ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

weekly meeting สคส. KM เบาหวาน (2)


weekly meeting ของ สคส. เป็นเทคนิควิธีการดำเนินงานที่ดี เสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างดีเยี่ยม

อ่านและตีความเรื่อง Social  Intelligence แล้วจะเอาไปใช้กับ KM ได้อย่างไร  เป็นคำถามของคุณอ้อม ผู้มากด้วยประสบการณ์ การทำ KM ที่ต้องการให้ผมในฐานะ Intern ได้ทดลองประสานเชื่อมโยงในสิ่งที่ได้เราได้ดำเนินการไปแล้วว่าได้ผลเป็นอย่างไร หรือที่ สคส.เรียกว่า AAR (After Action Review) ที่อาจารย์หมอวิจารณ์ ได้กล่าวไว้ใน KM วันละคำ ซึ่งตรงกับคำที่ (๔๐) หากเป็นหนังสือ KM วันละคำ ก็จะตรงกับหน้าที่ 68  เป็นเครื่องมือจัดการความรู้ที่ใช้ง่ายที่สุด แต่ทรงพลังที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วย

 

1.       ตนเองคาดหวังอะไรบ้างจากกิจกรรมที่ผ่านมา

 

2.       ส่วนใดบ้างที่บรรลุเกินความคาดหมาย เพราะเหตุใด

 

3.       ส่วนใดที่ไม่ค่อยบรรลุ หรือไม่บรรลุเลย เพราะเหตุใด

 

4.   ตนเองจะทำอะไรต่อ

 

5.       ถ้าจะทำงานแบบนี้อีก จะปรับปรุงวิธีการได้อย่างไรบ้าง

 

ด้วยวามตื่นเต้น ความกังวลใจเกิดขึ้นในตัวผมขึ้นมาทันที่ แล้วจึงได้รวบรวมพลังปัญญากลับมาได้อย่างรวดเร็วชนิดที่ว่า ปิ้งแว้บ(ยืมคำพูดของอาจารย์ ดร.ประพนธ์ มาครับครับ) ผมจึงตอบอย่างมั่นใจเลยครับว่า เรื่องที่ได้ไปอ่านและตีความมาในครั้งนี้เป็นเรื่องที่ดี สามารถนำมาเชื่อม ร้อยประสานได้เป็นอย่างดีกับกระบวนการในเรื่องของ KM เพราะกระบวนการ KM เป็นเครื่องมือที่เรานำเข้าไปใช้ในการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ และทรงพลัง แล้วองค์ประกอบภายในของ KM นั้นส่วนหนึ่งก็จะประกอบไปด้วยเทคนิควิธีการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกับคน ดังนั้นในส่วนที่ผมไปอ่านมาทั้งหมดจึงสามารถนำมาประยุคใช้ได้กับ KM ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ เทคนิควิธีการเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีตามแนวทางของ Robert  Rosenthal  ที่ได้กล่าวไว้ว่าส่วนประกอบพื้นฐานของการมีมนุษย์สัมพันธ์และการสร้างความร่วมมือที่ดีนั้นประกอบด้วย 3 ประการ คือ

 

1. การเอาใจใส่ต่อกัน (Shared attention) เช่นว่าการที่คนเราพูดอะไรขึ้นมา เพื่อสื่อให้คนอื่นได้รับรู้  และทำความเข้าใจร่วมกัน เกิดความเท่าเทียมกันได้ในองค์กร และให้วามสำคัญกับผู้อื่น (เอาใจเขามาใส่ใจเรา)ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะทำให้สังคมเรามีแต่ความสุข

 

2.       การสร้างความรู้สึกที่ดี  ( Positive  feeling )  เขากล่าวว่าน้ำเสียงและสีหน้า  สามารถสื่อสารเพิ่มเติมได้จากเนื้อหาที่ต้องการสื่อเช่นกัน

 

3.       การประสานงานที่ดี (Well Coordination) ในการประสานงานที่ดีนั้นจะต้องมีจังหวะและโอกาสที่ลงตัวเข้ามามีส่วนร่วมด้วย  จึงจะทำให้การขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี  ทำให้เป็นกันเอง  การสบตา  และอยู่ใกล้ชิด  ตลอดทั้งการสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย

นอกจากนั้นก็ได้มีพี่น้องชาว สคส. ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติมหลายท่านทำให้ผมได้รับความรู้เพิ่มเติมมากเลยทีเดียว อีกทั้งอาจารย์ ดร.วัลลา ก็ได้กรุณาเสริมเพิ่มเติมว่า ในกระบวนการขับเคลื่อน KM นั้นจิตสำนึก อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ของคนในองค์กรก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นเนื้อหาที่ผมได้นำเสนอไปทั้งหมดนั้นสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างดี 

เรื่องเล่าต่อไป  อาจารย์ ดร. วัลลา  ตันตโยทัย ได้นำเสนอ  BAR (Before Action Review)  งานมหกรรม KM เบาหวานแห่งชาติ โดยมวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเบาหวาน ในงานนี้เราก็จะได้มีโอกาสได้พบกับผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เป็นการจัดเวทีเสวนาและการเล่าเรื่องถึงผลสำเร็จของการรักษาเบาหวาน จากทั่วทุกภาคของประเทศไทย  ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นประมาณวันที่ 25-27 กรกฎาคม 2549  สำหรับสถานที่นั้นคาดว่าจะเป็นสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์  ดังนั้นจึงนับเป็นโอกาสอันดีอย่างยิ่งสำหรับท่านที่มีปัญหาเรื่องเบาหวาน และกำลังต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเบาหวาน ขอให้ติดตามข่าวจากทาง สคส.ต่อไปนะครับ

 

นำเสนอ AAR  หลังจากที่อาจารย์ ดร. วัลลา ได้เล่าเสร็จก็เป็นการนำเสนอ  AAR งานมหกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ที่จัดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ กรุงเทพฯ โดยคุณฉันทลักษณ์  อาจหาญ และตามต่อด้วยคุณอุไรวรรณ  เทิดบารมี ได้นำเสนอ AAR ตลาดนัดความรู้คุณเอื้อและคุณอำนวยชุมชน ซึ่งเป็นการนำผู้นำชุมชนที่เป็น นายก อบต. และผู้ใหญ่บ้าน กว่า 170 คน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเอง ดำเนินการโดยภาคีเครือข่ายของ สคส. คุณทรงพล   เจตนาวณิชย์ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง  อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี นับเป็นรูปแบบใหม่ของการจัดการความรู้ในระดับชุมชนที่น่าติดตามเลยทีเดียว นอกจากนั้นก็ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับผลการดำเนินการการจัดงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 3 และเตรียมการจัดงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 4 ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะจัดประมาณวันที่ 29 – 30 พฤศจิกายน 2550  อย่าลืมติดตามความก้าวหน้าอีกครั้งหนึ่ง นะครับ

 

ครูบาสุทธินันท์ AAR ต่อที่ประชุม..............................(เกรงว่าจะยาวเกินไปเดี๋ยวอ่านไม่สนุกครับ ….โปรดติดตามตอนต่อไป

 

ขอบคุณครับ

 

อุทัย   อันพิมพ์

 21 ธันวาคม  2549      

 

หมายเลขบันทึก: 68589เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2006 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
คิดถึงบ้านหรือยังครับ กลับบ้านเรา ยักษ์เอ้ย..รักรออยู่ นะครับ

ทราบแล้วครับ

กำลังหาทางอยู่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท