รายงานกรณีศึกษา: กิจกรรมบำบัดซึมเศร้า


อ้างอิงจาก Sarsak HI. Applied occupational therapy for major depressive disorder: clinical case report. MOJ Clin Med Case Rep 2020;10(2):31-4.

ประวัติ  ผู้รับบริการ XX อายุ 24 ปี มีโรคซึมเศร้ารุนแรงและพยายามฆ่าตัวตายด้วยการทานยาแก้ปวดเกินขนาด เข้าห้องฉุกเฉินของหน่วยบริการการแพทย์ของวิทยาลัย เพื่อนร่วมห้องพักเล่าว่า เธอตั้งใจเรียนให้ได้เกรดอย่างน้อย B ในสาขาชีววิทยา แต่เริ่มอยากฆ่าตัวตายด้วยการอดอาหารและไม่มีสมาธิในการเรียน หลังจากน้องสาวของเธอเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมเมื่อ 6 เดือนก่อน และแม่ของเธอก็เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมเมื่อเธออายุ 15 ปี และพ่อของเธอแต่งงานใหม่เมื่อ 2 ปีก่อน แต่เธอไม่ชอบแม่เลี้ยง และอยากเรียนจบหางานทำเพื่อออกจากบ้านโดยไม่ให้พ่อเลี้ยงดูอีก 

ปัจจุบันผู้รับบริการอายุ 25 ปี ได้รับการช่วยเหลือจากทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาลจิตเวช จิตแพทย์ และนักกิจกรรมบำบัด จนมีอาการซึมเศร้าลดลงจากการทานยาอย่างต่อเนื่องร่วมกับการเข้าโปรแกรมสหวิชาชีพในทุกวัน  

การประเมินจากนักกิจกรรมบำบัด 

  1. จากการสังเกต สัมภาษณ์ และสร้างสัมพันธภาพ พบว่า ผู้รับบริการมีอารมณ์เฉยเมย ไม่สบตา ไม่สนใจหวีผม ไม่จัดเสื้อผ้าให้เรียบร้อย พูดเสียงเบา ไม่สนใจเลือกรายชื่อกิจกรรมใด ๆ เพราะคิดถึงน้องสาว อยากไปค่ายกับน้องสาว และอยากตายเพื่อไปเจอแม่บนสวรรค์ แต่บอกได้ว่า อดีตชอบอ่านหนังสือ ดูทีวี ตกแต่งสวน  
  2. จากการประเมินระดับการรู้คิดได้ 5.2 จาก 6 ขณะทำกิจกรรมกลุ่มวาดรูปกับเพื่อน ๆ ในคลินิกกิจกรรมบำบัด พบว่า เรียนรู้กิจกรรมใหม่ ๆ ได้อย่างช้า ๆ และต้องปรับให้ง่ายเห็นผลสำเร็จเพิ่มความภาคภูมิใจในตัวเองอย่างต่อเนื่อง และประเมินสภาพจิตได้ 22 คะแนน พบความบกพร่องทางความคิดลบและอารมณ์เป็นลบ 
  3. จากการประเมินความต้องการและการวางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคมใน 2 อาทิตย์ คือ อยากกลับไปลงทะเบียนเรียนและไปเรียนให้จบในอีก 1 เดือนข้างหน้านี้

การให้บริการจากนักกิจกรรมบำบัดใน 2 สัปดาห์ จำนวน 10 ครั้ง ใช้เวลา 45 นาทีต่อครั้งทั้งเดี่ยวและกลุ่ม (ดูกิจกรรมบำบัดข้างล่าง) พบประสิทธิผลถึง 80% ในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้และผู้รับบริการยิ้มได้ พร้อมกลับไปลงทะเบียนเรียนได้จริง  

  • ฝึกให้มี 2-3 ตัวเลือกและคิดเลือกทำกิจกรรมง่าย ๆ สำเร็จเป็นรูปธรรมในเวลารวดเร็ว
  • ฝึกทักษะการดูแลตนเองในทุกกิจวัตรประจำวันและทักษะการเข้าสังคม มีการจัดการความเครียดและจัดการเวลาคล้ายไปเรียนตามตารางเรียนจริงที่วิทยาลัย
  • ฝึกคิดบวกให้รู้ทันอารมณ์อย่างยืดหยุ่น และวางแผนปรับตัวทำกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จตามเป้าหมายอย่างค่อยเป็นค่อยไป (มีความหวัง ไม่คาดหวังสูง) 
  • ฝึกสำรวจกิจกรรมยามว่างที่ไม่เคยทำให้ท้าทายบ้าง และลองทำดูจนเกิดการรับรู้สึกถึงคุณค่าในตนเองระหว่างกลุ่มพลวัติ เช่น ครัวบำบัด 
  • ฝึกผ่อนคลายอารมณ์ผ่านการพูด การเขียน การปั้นดิน และการทำงานศิลปะสร้างสรรค์ 
  • ฝึกสำรวจกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนนอกรพ.เพื่อจัดการอารมณ์ให้มั่นคง 

หมายเลขบันทึก: 687368เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2020 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2020 10:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท