หลักปรัชญาเบื้องต้น


หลักปรัชญาเบื้องต้น

1.ปัญหาทางปรัชญา

    การเกิดขึ้นมาของมนุษย์โลกนี้มีคำถามมากว่าเป็นใคร  มาจากไหน  จะใช้ชีวิตอย่างไรจึงจะคุ้มค่าที่เกิดมาเป็นมนุษย์  คำถามเหล่านี้ยากที่จะหาคำตอบได้ตรงประเด็นเพราะทุกสิ่งล้วนเคลื่อนไหวเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์คือการเกิดขึ้น  การดำรงอยู่และการเสื่อมสลายไปอยู่ตลอดเวลา  จากการเรียนรู้ทิศทางการเกิดมาของมนุษย์โลกที่วิวัฒนาการมาตามลำดับทำให้เกิดปรากฎการณ์ใหม่อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้โดยเป็นไปตามความคิดการกระทำของมนุษย์เรา

        ด้วยมนุษย์ถือว่าเป็นสัตว์ที่รักในการเรียนรู้ชอบที่จะสงสัยในสิ่งต่าง ๆ แล้วค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น  การแสวงหาคำตอบนั้นควรมีหลักยึดถือเหมือนนกน้อยต้องมีกิ่งไม้จับยึดจึงกินเหยื่อที่มันหามาได้  การสงสัยแล้วแสวงหาคำตอบเหล่านี้ล้วนเป็นวิธีการทางปรัชญาเพราะมนุษย์ทุกคนที่มีความคิดมีความสงสัยล้วนเป็นผู้ศึกษาวิชาปรัชญาได้และเครื่องมือที่ค้นหาคำตอบนั้นคือตรรกวิทยาเป็นวิธีการหาเหตุหาผลของมนุษย์ตั้งแต่อดีตกาลมาแล้ว

        เราทดลองมาตอบคำถามเหล่านี้ดูเพื่อเข้าสู่ทิศทางปรัชญาดังนี้

        1.มนุษย์โลกมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร..?

        การตอบคำถามนี้ไม่ง่ายนักเพราะมนุษย์ทุกคนล้วนมีมุมคิดเป็นของตนเอง  บางคนอาจตอบว่ามนุษย์มีชีวิตอยู่เพื่อครอบครัว  เพื่อสร้างสรรค์สังคมโลกให้น่าอยู่อาศัย  เพื่อกระทำความดี  ไม่ว่าจะเป็นคิดการพูดการทำล้วนเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของมนุษย์โลกอย่างนี้เป็นต้น

        2.สิ่งที่มีค่าที่สุดที่มนุษย์ควรแสวงหาคืออะไร..?

        ต่อคำถามนี้มนุษย์บางคนอาจตอบว่า  ฉันต้องการความสุขนิรันดร์  เมื่อตั้งเป้าหมายไว้อย่างนั้นแล้วก็เกิดมุมคิดว่าแล้วเราจะเดินทางไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างไร  อันความสุขนั้นแท้จริงแล้วมันมีอยู่จริงหรือไม่  ถ้ามีอยู่จริงมันจะมีอยู่อย่างไรและจะเข้าถึงได้ที่ไหนและอย่างไร

        3.สิ่งดีชั่วถูกผิดมีจริงหรือเปล่าหรือเป็นเพียงการสมมุติของมนุษย์เท่านั้น..?

        ในความคิดเห็นของมนุษย์นั้นอาจมองได้หลายมุมและตอบคำถามออกมาตามทางของตน  การถามในมุมมองทางศีลธรรมจริยธรรมอย่างนี้ถ้ามนุษย์มีความเชื่อทางศาสนาก็อาจตอบคำถามโดยมีพื้นฐานมาจากความเชื่อทางศาสนานั้น

        4.ทำเนียมประเพณีจะเป็นหลักแห่งความประพฤติได้เต็มร้อยหรือไม่เพียงใด..?

        เราอาจตอบว่าทำเนียมประเพณีนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นหลักแห่งความประพฤติได้แต่ด้วยทำเนียมประเพณีที่สืบต่อกันมายังไม่เพียงเพื่อความประพฤติที่ถูกต้องดีงามได้

        5.มโนธรรม  คืออะไร  เกิดขึ้นได้อย่างไร..?

        เราอาจตอบคำถามนี้ว่าเกิดขึ้นมาจากภายใจจิตใจของมนุษย์เป็นความรู้จักความรับผิดชอบชั่วดีสามารถแยกได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีหรือไม่ดี

        6.ถ้ามนุษย์จะต้องกระทำในสิ่งไม่ดีซึ่งไม่ใช่จะเกิดประโยชน์แก่ตนแต่เป็นการกระทำเพื่อคนจำนวนมาก  ถามว่าเราจะกระทำหรือไม่อย่างไร..?

        จากคำถามดังกล่าวอาจต้องชั่งน้ำหนักตามหน้าที่ของตนว่ามีความเหมาะสมเพียงใดที่ต้องกระทำสิ่งเหล่านั้นเพื่อประโยชน์แก่คนจำนวนมากอย่างนั้นถ้าหากว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่าก็คงต้องตัดสินใจทำ

        7.ในการกระทำอย่างหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อช่วยเหลือชีวิตของคนจำนวนมากแต่การกระทำนั้นเป็นการทำให้บุตรชายของท่านเสียชีวิตท่านจะตัดสินใจทำอย่างไร..?

        จากคำถามดังกล่าวย่อมเป็นการคิดตริตรองให้ละเอียดอย่างถี่ถ้วน  โดยธรรมชาติของมนุษย์แล้วย่อมมีความรักความผูกพันอยู่กับครอบครัวของตน  อาจเป็นไปได้อย่างสูงว่ามนุษย์เลือกที่จะอยู่ข้างบุตรชายของตนนั่นคือการตัดสินใจไม่ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จำนวนมากแต่รักษาชีวิตของบุตรชายของตนดีกว่า

        นี้คือปัญหาในทางปรัชญาซึ่งตอบได้ไม่ง่ายเลย  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ  ...วิถีชีวิตของคนแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไปมากมาย. ( วิทย์  วิศทเวทย์ . ( 2536 ). ปรัชญาทั่วไป . หน้า 1 )

2.จุดหมายของปรัชญา  

หมายเลขบันทึก: 687373เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2020 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2020 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท