพราะหวังดี

เพราะความหวังดีที่เขาเคยได้รับมันตรงไปตรงกว่านั้น ��

ต้องยอมรับว่าการใช้อำนาจในกระบวนการเรียนการสอน

ทำให้อาจารย์เผลอที่จะควบคุม ดุว่า สั่งสอน ขู่เข็น เพื่อให้นักศึกษาทำได้อย่างที่ต้องการ

อาจจะไม่ได้นึกว่าในมุมมองนักศึกษานั้นคือกำลังลดทอน “ความเป็นมนุษย์” ของนักศึกษา

เป็นผลข้างเคียงคือการต่อต้าน มีบาดแผลในจิตใจ และอาจคุ้นชินนำไปใช้กันคนอื่น ๆ หรือคนไข้

#ยังไม่ได้ต้องเลือกว่าจะทำอะไร

เพราะทุกวิธีการก็มีข้อดีข้อเสีย ความยากง่ายต่างกันในแต่บริบท

เพียงแต่ลองเปิดใจมองกว้าง ๆ ว่า

ทางเลือกในการบ่มเพาะให้ #นักศึกษาแพทย์เป็นแพทย์ที่แท้จริง

มีได้หลากหลายวิธี

และเปลี่ยนแปลงได้ตามสถาการณ์ของสังคม

หรือแม้แต่ตัวนักศึกษาแพทย์แต่ละคน

ไม่ว่าคนรุ่นเก่า หรือ รุ่นใหม่

อาจารย์แพทย์ หรือ น้อง ๆ นักศึกษาแพทย์ในปัจจุบัน

ลึก ๆ แล้วที่ยังเลือก อยู่ในเส้นทาง “การเป็นแพทย์”

การไม่หลุดจากเส้นทางไปก่อน

ก็เพราะยังต้องการเข้าถึง

#คุณค่าของวิชาชีพและความเป็นแพทย์ที่แท้จริง

ไม่ต่างกัน

หมายเลขบันทึก: 687374เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2020 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2020 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เคยเห็นอาจารย์แพทย์ดุด่านักศึกษาและฉีกใบคำสั่งแพทย์ต่อหน้า นศ เห็นแล้ว นศ คงเครียดอย่างหนักแต่ก็ทน ในที่สุดอาจารย์คนนั้นก็ลาออกไปค่ะ

วันนี้ 28-11-2563 เป็นวันเกิดอาจารย์ขอให้คุณพระคุ้มครองอาจารย์ให้สุขภาพแข็งแรง มีความสุขตลอดไปนะคะแก้ว อุบล จ๋วงพานิช

กราบขอพร อาจารย์ เนื่องในวันเกิดของ ครู KM ครับ

สุขสันต์วันเกิดค่ะท่านอาจารย์ ขอให้บุญรักษา พระคุ้มครองอาจารย์ ให้มีสุภาพแข็งแรงปัญญาเฉียบแหลมมิรู้คลาย มีความสุขทุกทิวาราตรีกาลค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท