ผู้ประสานงานวิจัยมือใหม่ : (2) ถึงนักวิจัย มน. และนักวิจัยในเขตภาคเหนือตอนล่างทุกท่านครับ


อยากจะขอร้องให้ช่วยกันพิจารณาเรื่องการปรับเปลี่ยนแนวคิดการทำวิจัยจากเดิม ๆ ที่มักจะใช้ “ความต้องการของตัวนักวิจัยเอง” เป็นตัวตั้งในการทำวิจัย มาเป็นการใช้ “ความต้องการของผู้ใช้ผลงานวิจัย” มาเป็นตัวตั้งในการทำวิจัย

         ผมอยากจะเชิญชวนนักวิจัย ทั้งที่อยู่ใน มน. และที่อยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างทั้งหมด ได้โปรดกรุณาติดตามบันทึกชุดนี้ และแสดงความคิดเป็นระยะ ๆ ด้วยครับ

         เพื่อประโยชน์ในการช่วยกันคิดช่วยกันทำ คนละไม้คนละมือในการที่จะนำการวิจัยมาช่วยพัฒนาภาคเหนือตอนล่างร่วมกัน

         ตามแนวคิด “ABC เหนือล่าง สกว.” นั้น ความจริงมีภาคีต่าง ๆ จำนวนมาก ที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ ภาคีจาก (1) ภาคราชการ (2) ภาคเอกชน (3) ภาคประชาชน และ (4) ภาควิชาการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ สถาบันอุดมศึกษาใน area นั้น ๆ

         แต่กลุ่มคนที่ผมเห็นว่า ต้องทำความเข้าใจกันให้ดีก่อนตั้งแต่เริ่มต้น คือ นักวิจัยต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ในทุกภาคีดังกล่าว

         อยากจะขอร้องให้ช่วยกันพิจารณาเรื่องการปรับเปลี่ยนแนวคิดการทำวิจัยจากเดิม ๆ ที่มักจะใช้ “ความต้องการของตัวนักวิจัยเอง” เป็นตัวตั้งในการทำวิจัย มาเป็นการใช้ “ความต้องการของผู้ใช้ผลงานวิจัย” มาเป็นตัวตั้งในการทำวิจัย

         ว่ากันว่าการปรับเปลี่ยนแนวคิดนี้ เป็นเรื่องที่พูดง่าย แต่ว่าทำได้ยาก

         และเป็น Key ของความสำเร็จของการทำวิจัยตามแนวคิดใหม่นี้

         ผมจึงอยากจะสื่อสารถึงนักวิจัยทุกท่านก่อนเป็นอันดับแรก ให้ช่วยกันติดตามและแสดงความคิดเห็นเป็นระยะ ๆ

         ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

         วิบูลย์ วัฒนาธร

.

หมายเลขบันทึก: 67759เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2006 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดูๆ หลักการ แนวคิด ABC เหมือนกันครับ แต่ต่างบริบทกันครับ ผมสรุปรวมไว้ที่

ปี 2550 มมส. จะเดินเรื่อง KM อย่างไร ? #2

ขอบคุณท่านรองฯ (ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร) มากครับ
วิชิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท