ความรู้เกิดขึ้นได้ในทุกที่แม้ในภาวะที่ไม่เป็นสุข


ทุกข์หรือปัญหามีไว้ใช้ค้นหาและพัฒนาตนเองได้..การเข้าใจและเรียนรู้จักสภาวะทุกข์ให้ชัดเจนอย่างถึงที่สุดแต่ไม่ใช่ติดหรืออมทุกข์จะทำให้เราหาทางออกและคำตอบดีๆให้แก่ชีวิตของตัวเราเองได้และการจะทำให้ปลดทุกข์ในใจได้สำเร็จเราต้องกล้าที่จะยอมรับเผชิญและไม่หลีกหนีที่จะเจอกับความเจ็บปวดที่แอบแฝงอยู่ในทุกข์นั้นเพราะค่าใช้จ่ายหรือความเจ็บปวดที่เรามีในการปฏิเสธหรือเลี่ยงการเจอทุกข์นั้นอาจแย่หรือเสียหายหนักกว่า..

ความทุกข์หรือภาวะที่ไม่ใช่ความรู้สึกว่าเป็นสุข...เป็นสิ่งที่หลายๆคนกลัวและไม่กล้าที่จะสู้..เราจึงถูกความกลัวว่าจะเป็นทุกข์เข้ามาครอบงำ

    .

.ความหวาดกลัวนั้นบางรายมีผลต่อร่างกาย อาทิ ทำให้ใจเต้นเร็ว..ตามีการเคลื่อนไหวมากขึ้น..กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย ขาดสมาธิและความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม..นอนไม่หลับ..ซึมหรือเฉยชา...

บันทึกนี้เขียนขึ้นด้วยเหตุผลสำคัญสองอย่าง

หนึ่งคือ จากที่ได้ไปประชุมวิชาการสมาคมนักจิตมาและได้รับฟังประสบการณ์ของเพื่อนและรุ่นพี่นักจิตวิทยาด้วยกันเล่าถึงการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยทั้งจากเหตุการณ์ความไม่สงบในเขตสามจังหวัดชายแดนและการช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้ประสบภัยสึนามิ..แม้จะเล่าแบบเป็นเทคนิคทางวิชาการแต่สิ่งที่นอกเหนือจากทักษะความรู้ทางทฤษฏีที่ได้สัมผัสหรือทดลองใช้จนสำเร็จแล้วเอามาบอกต่อให้ได้รับรู้กันแล้ว

สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้ในขณะเรียนรู้จากผู้เล่านั่นคือความรู้สึกในใจที่ได้ไปรับรู้และทำอะไรบางอย่างเท่าที่เขาจะทำได้

...น้อง(คณรัตนา)ที่ยะลาเล่าว่า"บางทีกำลังกินข้าวกลางวันอยู่ได้ยินเสียงโทรศัพท์ตามมาแล้วก็จะต้องรีบออกไป..ส่วนใหญ่ก็มักจะเกิดช่วงใกล้ๆเที่ยงนี่แหละ"..ถ้าอ่านแค่ข้อความไม่ได้ฟังน้ำเสียงก็นึกว่าเธอกำลังบ่นหรืออึดอัดใจแต่ที่ได้เห็นและฟังไม่พบว่าเป็นเช่นนั้นน้ำเสียงภาคภูมิใจและแววตาเป็นประกายมีความสุขมากทั้งๆที่ในการทำงานประจำวันตลอดสองสามปีที่ผ่านมาเจอแต่ทุกข์และความรุนแรงมาโดยตลอดก็ไม่ถอยหนีปักหลักอยู่กับพื้นที่..เรียนรู้และขอความรับความช่วยเหลือจากส่วนกลางเข้ามาช่วยเพิ่มเติมจนมีกิจกรรมและกลุ่มเครือข่ายผู้หญิงเข้มแข็ง(ผู้หญิงและเยาวชนที่สูญเสียจากเหตุการณ์ความไม่สงบ)ช่วยเหลือดูแลจิตใจต่อกัน...

                                    

ส่วนพี่สุจิตราเล่าถึงขั้นตอนและวิธีการนำทักษะPE(Prolong Exposure)มาใช้ช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบเหตุสึนามิ...ในกระบวนการนี้จะเริ่มจากอธิบายและทดลองให้เคสหยุดอยู่กับสถานการณ์ที่คุกคามหรือทำให้เขาหวาดกลัวจากการให้อยู่กับภาพที่หลอนนั้นซ้ำๆสลับกับการผ่อนคลายและค่อยดิ่งลึกลงไปจนถึงจุดที่เราเรียกว่า"Hotspot"ซึ่งเป็นภาพหรือช่วงเหตุการณ์ที่ทำให้เขากระทบหรือสะเทือนใจมากที่สุดจับอารมณ์และภาพที่ชัดนั้นดึงออกมาสู่การทำจิตบำบัดหรือเทคนิคอื่นๆที่ช่วยลดความสะเทือนใจหรือความรู้สึกผิดให้ลดลงไปพร้อมๆกับการบ้านฝึกหัดและประเมินผลด้วยตัวเองของเคส..

เรารับรู้ถึงใจแห่งความเศร้าของผู้สูญเสียผ่านการฟังทั้งถ้อยคำและน้ำเสียงภาพและเรื่องราวที่ออกมาทำให้รู้ว่าภัยหรือความสูญเสียเป็นบทเรียนที่เปลี่ยนผ่านอะไรบางอย่างให้แก่เรา..เราเลือกที่จะติดจมหรือเลือกที่จะปล่อยผ่านมันไปก็ได้

..เคสของพี่สุจิตรารายหนึ่งhotspotในเหตุการณ์สึนามิมีมากกว่าสองช่วงนั่นคือภาพของพ่อที่ส่งสายตาขอความช่วยเหลือขณะอยู่ในน้ำที่พัดจากฝั่งมายังที่หน้าบ้านแต่เธอก็ไม่สามารถทำอะไรได้,อีกภาพคือแม่บอกให้เธอดูแลน้องให้ดีๆก่อนที่แม่จะปล่อยแขนออกจากเธอจมไปกับสายน้ำและภาพสุดท้ายที่เธอไปรอรับศพลูกชายเอามาบำเพ็ญกุศลได้สำเร็จหลังจากที่ต้องรอขั้นตอนนานกว่าห้าเดือน..

หลังการบำบัดมีส่วนช่วยปล่อยวางความท้อแท้สิ้นหวังให้แก่เคสได้ในระดับหนึ่ง

   คำพูดของเคสที่ทำให้พี่สุจิตรามีกำลังใจและความสุขก็คือ"เดี๋ยวนี้ฉันรู้แล้วว่าฉันจะยังมีชีวิตอยู่เพื่อใคร..หนึ่งในนั้นคือตัวฉันเอง"เป็นการเรียนรู้จักทุกข์ที่ได้ทั้งอารมณ์และความคิดอย่างยากจะบรรยาย..ในระหว่างที่ช่วยผู้อื่นตัวผู้ช่วยเหลือเองก็ไม่รู้หรอกว่าผลจะสำเร็จมากหรือน้อยอย่างไรแต่สิ่งสนับสนุนจากงานวิจัยและประสบการณ์ของผู้ที่เคยได้ผ่านหรือใช้มาก่อนทำให้เราเรียนรู้ระหว่างปฏิบัติด้วยตนเองว่าเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้...

จบเหตุหนึ่งมาสู่เหตุสองที่ต้องบันทึกก็คือการหยุดและดูทุกข์ที่ตัวเองไม่ชอบและพยายามหลีกหนี..นั่นคือการยอมรับตัวเองอย่างแท้จริงว่าไม่ชอบการเสียในสิ่งที่ได้หรือมี(เป็นคนยึดติดเคยมีเคยได้.มีอัตตาสูงมากกว่าที่แสดงออก)...แต่ธรรมะมักจะจัดสรรให้ได้เรียนบ่อยๆว่าเราไปยึดติดไม่ได้ยึดมากทุกข์มาก..ฉันไม่ค่อยอยากให้ใครสักคนต้องจากไปไม่ว่าจะด้วยการจากเป็นหรืจากตายแต่เราไปบังคับไม่ได้...คนบางคนเราอาจอยากให้จากตายหรือจากเป็นด้วยดีด้วยความเข้าใจ(อัตตาจริงๆเลยที่คิดแบบนี้)แต่หลายหนก็พบว่ายิ่งพยายามปรับแต่งให้ดูดีมันกลับเป็นผลลบเสียมากกว่า..การหยุดไม่แทรกแซงต่อความเสียที่กำลังจะได้รับเป็นแบบฝึกหัดที่กำลังตั้งใจเรียนรู้อยู่..

               

ที่ผ่านมาฉันก็ได้เรียนรู้ด้วยต้นทุนแพงพอสมควรกว่าจะเข้าใจว่าเมื่อเราเข้าใจและใจยอมรับอย่างแท้จริงว่าการสูญเสียเป็นเรื่องธรรมดาเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่มนุษย์จะต้องเจอ..เมื่อเราได้พบหรือกำลังประสบอยู่กับความสูญเสียนั้นเราสามารถทำให้ตัวเรามีความสบายใจได้ในฉับพลันเมื่อเราเข้าใจและปล่อยวางการยึดทุกข์นั้นไว้ไม่ให้เป็นอัตลักษณ์ของตนแต่ถ้าเราอยากยึดเอาไว้ก็ได้แต่เราก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการไปยึดหรือรักษาทุกข์เหล่านั้นเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นเวลา,โอกาสที่จะรับความสุขยิ่งกว่า,หรือบางคนอาจหมายถึงชีวิตทั้งชีวิตของเขาเลยทีเดียว...

มาถึงบรรทัดนี้ขอบคุณเพื่อนร่วมทางทั้งหลายที่ให้กำลังใจโดยการร่วมรับรู้ร่วมอ่านบันทึกบทนี้ค่ะ..

หมายเลขบันทึก: 67754เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2006 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • แวะมาให้กำลังใจ
  • อยากให้ทุกคนมีความสุขครับ
  • ขอบคุณมากครับ

อจ.ขจิต

ฉายาสายลับ..(เอ๋หรือว่านินจาดี)..ที่อจ.สมบูรณ์ตั้งให้สงสัยว่าเหมาะ/ถูกต้องแล้วคร้าบจริงๆ...สไมล์ลี่ที่ส่งมาให้หน้าเหมือนคนส่งเหมือนกันนะคะอจ.สั่งเขาทำ Special Editionหรือคะ...ฮึฮึแหย่เล่นนะคะ...

  •  Elf Santa Santa Santa's Cookies 3D Santa 
  • ใช่ครับ สั่งทำพิเศษ มีมากเลย เอามาฝากพี่ด้วย






โอ้ว้าว!!ไม่อยากชมอจ.ขจิตเล้ยว่า"รวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม"..แต่เอ๋จะให้ฉายาอะไรดีหนอ..คิดออกแล้วฉายานี้เหมาะและตรงกับอจ.ขจิตที่ซู้ดในความเห็นของSeangja.....นั่นคือ..".Ninja-santa"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท