IOC


IOC เพื่อการวิจัยในวงเล่า
           เมื่อคืนกำลังเสวนากับเพื่อน ๆ พี่ ๆ ในวงเล่า ก็มีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น ถามพี่อยู่ไหน ผมก็ตอบไปว่า อยู่กับเพื่อน ๆ ในร้านแห่งหนึ่ง เดียวจะไปหาเพราะน้องเขาอยากถามหาค่าIOCอย่างไร ผมก็บอกว่าเลย พอมาถึงกำลงจะอธิบายและเขียนแสดงตัวอย่าง ปรากฏว่าไฟดับเพราะร้านปิดพอดี อะไรช่างเหมาะจงขนาดนี้ เลยบอกว่าไปรอที่บ้าน อีก 10 นาทีถึง พอถึงบ้านก็เลยอธิบายการหาค่าIOC ของผู้เชี่ยวชาญจากการให้ผู้เขี่ยวชาญตรวจสอบแบบสอบถาม IOC คือ ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ หรือเนื้อหา (IOC : Index of item objective congruence) ปกติแล้วจะให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปในการตรวจสอบ โดยให้เกณฑ์ในการตรวจพิจารณาข้อคำถามดังนี้
  •  ให้คะแนน +1 ถ้าแน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์
  • ให้คะแนน 0 ถ้าไม่แน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์
  • ให้คะแนน -1 ถ้าแน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค
แล้วนำผลคะแนนที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่า IOC ตามสูตร
เกณฑ์ 1. ข้อคำถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50 – 1.00 มีค่าความเที่ยงตรง ใช้ได้

          2. ข้อคำถามที่มีค่า IOC ต่ำกว่า 0.50 ต้องปรับปรุง ยังใช้ไม่ได้
ตัวอย่างเช่น ข้อคำถาม ข้อ 1 ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน แต่ละท่าน ให้คะแนนมา คือ +1 ทั้ง 3 ท่าน การหาค่าIOC  คือ
           1. หาผลรวมของคะแนนในข้อ 1 โดยการบวก  1+1+1 เท่ากับ 3 คะแนน
           2. หารด้วยจำนวนผู้เชี่ยวชาญ คือ ผลรวมคะแนน/จำนวนผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 3/3 = 1 แล้วนำผลไปเที่ยบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ จากผลแสดงว่า ข้อคำถามมีความเที่ยงตรงสูง นำไปใช้ได้  ส่วนข้ออื่น ๆ ก็ทำหลักการเดียวกันทั้งหมด
         เห็นไหมครับการหาค่าIOC ไม่ยากเลย สามารถหาได้ทั้งแบบทดสอบ แบบวัด สำหรับนิสิต นักศึกษาที่กำลังทำวิทยานิพนธ์หรือผู้สนใจ อ่านแล้วนำไปใช้ได้เลย
ทองสง่า ผ่องแผ้ว
21 ธ.ค. 2549
หมายเลขบันทึก: 68585เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2006 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)
  • ถ้าหาค่า IOC ในวงเล่า คงได้ตัวเลขที่ถูกต้องแน่ครับ
  • แต่ถ้าหาค่า IOC ในวงเหล้า คงไม่ดีแน่ครับ
  • ความรู้ เกิดขึ้นได้ในทุกวงการครับ ไม่ว่าจะเป็น วงเล่า หรือ วงเหล้า ก็ตาม เพราะทั้ง 2 วงนี้ ต่างก็มีการ ลปรร. อย่างเปิดใจ กันทั้งนั้น
  • แต่ผมอยากให้เป็น วงเล่า มากกว่า เพราะเป็นเชิงบวก ส่วนอีกวงหนึ่ง เป็นเชิงลบ
  • ขอบคุณครับ

อยากจะแนะนำนิดนึงค่ะว่าเวลาหาIOCว่าใช้ได้หรือป่าวควรยึดจำนวนผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก คือ ควรหาเกณฑ์ขั่นต่ำของค่าIOC จาก ค่าที่เกินครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้เชี่ยวชาญหารด้วยจำนวนผู้เชี่ยวชาญ

ตัวอย่างเช่น จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน จะได้เกณฑ์ขั้นต่ำของค่า IOC คือ 3/5 = 0.6 ค่ะ ไม่ใช่ 0.5 นะคะ

จิตตานันท์ ลมสูงเนิน

ความรู้ของท่านเป็นประโยชน์ต่อข้าพเจ้ามาก

                  ขอบคุณ  อ.แหม่ม ศน.

ค่า IOC ติดลบได้หรือเปล่า และถ้าติดลบหมายความว่าอย่างไร

IOC มีโอกาสติดลบได้นะคะ เพราะการคิดคะแนนรวมจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จากความหมายของการพิจารณาที่ว่า 1 หมายความว่าผู้เชี่ยวชาญท่านนั้นแน่ใจว่าข้อคำถามนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ หรือเนื้อหา 0 หมายความว่าผู้เชี่ยวชาญท่านนั้นไม่แน่ใจว่าข้อคำถามนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือเนื้อหา และ -1 หมายความว่าผู้เชี่ยวชาญท่านนั้นไน่ใจว่าข้อคำถามนั้นไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือเนื้อหา เมื่อผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านแน่ใจว่าข้อคำถามนั้นไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือเนื้อหา ท่านก็จะเลือก -1 ทุกท่าน ทำให้ผลรวมความคิดเห็นเป็นลบ เมื่อหารด้วยจำนวนผู้เชี่ยวชาญก็จะทำให่ผลหารออกมาเป็นลบ แสดงว่าข้อคำถามข้อนั้นแย่มาก ๆ คือไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือเนื้อหาเลย ต้องปรับปรุงใหม่ ซึ่งส่วนมากจะหายากมากที่จะเป็นลบ(เพราะคนเขียนข้อคำถามเจ๋งมาก) แต่มีโอกาสเป็นลบได้นะคะ(ถ้าคนเขียนข้อคำถามไม่เจ๋ง) เช่น จะวัดความเข้าใจเรื่องพ่อขุนรามคำแห่งมหาราช แล้วเขียนคำถามว่า พ่อขุนรามปกครองกรุงสุโขไหน ก.ทัย ข.ลาว ค.พม่า ง.เขมร ข้อนี้น่าจะมีโอกาสติดลบนะ หรือถ้าท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญจะว่ายังไง

ได้ความรู้เป็นประโยชน์มาก

อยากรบกวนขอวิธีทำตารางการหาค่า IOC และสูตรครับ

ขอบคุณล่วงหน้า

มมส. พ.11

เผอิญว่าพึ่งเข้า กำลังสงสัยพอดีเลยค่ะ

ได้ความเพิ่มขึ้น ขอคุณทุกท่านค่ะ

อยากได้แบบฟอร์มการหาค่า coi เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญเสนอความคิดเห้นมีหรือเปล่าคะ

อยากรู้วิธีการทำ IOC และตารางแสดงค่า IOC ด้วยค่ะ

ในกรณีวิจัยเชิงเอกสารจำเป็นเพียงไหนกับการทำIOC ครับ และถ้าทำIOC จะลงขั้นตอนการทำIOC ในบทใหนครับ รบกวนหน่อยนะครับ

ถ้าเป็นแบบสอบถามที่แปลมาจากต่างประเทศ หาIOC เหมือนกันไหมคะ อยากทราบวิธีการทำ IOC และตารางแสดงค่า IOC ด้วยค่ะ

อธิบายการหาค่า IOC.ให้แสดงตารางด้วยคะ จะเป็นประโยชน์มากเลยขอขอบคุณล่วงหน้า

ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยให้คำแนะนำเรื่องการเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้หลังจากทดสอบหลังเรียน14 วันด้วยค่ะ ขอบพระคุรมากๆ

IOC คำเต็มมีตั้งหลายตัวไม่ทราบว่านิยมใช้ตัวไหนคับผม

ทิพย์วรรณ พันธ์ชัย

กำลังอยากได้เลยค่ะ ขอบคุณ ขอบคุณ 2 ครั้ง สำหรับความรู้ดีดีแบบนี้

พีระพงษ์ วงศ์อุปราช

ผมอยากกล่าวว่าอันนี้เป็นเกณฑ์ที่คนไทยน่าจะแปลงมาซึ่งในความเป็นจริงเป็นเกณฑ์คร่าวๆ จริงๆ ครับหากลองพิจารณาให้ลึกซึ้งว่าแบบสอบแต่ละฉบับมีหลายวัตถุประสงค์และแต่ละวัตถุประสงค์วัดโดยใช้หลายข้อคำถาม เช่น แบบสอบหนึ่งวัดความรู้เรื่องตรีโกณมิติมีข้อคำถาม 3 ข้อ วัดความรู้เรื่องพีชคณิมีข้อคำถาม 4 ข้อ ซึ่งจะเห็นว่ามี 2 วัตถุประสงค์ แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ของแบบวัดทั้งฉบับสูตรที่ท่านให้มานี้จะไม่ work ลองไปดูต้นฉบับขอ

Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60. ซึ่งจะมีสูตรเต็มและการทดสอบความมีนัยสำคัญอีกตั้งหาก โดยวิธีการหา content validity หรือ item validation เขาให้แนวทางไว้ถึง 3 วิธีแต่หากในกรณีแบบสอบที่มีลักษณะ multidimensinal items ผมแนะนำให้ลองไปอ่านของ Turner & Carlson (2003). Indexes of item-objective congruence for multidimensional items. ครับผม

ขอบคุณนะคะมีประโยชน์มากค่ะ

อยากทราบว่าเมื่อเชิญผู้เชี่ยวชาญแล้ว นอกจากแบบสอบถาม IOC เราต้องเอกสารอะไรไปให้อีกบ้างค่ะ

thank you for your expert.why does someone use IOC stand for Index of Consistency. เหมือนกันหรือเปล่าเพราะไม่ชำนาญในเรื่องนี้ค่ะ 

ค่า IOC = .50 - 1.00 ติดลบหรือต่ำกว่า .50 ก็ถือว่าข้อคำถามนั้นใช้ไม่ได้นะครับ ส่วนมากผู้เชี่ยวชาญจะใช้ 3 5 7 คนเพื่อแก้ปัญหานั้ครับ

นายนนทชัย ศิริผลา

ผู้วิจัยควรหาค่า IOC แบบใด

ก. แบบสัมภาษณ์

ข. แบบสอบถาม

ค. แบบทดสอบ

ง. แบบบันทึก

ขอบคุนมากค่ะ....เข้าใจเลย

IOC : Index of item objective congruence

ก็คือคะแนนเฉลี่ย

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

ผู้กำลังทำผลงาน จึงต้องการทราบการหาค่า ioc กับแบบทดสอบ ค่อยเข้าใจบ้างแล้ว

ขอบคุณมากคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท