ปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน(2)


ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน

ประสบการณ์การปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน

                   โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยาได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียนโดยส่งเสริมสนับสนุนให้มีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมและยึดหลักการกระจายอำนาจในการบริหารงาน ตลอดจนการตัดสินใจดำเนินงานของคณะกรรมการฝ่ายต่างๆในโรงเรียน เช่น คณะกรรมการสภาครู คณะกรรมการสายชั้น คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ     โดยเน้นระบบการบริหารงานโรงเรียนที่ยึด โรงเรียนเป็นฐาน SBM (School Based Management) ในเรื่องต่อไปนี้

1) การพัฒนาบุคลากร

-          โรงเรียนจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องโดยการจัดประชุม     อบรม สัมมนา ศึกษา-ดูงานด้านการเรียนการสอนทั้งในประเทศและ   ต่างประเทศ
-          จัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยนครูและผู้บริหารกับสมาคมทางการศึกษา  ของประเทศสหรัฐอเมริกา  "Hopkins Education Association" เป็นประจำทุกปี  โดยมีครูและผู้บริหารโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา เดินทาง   ไปศึกษาดูงานด้านการศึกษา ณ มลรัฐมินนิโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 5 คน ออสเตรเลีย  2  คน
-          จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในด้านการปฏิรูปการศึกษา และขอความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษาในการเป็นวิทยากรภูมิปัญญาชาวบ้านให้การอบรมความรู้แก่นักเรียน เช่น ด้านพิพิธภัณฑ์เรือไทย โดย อาจารย์ไพฑูรย์  ขาวมาลา  ด้านการสานพัด โดย อาจารย์ประสาน  เสถียรพันธุ์  เป็นต้น 

2)     การจัดกระบวนการเรียนการสอน  ได้ดำเนินการดังนี้

-          มีการปรับหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา โดยใช้บริบทอยุธยามรดกโลก

 

- ส่งเสริมให้ครูพัฒนานวัตกรรมการสอนโดยใช้โมเดลของโรงเรียน หรือ JIRASART  Teaching's Model   ซึ่งได้นำพยัญชนะต้นชื่อโรงเรียนภาษาอังกฤษมากำหนด ดังนี้

 

J มาจากคำว่า Joy to learn  หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้   ผู้เรียน มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง       ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง   มีความสุขในการเรียน

 

I มาจากคำว่า Integrating  knowledge หมายถึง การนำความรู้จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่หลากหลายมาบูรณาการสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่

 

R มาจากคำว่า Reflecting observation  หมายถึง การสะท้อนความรู้สึกนึกคิดจากการสังเกต ออกมาเป็นคำพูด หรือการเขียนเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้ เข้าใจ

 

A มาจากคำว่า Acting experimentation  หมายถึง การลงมือปฏิบัติ/ ทดลอง     ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้

 

S มาจากคำว่า Satisfaction หมายถึง ความภาคภูมิใจในผลงาน และการยอมรับความรู้ ความสามารถของตนเองและผู้อื่น

 

A มาจากคำว่า Achievement  หมายถึง การมุ่งมั่นทำงานโดยใช้ความรู้ ความสามารถของตนเองและร่วมมือกับผู้อื่นดำเนินการจนสำเร็จ

 

R มาจากคำว่า Research & Development  หมายถึง การค้นหาปัญหา          ข้อบกพร่องของผลงานหรือการทำงานและหาทางปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

 

T มาจากคำว่า Teamwork  หมายถึง การรู้จักทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคคลอื่น

 ครูสามารถดำเนินการสอนตามโมเดลการสอนของโรงเรียนจิระศาสตร์ได้ดังนี้

1.      ขั้นการให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข (Joyfull to learning)ขั้นนี้เป็นการใช้เกม เพลง หรือกิจกรรมประกอบบทเรียน ให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น อยากเรียน  และได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง 

2.      ขั้นการบูรณาการความรู้  (Integrating  knowledge)ขั้นนี้เป็นการทบทวนความรู้เดิมและการให้ความรู้ใหม่แก่นักเรียน โดยผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูลความรู้ที่หามาได้ 

3.      ขั้นการสะท้อนความรู้สึกนึกคิด  (Reflecting observation)     ขั้นนี้เป็นการสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียน จากการสังเกตออกมาเป็นคำพูด หรือการเขียนเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้ เข้าใจ 

4.      ขั้นการลงมือปฏิบัติ/ ทดลอง (Acting experimentation) ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและจะต้องได้ลงมือปฏิบัติจริง 

5.      ขั้นการสร้างความภาคภูมิใจในผลงาน  (Satisfaction) ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะมีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ที่ตนไปศึกษาค้นคว้ามา และอาจนำเสนอผลงานในรูปแบบการรายงาน หรือการจัดนิทรรศการ 

6.      ขั้นการดำเนินงานสู่ความสำเร็จ  (Achievement) ขั้นนี้เป็นการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมดทั้งความรู้เดิม และความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย 

7.      ขั้นการวิจัยและพัฒนา  (Research & Development) ขั้นนี้เป็นการทบทวนผลงาน ผลการศึกษาค้นคว้าว่ามีปัญหา ข้อ ควรแก้ไขอะไรบ้างและหาแนวทางปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น 

8.      ขั้นการทำงานเป็นทีม  (Teamwork)ขั้นนี้เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักการร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกันในด้านการเรียนและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

-          ส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในด้านการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในลักษณะบูรณาการความรู้ ทักษะปฏิบัติ   ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง เช่น บูรณาการร่วมกับโครงการรุ่งอรุณ   โครงการห้องเรียน  สีเขียว และงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
-          นำนักเรียนไปศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ท้องถิ่นที่อยู่ใกล้  โรงเรียน เช่น  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ศูนย์การเรียนรู้ตามธรรมชาติสนองแนวพระราชดำริฯ "เศรษฐกิจพอเพียง"
-          เชิญปราชญ์ชาวบ้าน/ ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาเป็นวิทยากรบรรยาย ให้ความรู้แก่นักเรียน เช่น การปั้นตุ๊กตาพื้นบ้าน  การสานปลาตะเพียน  การสานพัด  การทำหัวโขน  การทำโรตีสายไหม ฯลฯ
-          ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long Education) โดยจัดบริการอำนวยความสะดวก แก่ นักเรียนและบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนในด้านการบริการข่าวสาร ข้อมูล และการศึกษาหาความรู้จากห้องสมุด  ศูนย์อินเตอร์เน็ต ฯลฯ
-          ส่งเสริมให้มีการประเมินครูแกนนำเพื่อเป็นครูต้นแบบการปฏิรูปการ-เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด
-          สนับสนุนให้มีการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยจัดให้มีการนิเทศโดยเพื่อนครู  ผู้บริหาร  และผู้ทรงคุณวุฒิ

           

ปฐมพงศ์  ศุภเลิศ
18 ธ.ค. 2549
หมายเลขบันทึก: 68031เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2006 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ตามมาดู School -based สมัยทำงานกับอาจารย์ ดร.เลขาและ อาจารย์ ดร.ปรางศรี ครับ
  • ผมถามคำถามไว้ที่  ถาม ดร. ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ
  • แต่ไม่มีใครตอบตอบ
  • มีคำตอบเฉพาะคำถามแรก
  • ขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท