คุณค่าที่เหนือกว่าปริญญาบัตร คุณค่าที่บัณฑิตและมหาบัณฑิตหลายคน เข้าไม่ถึง


..... เพราะบัณฑิตและมหาบัณฑิตบางท่าน ไม่มีสิ่งเหล่านั้นมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว



งานรับปริญญา สำหรับหลายคนมีความสำคัญ  ต้องมารับให้ได้
แต่อีกหลายคน เห็นเพียงแค่งานๆหนึ่ง จะมารับหรือไม่มา ก็ถือว่า สำเร็จการศึกษาเช่นกัน

ความรู้ที่ได้ มีคุณค่ามากกว่าใบปริญญาบัตร

แต่ยังมีคุณค่าหนึ่งที่เหนือกว่า ใบปริญญาบัตรที่ได้ และหลายคนพลาดโอกาสที่จะได้สัมผัสถึงคุณค่าเหล่านั้น
….. เพราะบัณฑิตและมหาบัณฑิตบางท่าน ไม่มีสิ่งเหล่านั้นมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว

ในพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร มมส. เมื่อ 19 ธันวาคม 2549

1.ได้รู้จักญาติ พ่อ แม่ ลูก หลาน ของพี่มหาบัณฑิต มีพี่มหาบัณฑิตท่านหนึ่ง ที่พากันมาทั้งครอบครัว เป็นครอบครัวใหญ่ที่อบอุ่น เพื่อนร่วมรุ่น รุ่นน้องที่สนิทด้วย ได้รับโอกาสทำความรู้จัก บุคคลในครอบครัวของพี่มหาบัณฑิตท่านนี้ หลังจากที่สนิทสนม และคุ้นเคยกับพี่มหาบัณฑิตจนรู้ใจกันดีแล้ว

2.ลูกหลาน ในครอบครัว มีโอกาสได้ทานอาหารดีๆ เต็มโต๊ะ ซึ่งปกติอาหารแต่ละมื้อในหมู่บ้าน ไม่มีโอกาสที่จะได้ทานอาหารเช่นนี้เลย

3.พ่อ แม่ ลุง ป้า ได้แต่งชุดสวยๆ ชุดผ้าไหมที่จะหยิบมาใส่ในโอกาสสำคัญๆ ซึ่งได้ใส่โชว์สายตาของผู้ที่มาร่วมงานอีกหลายๆคน ในระหว่างนั่งรอมหาบัณฑิตออกจากอาคารพลศึกษาในช่วงพิธีพระราชทานปริญญา กลุ่มผู้ที่มารอที่นั่งปูเสื่อใกล้ๆกัน ต่างสนทนาแลกเปลี่ยนรอเวลา สอบถามถึงชุดที่สวมใส่ ซื้อมาจากไหน อย่างไร .. การแต่งกายของญาติมหาบัณฑิตก็ได้รับความสนใจเช่นกัน

4.ญาติๆ ลุง ป้า น้า อา ลูก หลาน มีโอกาสได้ถ่ายรูปนับร้อยภาพตามซุ้มดอกไม้สวยๆ มุมต่างๆ ซึ่งปกติจะไม่มีโอกาสได้ถ่ายรูปมากมายเช่นนี้มาก่อน

5.เป็นอีก 1 งานสำคญ ที่ญาติๆที่อยู่ห่างไกลกันมีโอกาสมาพบกัน

บัณฑิตและมหาบัณฑิตหลายท่าน มักจะยึดตัวตนเป็นหลัก ในการตัดสินใจที่จะรับปริญญาหรือไม่ แต่ลืมที่จะมองข้ามความรู้สึกของคนรอบข้าง คนในครอบครัว ญาติๆที่อยากจะมาร่วมแสดงความยินดี


สังคมไทยปัจจุบัน เป็นครอบครัวเดี่ยว  จึงไม่มีญาติพี่น้อง หรือคนอื่นๆให้ต้องคิดถึงมากนัก

น่าเสียดายที่หลายคนมองคุณค่าการรับปริญญา เพียงแค่ใบปริญญาเท่านั้น

<h2>แต่ไม่ได้มองถึงความรู้สึก การมีส่วนร่วมของคนในครอบครัว คนในตระกูลที่รัก หวังดี และห่วงใยในตัวบัณฑิตและมหาบัณฑิต บ้างเลย</h2>
….. เพราะบัณฑิตและมหาบัณฑิตบางท่าน ไม่มีสิ่งเหล่านั้นมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว





หนึ่งมุมถ่ายรูปสวยๆหน้าอาคารพลศึกษา มมส

หนึ่งมุมสวยๆ ตรงทางเข้าบริเวณ มมส. ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนบ้านท่าขอนยาง

หมายเลขบันทึก: 68581เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2006 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เคยไปรับปริญญากับพี่ชายครั้งหนึ่งที่รามครับ ต้นปีนี้เอง ก็ได้รูป หลายรูปมากเลยครับ มีทั้งพ่อ-แม่ พี่สาว พี่ชาย น้องชาย ถือว่าวันนั้นอบอุ่นมากครับ รูปที่ผมถ่ายใช้ กล้องดิจิตอลครับ

กลับจากงานรับปริญญาเสร็จแล้วก็โหลดรูปไว้ในคอม

ซึ่งโหลดเสร็จแล้ว ก็ลบภาพทิ้งออกจากเมมโมรี่

หลังจากนั้นไม่นาน ฮาร์ดดิสก์ ก็มีอันต้องอันต้องเป็นไป ฮาร์ดดิสก์ เสียครับ เปิดไม่ติด บุ๊ตไม่ขึ้น

เอาไปร้าน บอกว่า เสียแล้ว ซึ่งแถวนี้ ก็ไม่มีร้านที่จะมีเครื่องมือในการกู้ข้อมูลในฮาร์ดดิสส์

 สรุปว่า เสียใจมากครับ ที่ไม่นำรูปไปล้างในทันที ถ้าถ่ายเสร็จแล้ว นำไปร้านล้างอัด ก็คงดีไป ฮึ่ม

บทเรียนมีราคาจริง ๆ ครับ อะไรก็เกิดขึ้นได้ ห้ามประมาท บอกตัวเองเสมอครับ

 

ปล. เพื่อนผมคนนึงก็เรียนมหาสารคามครับ แวะมาทักทายครับ

สุกี๊

 http://sukiee.wordpress.com

 

แหม เสียดายแทนคุณสุกี้จริงๆที่ต้องสูญเสียภาพสวยๆเหล่านั้นไป
แต่ภาพเหล่านั้น คงอยู่ในความทรงจำทุกช็อต ทุกเหตุการณ์นะครับ
แต่ก็เป็นครอบครัวที่น่าอิจฉาเช่นกันที่ทั้งครอบครัว ไปร่วมเติมเต็มความอบอุ่นในวันแห่งความสำเร็จของคุณสุกี้ในวันนั้น

ห้ามประมาทอย่างที่ว่าครับ นายบอนกำลังจะเตือนพี่ชายในภาพ เอารูปไปล้างอัดจากกล้องดิจิตอลเช่นกันนะครับ

ขอบคุณครับที่แวะมาทักทาย
  • ก็แสดงความยินดีกับทุกท่านนะครับ
  • วันที่ 19 ผมก็ได้ไปเกือบช่วงเที่ยง ถ้าตามภาพแรกคนจะมืดฟ้ามั่วดินด้วยความยินดี ประทับใจ
  • ป้ายจะไม่ว่างอย่างที่เห็นครับทุกๆท่าน
ภาพที่เห็นเป็นภาพที่ถ่ายในวันซ้อมใหญ่ 17 ธ.ค.49 ครับ
ในวันที่ 19 ธ.ค.  ภาพแรกผู้คนจะยืนกันแน่น และไม่มีที่ว่างอย่างภาพที่เห็นเลยครับ
นี้คือ "กงล้อชีวิตนะเพื่อน " ต้องทำใจแล้วล่ะ เพราะทุก ๆ ชีวิตมีค่า กับตัวเขาเอง เพราะชีวิตมิได้อยู่แค่วันที่ล่วงผ่าน ชีวิตของบัณฑิต มหาบัณฑิต ไม่ได้อยู่ที่ใบปริญญา แต่อยู่ที่การดำรงตนให้อยู่ในสังคมอย่างปกติสุข นี่คือเหตุผล เมื่อหลายปีก่อนเราเข้ารับพระราชทานฯ ปริญญา ที่สวนอัมพร ก็เป็นแบบนี้แหละ เพราะทุก ๆ ชีวิต ทุก ๆ ญาติพี่น้องก็มารวมกัน ถือว่าวันนี้คือวันพบปะของญาติพี่น้องที่อยู่ห่างไกลกันมาแสดงความยินดีด้วย แต่ก็เป็นเพียงช่วงเวลานั้น ๆ เท่านั้น ส่วนเวลาที่เหลือก็เป็นอยู่ที่บัณฑิตจะตัดสินใจเองแล้วล่ะว่า จะสู้กับชีวิตที่เหลืออยู่หรือจะถอย หรือจะกอดใบปริญญานั้นไว้ โดยที่ค่าของใบปริญญาอยู่ที่ผู้กระทำต่างหากล่ะครับ.......

ผมว่าคนเมืองกรุงไม่ค่อยจะผูกพันกับเครือญาติเท่าคนต่างจังหวัดครับ เวลางานรับปริญญาคนกรุงเทพญาติ ๆ มาน้อยกว่าคนต่างจังหวัดเยอะเลยครับ

อย่างของนิวนะคุณบอน  วันที่นิวรับปริญญาที่ ม.นเรศวร  มีเพียงแค่ พ่อ-แม่-พี่ชายและน้องสาวแค่นั้นเองคะ   ไม่มีญาติคนอื่นๆ เลย  ทุก ๆ คนอาจมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เหอๆ  แต่ถึงมีแค่นี้มันก็ทำให้นิวภูมิใจ  และภูมิใจที่ไม่ทำให้พ่อและแม่ผิดหวังคะ  (จบคนแรกของรุ่น) และต่อจากนี้ไปอีก 2-3 ปี นิวก็หวังจะมีบรรยากาศแบบนี้อีกเช่นเดิมคะ  เพียงแต่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งใหม่   บรรยากาศใหม่ ๆ  แต่ยังคงมีพ่อ-แม่-พี่ชาย-น้องสาว  เหมือนเดิมคะ

คุณ น.เมืองสรวง (เพื่อนอำนาจ)
  เป็นคำอธิบายที่ชัดเจนมากๆ เลย เวลาที่เห็นคนชนบทพากันมาร่วมงานรับปริญญา จะดูอบอุ่นเป็นอย่างมาก ทำให้งานรับปริญญา มีความหมายมากขึ้นจริงๆ

ความหมายไม่ใช่ที่ค่าของใบปริญญา แต่ความหมายจากความอบอุ่น รอยยิ้มจากคนที่มาร่วมยินดีนั่นเอง

คุณ Aj Kae  ครับ
  อาจเพราะใน กทม.รถติด คน กทม.มีหน้าที่การงานที่หนักกว่าคนต่างจังหวัด เวลาก็จำกัดครับ แต่ก็อยากให้มีบรรยากาศที่อบอุ่น มีชีวิตชีวาบ้าง

คุณนิวครับ
  ความอบอุ่นที่ได้รับจากคนในครอบครัว ในวันรับปริญญา จำนวนคนบางทีก็ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่สำคัญ เพราะในบันทึกของคุณนิวที่กล่าวถึงคนในครอบครัว...

... อบอุ๊น..อบอุ่น..
อุ่นไอรัก คงทำให้คนที่พบเห็นอิจฉาและเกิดรอยยิ้มได้เหมือนกันนะครับ

บางที อีก 2-3 ปีข้างหน้า อาจจะมีผู้มาร่วมยินดีเพิ่มขึ้น เช่นชาว gotoknow ที่สามารถไปร่วมยินดีได้นั่นไงครับ
ขอบคุณนะคะ คุณบอน  คิก ๆ 
บางที 2-3 ปีข้างหน้า นายบอนอาจจะถือช่อดอกบัว เอ๊ยช่อดอกไม้ไปมอบให้นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท